backup og meta

ประเภทของหอบหืด กับวิธีการป้องกัน และรักษาเบื้องต้น ที่คุณควรรู้

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 31/05/2021

    ประเภทของหอบหืด กับวิธีการป้องกัน และรักษาเบื้องต้น ที่คุณควรรู้

    โรคหอบหืด เป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจ โดยอาจมาจากสาเหตุของโรคภูมิแพ้เป็นหลัก จนเกิดอาการแพ้เรื้อรังส่งผลให้เป็นโรคหอบหืด หรือหลอดลบตีบแคบตามมาในที่สุด แต่ทุกคนทราบหรือไม่ว่า โรคหอบหืด นี้ยังถูกแบ่งออกอีกหลายชนิดด้วยกัน ที่วันนี้ Hello คุณหมอ จะพามารู้จักกับ ประเภทของหอบหืด ที่ผู้คนส่วนใหญ่มักประสบ เพื่อรู้ให้เท่าทันถึงอาการ และวิธีการรักษา

    5 ประเภทของหอบหืด มีอะไรบ้าง

    โรคหอบหืด ถือว่าเป็นโรคที่พบได้บ่อยที่สุด ได้กับทุกช่วงวัย รวมถึงผู้ที่มีประวัติทางสุขภาพเกี่ยวข้องกับอาการแพ้อยู่แต่เดิมเช่น แพ้ขนสัตว์ แพ้อากาศ แพ้ละอองเกสร เป็นต้น โดยสามารถแบ่งแยกออกเป็นประเภทต่าง ๆ ได้ ดังนี้

    1. โรคหอบหืดจากการทำงาน

    ส่วนมากผู้ที่เป็นหอบหืดประเภทนี้มักประกอบอาชีพที่สุ่มเสี่ยงต่อสารก่อให้เกิดภูมิแพ้เช่น โรงงานที่สัมผัสปะปนสารเคมี โลหะ ตะกั่ว และไม้ เกษตรกร สัตวแพทย์ เป็นต้น โดนจะส่งผลให้คุณมีอาการแพ้  โพรงจมูกบวม มีน้ำมูก จนเข้าไปปิดกันช่องทางเดินหายใจ

    วิธีการรักษา อาการดังกล่าวข้างต้นที่เกิดขึ้น ปกติแล้วจะหายไปได้เองภายในไม่กี่ชั่วโมง แต่หากกรณีที่คุณมีอาการรุนแรงขึ้นอาจต้องเข้าขอรับคำปรึกษาจากแพทย์ พร้อมรับประทานยาตามคำแนะนำ จนกว่าคุณจะรู้สึกว่ามีอาการที่ดีขึ้น หรือรับประทานจนกว่าจะครบระยะเวลาที่แพทย์กำหนด

    1. โรคหอบหืดตามฤดูกาล

    สามารถเกิดขึ้นได้ในบางสภาวะตามสภาพอากาศที่ร่างกายคุณมีการตอบสนอง แต่ส่วนใหญ่แล้วมักเจอผู้ป่วยที่เป็นโรคหอบหืดประเภทนี้ในช่วงฤดูหนาวได้มากกว่า พร้อมกับมีไข้เล็กน้อย หรือเป็นไข้หวัดร่วมด้วย

    วิธีการรักษา แพทย์อาจต้องมีการตรวจร่างกายว่าคุณมีอาการใดบ้าง พร้อมกับให้ยารักาตามอาการ และให้คำแนะนำเพิ่มเติมถึงการดูแลสุขภาพตนเอง เช่น ฤดูหนาวคุณควรสร้างความอบอุ่นให้แก่ร่างกายด้วยการสวมใส่เสื้อผ้าหนา ๆ หากเป็นฤดูร้อนพร้อมฝุ่นควันจำนวนมาก ก็อาจต้องใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้งก่อนออกจากบ้าน เป็นต้น

    1. โรคหอบหืดจากการออกกำลังกาย

    เป็นโรคหอบหืดที่เกิดจากการออกกำลังกายเมื่อต้องมีการออกแรงอย่างหนักหลาย ๆ นาที ติดต่อกัน โดยมักจะเกิดขึ้นหลังจากออกกำลังกายเสร็จสิ้นแล้วประมาณ 5-20 นาที คุณอาจสังเกตตนเองได้จากการหายใจถี่ อาการไอ เจ็บหน้าอก จนถึงขั้นหายใจไม่ออกในบางราย

    วิธีการรักษา คุณสามารถใช้ยารักษาอาการหอบหืดทั่วไปได้ แต่อยู่ในปริมาณตามที่แพทย์ หรือเภสัชแนะนำ พร้อมหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่ใช้ร่างกายหนักจนเกินไป มีการวอร์มร่างกายก่อนทุกครั้ง และทำความสะอาดร่างกายตนเองหลังออกกำลังกายทันที ก่อนนำมือมาสัมผัสใบหน้า เพราะเราไม่อาจทราบได้เลยว่าอุปกรณ์ใดในสถานที่นั้นมีเชื้อไวรัส หรือสิ่งสกปรกอื่น ๆ ที่ก่อให้เกิดโรคหอบหืดขึ้น

    1. โรคหอบหืดในเวลากลางคืน

    โรคหอบหืด ประเภทนี้อาจพบได้บ่อยไม่แพ้กับ โรคหอบหืด ประเภทอื่น ๆ เช่นเดียวกัน โดยส่วนใหญ่จะมีปฏิกิริยาอย่างอาการไอ หายใจไม่ออก เจ็บหน้าอก ได้ชัดเจนในช่วงเวลากลางคืน อาจเป็นช่วงที่มีสภาพอากาศเย็นชื้น พร้อมมีพฤติกรรมนอนพักไม่เป็นเวลา จึงทำให้ช่องทางเดินหายใจมีความผิดปกติเกิดขึ้น และเกิดเป็นหอบหืดในยามเวลากลางคืนมาคอยรบกวนการนอนของคุณ

    วิธีการรักษา แพทย์อาจแนะนำให้รับประทานยาตามที่แพทย์กำหนด พร้อมแนะนำให้หมั่นล้างจมูก ขจัดน้ำมูกที่อุดตัน และพักผ่อนให้ตรงเวลา ไม่ควรอดหลับอดนอน เพราะจะทำให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ

    1. โรคหอบหืดชนิดรุนแรง

    ผู้เชี่ยวชาญทการตั้งข้อสันนิฐานว่าสาหตุที่ทำให้ โรคหอบหืด มีความรุนแรงนี้อาจมาจากการรักษาด้วยยาที่ไม่เหมาะสมกับอาการ และยาที่ไม่ได้มาตรฐาน จึงส่งผลให้ผู้ป่วยจากจะได้รับประโยชน์กลับกลายเป็นได้รับโทษอาการที่รุนแรงเพิ่มขึ้นทดแทน

    วิธีการรักษา ในการรักษาโรคหอบหืดประเภทนี้ต้องขึ้นอยู่กับการพิจารณา การวินิจฉัยจากแพทย์เสียก่อน เนื่องจากอาการรุนแรงของผู้ป่วยที่เกิดขึ้นมักแตกต่างกันออกไป

    อุปกรณ์เสริมที่คนเป็นโรคหอบหืด ควรพกติดตัว

    นอกจากยารับประทานที่แพทย์กำหนดแล้วนั้น การพกเครื่องพ่นยา และยาในรูปแบบของเหลว ก็เป็นอุปกรณ์การรักษาที่จำเป็นต้องมีพกติดกระเป๋าเอาไว้เช่นเดียวกัน เพราะหากมีกรณีฉุกเฉิน หรืออาการหอบหืดกำเริบขึ้น เครื่องพ่นยานี้จะสามารถช่วยให้ยาเข้าลงสู่ทางเดินหายใจ ลงสู่ปอด เพื่อช่วยกระตุ้นการหายใจได้ฉับอย่างฉับไว ลดความเสี่ยงทางเดินหายใจล้มเหลว แต่ในการเลือกตัวยารักษาคุณต้องมีการปรึกษากับแพทย์เสียก่อนว่าอาการหอบหืดของคุณเหมาะสมกับการรับยาชนิดใด เนื่องจากยาบางตัวอาจใช้ได้เพียงแค่ป้องกันอาการในกรณีฉุกเฉิน และบางชนิดก็ใช้เพื่อการรักษาในระยะยาว

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 31/05/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา