backup og meta

สาเหตุของโรคปอดอักเสบแบบแกรนูโลมา อาการ และการรักษา

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 01/09/2021

    สาเหตุของโรคปอดอักเสบแบบแกรนูโลมา อาการ และการรักษา

    โรคปอดอักเสบเสบแบบแกรนูโลมา (Lung Granuloma) เกิดขึ้นได้ต่อเมื่อก้อนเนื้อแกรนูโลมาที่อยู่ภายในปอดเกิดอักเสบ ซึ่งมีสาเหตุจากหลายประการ ไม่ว่าจะเป็น การอักเสบของปอดจากเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา ไวรัส และการที่แกรนูโลมาปรากฏเป็นก้อนเนื้อก็เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายที่ทำปฏิกิริยาการป้องกันกับสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามา ซึ่งจะพบเจอก้อนเนื้อได้ต่อเมื่อเข้ารับการตรวจอย่างละเอียดด้วยวิธีเอ็กซเรย์ โดยอาจสังเกตได้จากอาการหายใจสั้น เจ็บหน้าอก และมีไข้ เป็นตัวบ่งชี้

    สาเหตุของโรคปอดอักเสบแบบแกรนูโลมา

    สาเหตุของ โรคปอดอักเสบแบบแกรนูโลมา ได้แก่

    1. โรคซาร์คอยโดซิส (sarcoidosis)

    เป็นโรคที่เกิดจากกลุ่มเซลล์อักเสบขนาดเล็กที่รวมกันเป็นก้อนเนื้อ หรือเรียกอีกอย่างได้ว่า แกรนูโลมา (Granulomas) ที่พบบ่อยในปอด และต่อมน้ำเหลือง รวมถึงอวัยวะอื่น ๆ เช่น ดวงตา ผิวหนัง หัวใจ สาเหตุของโรคซาร์คอยโดซิสยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าอาจเกิดจากภูมิคุ้มกันตอบสนองต่อสิ่งผิดปกติในร่างกายต่อเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา สารเคมี

    โรคซาร์คอยโดซิสไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ในกรณีที่ไม่รุนแรงนี้ก็อาจหายไปได้เอง แต่หากรุนแรง และปล่อยไว้นาน อาจทำให้อวัยวะนั้น ๆ เกิดความเสียหายได้ อย่างไรก็ตามหากมีอาการต่าง ๆ เกิดขึ้นจากโรคซาร์คอยโดซิส เช่น ไอแห้ง ปวดตามข้อต่อ ปวดตา แผลตามผิวหนัง และหายใจลำบาก ควรเข้ารับการรักษาจากคุณหมอทันที เพื่อบรรเทาอาการที่เกิดขึ้น

    2. วัณโรค (Tuberculosis)

    วัณโรค เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่งชื่อว่าไมโครแบคทีเรียม ทูเบอร์คูโลซิส (Mycobacterium tuberculosis) เข้าสู่ร่างกายจนสร้างความเสียหายให้แก่ปอด อีกทั้งยังอาจแพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ เช่น สมอง และกระดูกสันหลัง ผู้ป่วยที่เป็นวัณโรค อาจมีอาการไอนานกว่า 3 สัปดาห์ เจ็บหน้าอก ไอเป็นเลือด รู้สึกเหนื่อยง่าย และมีไข้ โดยประเภทของวัณโรคแบ่งเป็น 2 ชนิดด้วยกัน คือ

    • วัณโรคระยะแฝง เป็นการติดเชื้อในทางเดินหายใจ ที่อาจไม่เผยอาการใด ๆ และไม่สามารถติดต่อได้ นอกจากผู้ป่วยมีความเสี่ยงสูงของการติดเชื้อเอชไอวี หรือระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ที่อาจจะเผยอาการวัณโรคออกมา
    • วัณโรคระยะแสดงอาการ เป็นรูปแบบของวัณโรคที่อาจแพร่เชื้อไปสู่บุคคลอื่น ๆ ได้ ร้อยละ 90 ในผู้ใหญ่มักพัฒนามาจากวัณโรคระยะแฝง

    3. ฮิสโตพลาสโมซิส (Histoplasmosis)

    เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อราฮิสโตพลาสมา (Histoplasma) ซึ่งพบในมากในดิน มูลนก และมูลค้างคาว โดยอาจสามารถรับเชื้อได้ผ่านการหายใจนำเชื้อราที่ลอยอยู่ในอากาศเข้าสู่ทางเดินหายใจ และอาจปรากฏอาการหลังจากได้รับเชื้อ 3-17 วัน จนส่งผลให้มีไข้ ไอ รู้สึกเหนื่อยล้า ถึงแม้ว่าโรคนี้จะสามารถหายเองได้ แต่หากผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอก็อาจก่อให้เกิดอาการรุนแรง มีการติดเชื้อในระยะยาว และอาจแพร่กระจายไปยังอวัยวะส่วนต่าง ๆ เช่น ปอด ระบบประสาท ได้

    4. โรคหลอดเลือดอักเสบ (GPA)

    เป็นโรคในกลุ่มแพ้ภูมิตัวเองที่พบได้ยาก ก่อให้เกิดการอักเสบในปอด และมักกระทบต่อหู จมูก ไต ปอด โดยโรคนี้จะทำให้เกิดความผิดปกติของหลอดเลือด ทำให้เลือดไหลไปเลี้ยงอวัยวะได้น้อยลงและช้าลง จะทำให้เนื้อเยื่อบริเวณนั้นสร้างตัวขึ้นมาเป็นก้อน และจะทำให้อวัยวะที่ได้รับผลกระทบไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ 

    5. โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid arthritis)

    โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ คือ โรคที่เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายทำลายเนื้อเยื่อในข้อต่อ และอาจสามารถส่งผลเสียไปยังอวัยวะส่วนอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ ไม่ว่าจะเป็น ปอด หัวใจ ผิวหนัง ดวงตา และหลอดเลือด โดยสามารถสังเกตได้จากอาการข้อต่อบวม อ่อนเพลีย มีไข้ และการหายใจผิดปกติที่เกิดจากการอักเสบจนสร้างแผลภายในปอด

    อาการของ โรคปอดอักเสบแบบแกรนูโลมา

    อาการของ โรคปอดอักเสบแบบแกรนูโลมา ในระยะแรกอาจไม่มีอาการเผยออกมาได้อย่างชัดเจน แต่เงื่อนไขของโรคบางประเภทก็อาจสามารถทำให้เกิดอาการต่าง ๆ ได้ ดังนี้

    • หายใจถี่ และหายใจมีเสียงหวีด
    • เจ็บหน้าอก
    • มีไข้
    • ไอแห้ง
    • น้ำมูกไหล
    • ผิวหนังเป็นผื่น รู้สึกระคายเคืองผิวหนัง และมีอาการบวมแดง
    • ระบบทางเดินอาหารผิดปกติ เช่น ท้องร่วง ปวดท้อง อุจจาระเป็นเลือด

    การวินิจฉัย และการรักษา โรคปอดอักเสบแบบแกรนูโลมา

    โรคปอดอักเสบแบบแกรนูโลมา อาจถูกค้นพบได้ต่อเมื่อมีเข้ารับการวินิจฉัยทันทีที่มีอาการผิดปกติด้วยการเอ็กซเรย์ (X-ray) และซีทีแสกน (CT Scan) เนื่องจากการวินิจฉัยทั้ง 2 เทคนิคนี้ อาจสามารถแสดงผลให้เห็นถึงการเจริญเติบโตของเซลล์แกรนูโลมาในปอด

    แกรนูโลมาในปอดอาจสามารถหายไปได้เองด้วยการดูแลสุขภาพตามที่คุณหมอแนะนำ แต่ในบางกรณีที่เซลล์แกรนูโลมาอักเสบยังคงอยู่ เนื้อเยื่อของปอดโดยรอบอาจกลายเป็นพังผืด รวมถึงอาจส่งผลกระทบต่อหลอดลมร่วมด้วย หากเกิดกรณีนี้ขึ้น อาจจะไม่มีหนทางรักษาได้ แต่มีวิธีบรรเทาอาการที่เกิดขึ้นไม่ให้รุนแรงไปกว่าเดิมได้แทน ซึ่งควรเข้ารับขอคำปรึกษาจากคุณหมอเพื่อประเมินการรักษาตามอาการ

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    พลอย วงษ์วิไล


    เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 01/09/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา