backup og meta

โรคหอบหืดจากการทำงาน ยิ่งทำงานกับสารเคมี ยิ่งต้องระวัง!

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 25/05/2021

    โรคหอบหืดจากการทำงาน ยิ่งทำงานกับสารเคมี ยิ่งต้องระวัง!

    โรคหอบหืดจากการทำงาน เป็นโรคที่มีความเกี่ยวข้องกับด้านการประกอบอาชีพ หรือสภาวะแวดล้อมบริเวณที่ทำงานที่ต้องเจอเป็นประจำ แต่เราจะสามารถรับรู้ได้อย่างไรว่า อากาศที่เราสูดดมเข้าไประหว่างทำงานส่งผลกระทบกับระบบทางเดินหายใจของเราหรือไม่ และอาการอย่างไรบ้างที่เรียกว่า โรคหอบหืด วันนี้ Hello คุณหมอ จึงขอพาทุกคนมาร่วมเช็กอาการของโรคหอบหืดจากการทำงานไปด้วยกัน เพื่อรับทราบความเสี่ยงของโรค และทำการป้องกันได้อย่างเหมาะสม

    โรคหอบหืดจากการทำงาน เกิดจากอะไร

    โรคหอบหืด จากการทำงาน หรือ โรคหอบหืดจากการประกอบอาชีพ (Occupational asthma) เกิดจากการหายใจนำเอาควัน ฝุ่น ก๊าซ สารเคมี และขนสัตว์ต่าง ๆ เข้าสู่ร่างกาย เช่น สารเคลือบเงาบรรจุภัณฑ์บัดกรีผสมเรซิ่น ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Sulphur dioxide) นิเกิลซัลเฟต (Nickel Sulphate) จนทำให้ระบบภูมิคุ้มกันตอบสนองต่อสารพิษที่สร้างความระคายเคืองและอาการแพ้เหล่านี้ และกลายเป็นอาการของ โรคหอบหืด

    โดยส่วนใหญ่มักเป็นผู้ที่ประกอบอาชีพ ดังต่อไปนี้ ที่เสี่ยงต่อการเป็น โรคหอบหืด

  • สัตวแพทย์
  • ช่างพ่นสี
  • ช่างโลหะ
  • ช่างทำผม
  • ผู้ผลิตด้านการผลิตอาหารทั้งในรูปแบบแปรรูปและไม่แปรรูป
  • ช่างไม้
  • ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับพลาสติก
  • เกษตรกร
  • ผู้ผลิตด้านสิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม
  • แต่อย่างไรก็ตาม นอกจากผู้ที่ประกอบอาชีพดังกล่าวแล้ว หากคนใดมีความไวต่อการรับสารเคมีต่าง ๆ เข้าสู่ร่างกาย ก็อาจทำให้คุณมีอาการแพ้ จนเป็น โรคหอบหืด ได้เช่นเดียวกัน

    อาการของโรคหอบหืดจากการทำงาน

    อาการของโรคหอบหืดจากการทำงาน อาจคล้ายกับอาการของ โรคหอบหืด ประเภทอื่น ๆ ดังนี้

    ระดับความรุนแรงของอาการมักขึ้นอยู่กับระดับสารเคมีที่คุณได้รับเข้าสู่ร่างกาย ในบางคนนั้นอาการเกิดปฏิกิริยาทันที่ได้รับสิ่งแปลกปลอม และจะหายไปได้เองภายในไม่กี่ชั่วโมง แต่สำหรับกรณีที่มีอาการแพ้รุนแรง ก็อาจจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในทันทีอย่าง

    วิธีป้องกันตนเองให้ห่างไกลโรคหอบหืดจากการทำงาน

    เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิด โรคหอบหืด หรือช่วยบรรเทาอาการของโรค หากคุณจำเป็นต้องทำงานที่มีความเสี่ยงต่อการสัมผัสสารเคมีอย่างเลี่ยงไม่ได้ ควรสวมใส่อุปกรณ์ที่รัดกุมขณะทำงานอย่างเคร่งครัด เช่น ถุงมือ หน้ากากอนามัย หน้ากากป้องกันสารเคมี ชุดป้องกันปนเปื้อนสารเคมี

    นอกจากนี้ คุณจำเป็นต้องเข้ารับการตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอร่วมด้วย เนื่องจากสารเคมีต่าง ๆ ล้วนเป็นอันตรายต่อระบบการทำงานของร่างกายเราอย่างมาก สำหรับผู้ที่ป่วยเป็น โรคหอบหืด อยู่ก่อนแล้ว ก็ควรใช้ยาตามที่แพทย์กำหนดอย่างเคร่งครัด รวมไปถึงพกยายังยั้งอาการหอบหืดติดตัวไว้ตลอดเวลา เพื่อช่วยบรรเทาอาการเมื่อเกิดอาการกำเริบขึ้น

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 25/05/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา