backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

ทำความรู้จักกับ หลอดลมอักเสบเรื้อรัง (Chronic Bronchitis) กันเถอะ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 22/07/2021

ทำความรู้จักกับ หลอดลมอักเสบเรื้อรัง (Chronic Bronchitis) กันเถอะ

หลอดลมอักเสบเรื้อรัง (Chronic Bronchitis) เป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจโดยตรง และแน่นอนว่าหากคุณไม่อยากให้ระบบทางเดินหายใจของตนเองพังลง การทราบถึงข้อมูล สาเหตุ อาการ การรักษา ไว้เบื้องต้น อาจช่วยให้คุณห่างไกล หรือรู้จักป้องกันตนเองจากหลอดลมอักเสบเรื้อรังได้ดีมากยิ่งขึ้น

คำจำกัดความ

หลอดลมอักเสบเรื้อรัง คืออะไร

หลอดลมอักเสบเรื้อรัง (Chronic Bronchitis) คือ การอักเสบของท่อหายใจ หรือหลอดลม จนส่งผลกระตุ้นในการผลิตเสมหะปริมาณมาก และยังคงเป็นเช่นนี้ต่อไปในระยะยาวอย่างน้อย 3 เดือน หรือนานกว่า 2 ปี ด้วยกัน อีกทั้งบางคนอาจเกิดการติดเชื้อลงปอดได้ด้วย หากยังมีอาการที่ไม่ดีขึ้น หากเป็นเช่นนั้นก็อาจจะทำให้อาการรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้

โรคลอดลมอักเสบเรื้อรัง สามารถพบบ่อยได้เพียงใด

ส่วนใหญ่ โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง จะพบได้บ่อยในช่วงอายุ 45 ปีขึ้นไป พร้อมกับมีประวัติป่วยเป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และมีพฤติกรรมการสูบบุหรี่ต่อเนื่องมาเป็นเวลานาน

อาการ

อาการ โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง

อาการทั่วไปของ โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง ที่คุณสามารถสังเกตได้ง่าย มีดังนี้

  • อาการไอ และมีเสมหะ
  • หายใจเสียงดังหืด ๆ
  • แน่นหน้าอก
  • หายใจถี่ โดยเฉพาะขณะที่คุณมีการใช้แรงกายหนัก เช่น การออกกำลังกาย
  • รู้สึกเหนื่อยง่าย

แต่สำหรับบางคนอาจมีอาการอื่น ๆ อย่าง อาการเจ็บคอ เมื่อยกล้ามเนื้อ ไข้ขึ้น เท้าบวม สีผิวเปลี่ยนสี และอาการปวดหัว ร่วมด้วย

สาเหตุ

สาเหตุหลอดลมอักเสบเรื้อรัง

โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง ไม่ได้มาจากเชื้อไวรัส หรือแบคทีเรียเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่อาจมีสาเหตุอื่น ๆ เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องร่วมด้วยที่ทำให้หลอดลมเกิดอาการบวม และอักเสบขึ้น ดังนี้

  • ฝุ่นละออง
  • ควันเสียของยานพาหนะ
  • ควันไฟ
  • สารเคมีบางชนิดอย่างสีย้อมผม สเปรย์ฉีดผม เป็นต้น
  • ควันของบุหรี่ หรือสารในยาสูบประเภทอื่น ๆ

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงหลอดลมอักเสบเรื้อรัง

ผู้ป่วยที่มีประวัติเป็นโรคหอบหืด โรคปอดเรื้อรัง โรคหัวใจล้มเหลว โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง อาจเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเผชิญกับโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรังได้ง่ายขึ้น รวมทั้งผู้ที่มีพฤติกรรมการสูบบุหรี่อย่างหนักมาเป็นเวลานาน ซึ่งนับว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงสูงสุดถึง 75% ของการนำไปสู่โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง

การวินิจฉัยและการรักษา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัย หลอดลมอักเสบเรื้อรัง

เมื่อคุณสังเกตเห็นว่าตนเองมีอาการผิดปกติเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ คุณสามารถเข้าขอรับการตรวจเช็กจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ในทันที ด้วยเทคนิคการวินิจฉัย ดังต่อไปนี้

  • วัดระดับออกซิเจนในเลือด
  • เช็กอัตราการเต้นของชีพจร
  • เอกซเรย์ทรวงอก เพื่อเผยให้เห็นเซลล์ และเนื้อเยื่อภายใน
  • การใช้ซีทีแสกน (CT Scan) เป็นการผสมผสานระหว่างการเอกซเรย์ และเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ให้เผยเป็นภาพภายในออกมาให้เห็นถึงสาเหตุได้เด่นชัดมากขึ้น
  • สไปโรเมตรีย์ (Spirometry) การตรวจสมรรถภาพการทำงานของปอด

การรักษา หลอดลมอักเสบเรื้อรัง

หลังจากการวินิจฉัยแพทย์อาจกำหนดยาบรรเทาอาการให้เหมาะสมแต่ละสภาวะทางสุขภาพของบุคคล เพื่อไม่ให้อาการที่คุณเป็นแย่ลงไปกว่าเดิม ยาส่วนใหญ่ที่แพทย์เลือกใช้ ได้แก่

  • ยาขยายหลอดลม เช่น อัลบูเทอรอล (Albuterol) อะลูเพ้นท์ (Alupent) ไทโอโทรเปียม โบรไมด์ (Tiotropium Bromide)  Ipratropium Bromide (ไอปราโทเปียม โบรไมด์) เป็นต้น
  • กลุ่มยาสเตียรอยด์ บรรเทาอาการอักเสบ ลดบวม เช่น เพรดนิโซโลน (prednisolone) เมทิลเพรดนิโซโลน (Methylprednisolone) บูเดโซไนด์(Budesonide)  เบโคลเมทาโซน (Beclomethasone) เป็นต้น

สำหรับผู้ป่วยโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรังที่มีอาการรุนแรง แพทย์อาจให้มีการบำบัดด้วยออกซิเจน หรือผ่าตัดปลูกถ่ายปอดใหม่ เพื่อช่วยให้คุณมีอายุที่ยืนยาวขึ้น

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเอง

การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์หรือการเยียวยาตนเองเพื่อป้องกันและรักษาหลอดลมอักเสบเรื้อรัง

เป็นที่ทราบกันดีว่าบุหรี่ คือ สาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดหลอดลมอักเสบเรื้อรัง ดังนั้น ในช่วงระหว่างที่คุณกำลังรักษาตัวเองให้พ้นจากหลอดลมอักเสบเรื้อรังอาจเริ่มด้วยการเลิกบุหรี่อย่างเด็ดขาด โดยสามารถเข้าขอรับการบำบัดในการเลิกบุหรี่จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้

อีกทั้งเมื่อคุณต้องออกไปเผชิญกับสภาพแวดล้อมภายนอก คุณจำเป็นต้องสวมใส่หน้ากากอนามัย เพื่อให้ได้รับสารพิษจากควันรถ ควันไฟ ฝุ่นละอองน้อยสุด และควรออกกลังกายอยู่เสมอ พร้อมรับการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ตามกำหนด เนื่องจาก วัคซีนชนิดนี้จะช่วยลดความเสี่ยงการติดเชื้อ ที่ส่งผลในการทำร้ายปอดได้

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 22/07/2021

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา