backup og meta

ปอดอักเสบแบบแกรนูโลมา และ โรคฮิสโตพลาสโมซิส เกี่ยวข้องกันอย่างไร

ปอดอักเสบแบบแกรนูโลมา และ โรคฮิสโตพลาสโมซิส เกี่ยวข้องกันอย่างไร

มีความเป็นไปได้ว่าสาเหตุที่ทำให้คุณเป็น โรคฮิสโตพลาสโมซิส นั้นอาจมาจาก ปอดอักเสบแบบแกรนูโลมา หากคุณอยากทราบว่า ปอดอักเสบแบบแกรนูโลมา และ โรคฮิสโตพลาสโมซิส มีความเชื่อมโยงกันอย่างไร ที่ส่งผลในเชิงลบแก่สุขภาพปอด ติดตามในบทความของ Hello คุณหมอ กันได้เลย

ความเชื่อมโยงของ ปอดอักเสบแบบแกรนูโลมา และ โรคฮิสโตพลาสโมซิส

โรคปอดอักเสบแบบแกรนูโลมา เป็นโรคที่ส่งผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายของเราเป็นอย่างมาก เนื่องจาก ยีนที่ได้รับสืบทอดทางพันธุกรรมเกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งปกติแล้วยีนนี้จะมีส่วนช่วยในการผลิตโปรตีน และสร้างเอนไซม์ส่งเสริมภูมิคุ้มกันให้มีการทำงานที่ดี เพื่อป้องกันการติดเชื้อจาก เชื้อรา เชื้อโรค ไวรัส รวมไปถึงแบคทีเรียต่าง ๆ

เมื่อระบบภูมิคุ้มกันทำงานไม่เต็มที่ แน่นอนว่าเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย จึงแทรกซึมเข้าสู่ร่างกายโดยง่าย ผ่านทางเดินหายใจส่วนบน จนลงไปถึงส่วนล่างอย่างปอด มากไปกว่านั้น หากร่างกายของคุณได้รับเชื้อรา “ฮิสโตพลาสมา’ ที่มาจากมูลของนกและค้างคาวแล้วล่ะก็ อาจมีความเป็นไปได้ว่า คุณสามารถเสี่ยงเป็น โรคฮิสโตพลาสโมซิส ซ้ำอีกโรคได้

อาการสำหรับ โรคปอดอักเสบแบบแกรนูโลมา และ โรคฮิสโตพลาสโมซิส สังเกตได้จากสัญญาณเตือนต่าง ๆ ดังนี้

  • สัญญาณเตือนโรคปอดอักเสบแบบแกรนูโลมา ได้แก่ มีไข้ เจ็บหน้าอกเมื่อหายใจ ต่อมน้ำเหลืองบวม น้ำมูกไหล ท้องร่วง อาเจียน และปากบวมแดง
  • สัญญาณเตือนอาการสำหรับ โรคฮิสโตพลาสโมซิส ได้แก่ ไอ มีไข้ เหนื่อยล้า ปวดศีรษะ หนาวสั่น เจ็บหน้าอก ปวดเมื่อยตามร่างกาย

หากคุณสังเกตตนเองและพบว่า กำลังมีอาการที่กล่าวมาข้างต้น โปรดเร่งเข้ารับการวินิจฉัยอย่างละเอียด พร้อมปฏิบัติตามคำแนะนำในการร่วมมือรักษากับแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อสุขภาพปอดที่แข็งแรง

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิด โรคฮิสโตพลาสโมซิส

โรคฮิสโตพลาสโมซิส ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นกับช่วงวัยทารก ผู้ใหญ่ตั้งแต่อายุ 55 ปี ขึ้นไป และผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอจากเงื่อนไขทางสุขภาพต่าง ๆ รวมถึงปอดอักเสบแบบแกรนูโลมานี้ด้วย อีกทั้ง การทำงานหรือกิจกรรมในชีวิตประจำวันที่เกี่ยวข้องหรือค่อนข้างใกล้ชิดกับสัตว์ปีกอย่าง เกษตรกร ชาวนา คนงานก่อสร้าง ปลูกต้นไม้ เดินทางสำรวจถ้ำระบบนิเทศ เป็นต้น ก็นับว่าเป็นอีกปัจจัยเสี่ยงหนึ่งที่ทำให้คุณได้รับเชื้อฮิสโตพลาสมา ซึ่งมันจะทำลายสุขภาพปอด รวมถึงเพิ่มการติดเชื้อในปอดได้เช่นกัน

การรักษา โรคฮิสโตพลาสโมซิส และ โรคปอดอักเสบแบบแกรนูโลมา

ไม่ว่าจะเป็น โรคฮิสโตพลาสโมซิส และ โรคปอดอักเสบแกรนูโลมา ก็ล้วนแต่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพปอดได้ทั้งสิ้น ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยคุณควรสังเกตตนเอง และเข้ารับการรักษาอย่างทันท่วงทีด้วยวิธีต่าง ๆ ที่เหมาะสมของทั้ง 2 โรค ดังนี้

  • วิธีรักษา โรคฮิสโตพลาสโมซิส

ในกรณีที่ไม่รุนแรงอาจไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษาใด ๆ เพราะบางครั้งอาการของโรคมักจะหายไปได้เองภายในไม่กี่สัปดาห์ แต่หากเป็นในกรณีรุนแรง แพทย์อาจต้องกำหนดยาต้านเชื้อราอย่างน้อยหนึ่งชนิดให้คุณ และอาจต้องใช้ระยะเวลาการรักษานานเป็นปี

  • วิธีรักษา โรคปอดอักเสบแบบแกรนูโลมา

แพทย์อาจยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อรา ก่อนอาการรุนแรงด้วยยาปฏิชีวนะ เพื่อป้องกันการติดเชื้อ ขณะเดียวกันคุณอาจได้รับการฉีด Interferon-gamma ที่ช่วยเพิ่มเซลล์ระบบภูมิคุ้มกันให้มากขึ้นอีกด้วย แต่หากการรักษาทั้ง 2 วิธีนี้ให้ผลลัพธ์ออกมาคงที่ หรือคุณยังมีอาการไม่ดีขึ้น แพทย์อาจต้องปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดใหม่ทดแทน โดยพิจารณาตามเกณฑ์สภาวะสุขภาพ

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Chronic granulomatous https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/chronic-granulomatous-disease/symptoms-causes/syc-20355817 . Accessed July 27, 2021

Lung Granuloma: Symptoms, Causes, and Treatments. https://www.webmd.com/lung/lung-granulomas. Accessed July 27, 2021

Histoplasmosis. https://www.msdmanuals.com/professional/infectious-diseases/fungi/histoplasmosis. Accessed July 27, 2021

Histoplasmosis. https://www.cdc.gov/fungal/diseases/histoplasmosis/index.html. Accessed July 27, 2021

Histoplasmosis. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/histoplasmosis/symptoms-causes/syc-20373495 . Accessed July 27, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

30/07/2021

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคปอดอักเสบแบบแกรนูโลมา ส่งผลเสียต่อปอดได้อย่างไร

ทำความรู้จักกับ ; โรคปอดอักเสบแบบแกรนูโลมา (Granuloma Pneumonia)


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 30/07/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา