backup og meta

โรคปอดอักเสบแบบแกรนูโลมา ส่งผลเสียต่อปอดได้อย่างไร

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 31/05/2021

    โรคปอดอักเสบแบบแกรนูโลมา ส่งผลเสียต่อปอดได้อย่างไร

    ถึงแม้ผู้คนส่วนใหญ่จะรู้จัก หรือเคยได้ยินมาบ้างแล้วเกี่ยวกับ โรคปอดอักเสบ แต่ในขณะเดียวกันก็ยังคงมีโรคปอดอักเสบอีกประเภทที่สามารถส่งผลเสียต่อสุขภาพปอดของคุณได้ไม่แพ้กัน โดยวันนี้ Hello คุณหมอ จึงขออาสาพาทุกคนมารู้จักกับ โรคปอดอักเสบแบบแกรนูโลมา เพื่อให้คุณนำไปสังเกตอาการเบื้องต้น พร้อมรับการรักษาได้อย่างเท่าทัน เมื่อรู้สึกว่าตนเองกำลังเสี่ยงอยู่ในเกณฑ์อาการผิดปกติ

    โรคปอดอักเสบแบบแกรนูโลมา ส่งผลเสียอย่างไรต่อปอด 

    โรคปอดอักเสบแบบแกรนูโลมา (Lung Granuloma) เป็นความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันที่มีลักษณะการจับตัวเป็นกลุ่มก้อนของเซลล์เล็ก ๆ จนส่งผลให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแอลงไม่สามารถปกป้องร่างกาย หรือกำจัดสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามา ทำให้เชื้อแบคทีเรีย และไวรัสต่าง ๆ เริ่มเข้ามารุกรานทำลายเนื้อเยื่อผิวหนัง ต่อมน้ำเหลือง ตับ ลำไส้ จนไปถึงกระเพาะอาหาร แต่อาจเกิดความเสียหายไม่เท่าปอด เพราะเมื่อใดที่ปอดมีการติดเชื้อจนอักเสบ และมีอาการปอดบวมร่วม ก็อาจทำให้เกิดผลเสียต่อระบบทางเดินหายใจอย่างรุนแรง จนถึงขั้นเสียชีวิตลงได้

    อาการของโรคปอดอักเสบแบบแกรนูโลมา

    เนื่องจากเป็นโรคประเภทเดียวกับ โรคปอดอักเสบ ปอดบวมทั่วไป จึงทำให้ผู้คนส่วนใหญ่มักมีอาการ ดังต่อไปนี้ ที่ไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ถึงอย่างไรหากคุณพบอาการใดอาการหนึ่งที่ผิดปกติขึ้นไม่ว่าจะระดับรุนแรงหรือไม่ก็ตาม ควรเข้ารับการรักษาในทันทีจะเป็นหนทางที่ดีที่สุด

    • มีไข้ หนาวสั่น
    • เจ็บหน้าอก เมื่อคุณหายใจเข้า และหายใจออก
    • น้ำมูกไหล
    • ต่อมน้ำเหลืองมีอาการบวม และรู้สึกเจ็บ
    • คันระคายเคืองบริเวณผิวหนัง
    • ผื่นแดง และบวม
    • เนื้อเยื่อในช่องปากมีอาการบวมแดง
    • อาเจียน
    • ท้องร่วง บางครั้งอาจมีอุจาระเป็นเลือด
    • หนองบริเวณทวารหนัก
    • ไอแห้ง

    วิธีรักษาโรคปอดอักเสบแบบแกรนูโลมา

    การรักษาส่วนใหญ่แพทย์จะทำการพิจารณาจากอาการที่ผู้ป่วยกำลังเผชิญ ดังนั้นคุณจึงควรแจ้งให้แพทย์ทราบถึงอาการที่คุณเป็นอยู่ เพื่อให้แพทย์นำไปวิเคราะห์เลือกหนทางการรักษาที่เหมาะสมด้วยเทคนิคต่าง ๆ เหล่านี้

    • ควบคุมการติดเชื้อด้วยยาปฏิชีวนะ ยกตัวอย่างยา ซัลฟาเมทอกซาโซล (Sulfamethoxazole) และไทรเมโทพริม (Trimethoprim) ที่อาจจำเป็นต้องใช้ร่วมกัน และไอทราโคนาโซล (Itraconazole) เพื่อป้องกัน และต้านเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส ก่อนเกิดการรุนรานที่รุนแรง
    • การฉีด Interferon-gamma อย่างต่อเนื่องตามกำหนดของแพทย์ เนื่องจากยาชนิดนี้อาจเข้าไปช่วยเพิ่มเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันของคุณให้ต่อสู่กับสิ่งแปลกปลอมอย่างแบคทีเรีย และไวรัสได้ดีขึ้น
    • ปลูกถ่ายเซลล์ แต่การที่แพทย์จะรักษาด้วยวิธีนี้ได้ อาจจำเป็นต้องได้รับเซลล์ที่พร้อม และการยินยอมจากผู้รับบริจาคที่ผ่านเกณฑ์เท่านั้น

    โรคปอดอักเสบแบบแกรนูโลมาอาจไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ และยังทำให้เกิดพังผืดในปอด หรือหลอดลมร่วม แต่แพทย์อาจช่วยบรรเทาอาการที่เกิดขึ้นไม่ให้แย่กว่าเดิมได้แทน ด้วยวิธีการรักษาที่กล่าวมาข้างต้น หรือวิธีอื่น ๆ ตามความเหมาะสมของสุขภาพร่างกายผู้ป่วยแต่ละบุคคล

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 31/05/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา