โรคหอบหืด (Asthma) เป็นหนึ่งในโรคทางเดินหายใจ ที่มีสาเหตุมาจากการระคายเคืองของสารก่อภูมิแพ้ จนก่อให้เกิดมีอาการหอบหืดขึ้น เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เช่น หลอดลมตีบ ปอดบวม และปอดหยุดการทำงานได้ อีกทั้งในปัจจุบันยังมีมีการระบาดของโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบกับระบบทางเดินหายใจโดยตรง ผู้เป็นโรคหอบหืด จึงควรระมัดระวังตนเอง และเข้ารับการฉีด วัคซีนโควิด-19 ซึ่งอาจมีส่วนช่วยในการป้องกันจากเชื้อไวรัส ป้องกันการเกิดอาการเจ็บป่วยที่รุนแรง หรือเสียชีวิตได้
ความเชื่อมโยงของ โรคหอบหืด และ โควิด-19
หอบหืด เป็นโรคที่ส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจส่วนบน ได้แก่ รูจมูก โพรงจมูก ปาก คอ กล่องเสียง และระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง ได้แก่ หลอดลม หลอดลมภายในปอด หลอดลมฝอย ถุงลม ปอด เนื่องจากบางคนอาจได้มีการติดเชื้อจากไวรัส จนทำให้มีอาการแน่นหน้าอก และหายใจลำบาก ผู้ป่วยโรคหอบหืด ถือว่าเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงในการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจต่าง ๆ เช่น ไข้หวัดใหญ่ ดังนั้น เมื่อมีการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ผู้ป่วยโรคหอบหืดอาจได้รับความเสี่ยงในการติดเชื้อและกระตุ้นอาการหอบหืดในระดับรุนแรงขึ้น
ตามข้อมูลของวารสารสมาคมการแพทย์แห่งประเทศแคนนาดา แสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยโรคหอบหืดในระดับปานกลาง และรุนแรง อาจส่งผลให้มีอาการหอบหืดที่แย่ลงในระหว่างการติดเชื้อโควิด-19 ถึงอย่างไรความสัมพันธ์ของระหว่างทั้ง 2 โรค อาจต้องทำการศึกษาต่อไปว่าจะส่งผลเสียต่อสุขภาพมากน้อยเพียงใด เพื่อนำไปสู่การหาหนทางรักษาอย่างเหมาะสมสำหรับผู้ป่วยที่เป็น หอบหืด
ผู้ป่วย โรคหอบหืด ฉีด วัคซีนโควิด-19 ได้หรือไม่
วัคซีนโควิด-19 ที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้จดขึ้นทะเบียนอนุญาตให้นำไปฉีดกับประชากรแต่ละประเทศ ได้แก่ โมเดอร์นา (Moderna) ไฟเซอร์ (Pfizer) แอสตร้าเซนเนก้า (AstraZeneca) จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน (Johnson & Johnson) ซิโนฟาร์ม (Sinopharm) และซิโนแวค (Sinovac) โดยแต่ละชนิดจะมีเงื่อนไขทางด้านของช่วงอายุ สภาวะสุขภาพที่ต่างกันออกไป
สำหรับผู้ป่วยที่เป็น หอบหืด อาจสามารถได้รับการ ฉีดวัคซีนโควิด-19 ได้แต่ต้องเข้ารับการประเมินสุขภาพ พร้อมแจ้งประวัติของโรคที่เป็นให้คุณหมอทราบ เพื่อพิจารณาตามเกณฑ์อายุ โรคประจำตัวอื่น ๆ ว่าควรจะเหมาะกับการฉีดวัคซีนยี่ห้อใดได้บ้าง ขณะเดียวกันมีความเป็นไปได้ว่าหลังจากการ ฉีดวัคซีนโควิด-19 อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงทำให้อาการของ หอบหืด แย่ลงเพียงชั่วคราวคล้ายกับอาการของโรคไข้หวัดใหญ่
จากการวิจัยของ ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐฯ (CDC) ระบุว่า 77.4% ของผู้รับการฉีดวัคซีนไฟเซอร์เข็มที่ 2 มักมีอาการข้างเคียง เช่น ปวดศีรษะ มีไข้ ปวดกล้ามเนื้อ ซึ่งพบได้บ่อยในผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 55 ปี ขณะที่ผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนโมเดอร์นา 81.9% ของผู้ได้รับวัคซีนอายุ 18-64 ปี เกิดผลข้างเคียงหลังจากได้รับโดสที่ 2 และผลข้างเคียงจะลดลงในผู้สูงอายุ ซึ่งพบ 71.9% ของผู้ได้ที่รับโดสที่ 2 อย่างไรก็ตามอัตราการเกิดอาการแพ้วัคซีนโควิด-19 นั้นค่อนข้างอยู่ในระดับต่ำ และยังไม่มีหลักฐานพบว่าผู้ป่วยโรคหอบหืดจะได้รับความเสี่ยงเมื่อ ฉีดวัคซีนโควิด-19 ได้มากกว่าบุคคลทั่วไป หากต้องการทราบผลข้างเคียงถึงวัคซีนชนิดอื่นเพิ่มเติม สามารถปรึกษากับคุณหมอ เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาและศึกษาวิธีการดูแลตนเองหลังจากตัดสินใจ ฉีดวัคซีนโควิด-19
วัคซีนชนิดอื่น ที่ผู้ป่วยโรคหอบหืด ควรฉีด
นอกจากการ ฉีดวัคซีนโควิด-19 เพื่อลดอาการ และกระตุ้นภูมิคุ้มกันในร่างกายให้ต่อสู้กับเชื้อไวรัสแล้ว ยังมีวัคซีนชนิดอื่น ๆ ตามเกณฑ์มาตรฐานที่ควรได้รับการฉีดร่วมด้วย ได้แก่
- วัคซีนไข้หวัดใหญ่
- วัคซีนป้องกันโรคปอดบวม
- วัคซีนป้องกันงูสวัด
- วัคซีนป้องกันบาดทะยัด อาการไอกรน โรคคอตีบ (DTAP)
- วัคซีนไวรัสตับอักเสบเอและบี
วัคซีนข้างต้นบางชนิดอาจเข้ารับการฉีดได้ยังแต่วัยเด็ก โดยคุณหมอจะเป็นผู้พิจารณาอีกครั้งว่าสุขภาพของแต่ละบุคคลควรฉีดวัคซีนชนิดใดจึงจะเหมาะสม