backup og meta

ชาบรรเทาอาการหอบหืด ดื่มแล้วช่วยให้หายใจโล่งขึ้น

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 02/02/2021

    ชาบรรเทาอาการหอบหืด ดื่มแล้วช่วยให้หายใจโล่งขึ้น

    “ชา’ ถือเป็นเครื่องดื่มในดวงใจของใครหลายๆ คน เนื่องจากมีให้เลือกหลายชนิด ชาบางชนิดนอกจากจะมีกลิ่นหอม เมื่อดื่มแล้วยังช่วยทำให้ผ่อนคลายได้อีกด้วย มากไปกว่านั้นแล้ว ชาบางชนิดยังสามารถช่วยบรรเทาอาการหอบหืด และทำให้หายใจได้โล่งขึ้นอีกด้วย แต่ ชาบรรเทาอาการหอบหืด จะมีอะไรบ้าง  Hello คุณหมอ มีข้อมูลที่น่าสนใจมาฝากกันในบทความนี้

    โรคหอบหืด เป็นอย่างไร

    โรคหอบหืด (Asthma) ถือเป็นโรคเรื้อรังที่ส่งผลต่อเยื่อบุทางเดินหายใจ ซึ่งการป่วยเป็นโรคหอบหืดนั้นอาจจะส่งผลทำให้คุณมีอาการต่างๆ เช่น หายใจถี่ หายใจเสียงดังฮืดๆ ไอ และแน่นหน้าอก

    สำหรับการรักษาโรคหอบหืดนั้นมีอยู่ด้วยกันหลายวิธี แต่ ชาบรรเทาอาการหอบหืด ก็เป็นหนึ่งในวิธีทางเลือกที่จะช่วยบรรเทาอาการที่เกิดขึ้นได้ด้วยการใช้สมุนไพรเข้ามาช่วยนั่นเอง ซึ่งชาที่ช่วยบรรเทาอาหารหอบหืดนั้น มีดังนี้

    ชาบรรเทาอาการหอบหืด ที่คุณควรรู้จัก

    ชาขิง

    ขิง (Ginger) ถือเป็นเครื่องเทศที่เต็มไปด้วยสารอาหารและสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ ซึ่งเกี่ยวข้องกับประโยชน์ต่างๆ ที่มีต่อร่างกาย เช่น ลดการอักเสบ บรรเทาอาการคลื่นไส้ และลดระดับน้ำตาลในเลือด นอกจากนี้จากการวิจัยบางชิ้นยังบ่งชี้ให้เห็นว่า ขิงอาจช่วยบรรเทาอาการหอบหืดได้อีกด้วย

    จากการศึกษาในหลอดทดลองโดยใช้เซลล์ของมนุษย์ บ่งชี้ว่า สารประกอบในขิง เช่น จินเจอรอล (Gingerol) และสารประกอบโชกาออล (Shogaols) อาจช่วยบรรเทาอาหารหอบหืด โดยลดการอักเสบของทางเดินหายใจได้

    ชาขิง นั้นทำได้โดยการนำรากของต้นขิงมาต้ม โดยคุณสามารถซื้อ ชาขิง ผ่านช่องทางออนไลน์ หรือจะชงกินเองที่บ้านก็ได้ เพียงนำขิงที่ปลอกเปลือกและหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ แล้ว ใส่ลงในน้ำเดือด 240 มิลลิลิตร ต้มเอาไว้ 10-20 นาที ขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของชาขิงที่คุณต้องการ จากนั้นก็กรองเอาเพียงแค่น้ำเท่านั้น คุณอาจจะผสมน้ำมะนาว น้ำผึ้ง หรืออบเชยลงไปในน้ำขิง เพื่อเพิ่มรสชาติก็ได้

    ชาเขียว

    ชาเขียว เป็นเครื่องดื่มยอดนิยมที่ได้มาจากใบของต้นชา (Camellia sinensis) ชาเขียวเต็มไปด้วยสารอาหาร สารประกอบจากพืช และสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งเชื่อมโยงกับการลดน้ำหนัก ตลอดจนลดความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานประเภท 2 โรคหัวใจ และโรคมะเร็งบางชนิด นอกจากนี้การวิจัยบางชิ้นยังชี้ให้เห็นว่า ชาเขียวอาจบรรเทาอาการหอบหืดได้

    จากงานวิจัยในสัตว์หลายชิ้น แสดงให้เห็นว่า สารต้านอนุมูลอิสระในชาเขียว อาจช่วยลดการอักเสบในปอด ซึ่งเป็นลักษณะทั่วไปของโรคหอบหืด นอกจากนี้การศึกษาในคนกว่า 1,000 คนพบว่า ผู้ที่ดื่มชาเขียวอย่างน้อย 2 ถ้วย ขนาด 240 มิลลิลิตร มีสมรรถภาพปอดดีกว่าผู้ที่ไม่ดื่มเลย เพราะ ชาเขียว เป็นแหล่งของคาเฟอีน ซึ่งอาจช่วยผ่อนคลายทางเดินหายใจของคุณได้นานถึง 4 ชั่วโมง และช่วยบรรเทาอาการหอบหืดได้ชั่วคราว

    ชาดำ

    เช่นเดียวกับชาเขียว ชาดำก็มาจากใบของต้นชา (Camellia sinensis) อย่างไรก็ตามเมื่อใบชาดำสัมผัสกับอากาศ ก็จะเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน ทำให้ใบของมันเปลี่ยนสีเป็นสีน้ำตาลเข้ม ส่งผลให้รสชาติที่ได้เข้มข้นขึ้น นอกจากนั้น ชาดำยังมักถูกนำมาใช้ผสมกับส่วนผสมอื่นๆ เพื่อทำชาที่ไว้ดื่มคู่กับอาหารเช้าแบบอังกฤษ หรือ เอิร์ลเกรย์ (Earl Grey)

    ชาดำ มีคาเฟอีนเหมือนกับชาเชียว ซึ่งอาจช่วยผ่อนคลายทางเดินหายใจและปรับปรุงการทำงานของปอดได้เล็กน้อย สิ่งนี้อาจช่วยบรรเทาอาการหอบหืดได้ชั่วคราว นอกจากนั้น ชาดำ ยังมีประโยชน์อื่นๆ ที่อาจเป็นไปได้ ซึ่งได้แก่ ลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจและโรคเบาหวานประเภท 2

    ชายูคาลิปตัส

    ชายูคาลิปตัสทำจากใบของ ต้นยูคาลิปตัส (Eucalyptus) ซึ่งอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ และสารประกอบจากพืช เช่น ยูคาลิปตอล (Eucalyptol)  ยูคาลิปตัสอาจช่วยรักษาอาการหอบหืดได้ อ้างอิงจากการวิจัยชี้บางชิ้น ระบุไว้ว่า สารประกอบนี้อาจลดการอักเสบ ลดการผลิตเมือก และขยายหลอดลมของคุณ ซึ่งเป็นทางเดินภายในปอดของคุณ

    ในการศึกษาที่ใช้ระยะเวลา 12 สัปดาห์ (12-week study) ผู้ที่เป็นโรคหอบหืดหลอดลม 32 คน ได้รับสารยูคาลิปตอล 600 มิลลิกรัม หรือยาหลอกทุกวัน ผู้ที่ได้รับยูคาลิปตอลต้องการใช้ยาในการจัดการกับอาการหอบหืดน้อยลง 36 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมที่ต้องการใช้ยาน้อยลงเพียง 7 เปอร์เซ็นต์

    คุณสามารถทำชายูคาลิปตัสดื่มได้เองที่บ้าน โดยใช้ใบยูคาลิปตัสแห้ง แช่ในน้ำเดือด 240 มิลลิลิตร นาน 10 นาที จากนั้นใช้กระชอนกรองเอาใบยูคาลิปตัสออกก่อนดื่ม

    ชาชะเอมเทศ

    ชาชะเอมเทศทำจากรากของต้นชะเอมเทศ (Glycyrrhiza glabra) มีรสหวาน แต่ขมเล็กน้อย ในยาแผนโบราณ รากชะเอมเทศมักถูกนำมาใช้ในการรักษาอาการต่างๆ รวมทั้งโรคหอบหืด อ้างอิงจากการศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่า สารสกัดจากชะเอมเทศที่มีชื่อว่า “กลีซีร์ริซิน (Glycyrrhizin)” ช่วยบรรเทาอาการของโรคหอบหืด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้กับการรักษาโรคหอบหืดแบบเดิม เช่น ซาลบูทามอล (Salbutamol)

    แม้ว่าการวิจัยในมนุษย์จะแสดงผลลัพธ์ที่คล้ายคลึงกัน แต่ก็ยังจำเป็นต้องมีการวิจัยในระยะยาวมากขึ้น โปรดทราบว่า รากชะเอมเทศจำนวนมากอาจนำไปสู่ผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายพอสมควร ดังนั้นคุณจึงควรจำกัดการดื่มไว้ที่ 1 ถ้วย หรือ 240 มิลลิกรัมต่อวัน และผู้คุยกับผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพของคุณ หากมีอาการป่วยใดๆ

    ชามัลเลน (Mullein)

    ชามัลเลนเป็นยาชงที่เข้มข้นและมีกลิ่นหอมที่ทำจากใบของมัลเลน ซึ่งมีถิ่นกำเนิดในยุโรป เอเชีย และแอฟริกา มัลเลยถูกนำมาใช้ในยาแผนโบราณเป็นเวลาหลายพันปีในการรักษาอาการทางเดินหายใจ เช่น โรคหลอดลมอักเสบ การสะสมของเมือก และโรคหอบหืด

    การศึกษาในสัตว์และมนุษย์ชี้ให้เห็นว่า มัลเลนอาจช่วยรักษาอาการหอบหืด เช่น ไอ หายใจหอบ และหายใจถี่ โดยลดการอักเสบ ซึ่งจะช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อในระบบทางเดินหายใจ แต่ทั้งนี้ยังคงต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมต่อไป

    หากคุณต้องการชงชามัลเลน สามารถทำได้ง่ายๆ โดยการนำไปแห้งมาใส่ลงในน้ำเดือดปริมาณเล็กน้อยใน 1 ถ้วย หรือ 240 มิลลิลิตร ทิ้งไว้เป็นเวลา 15-30 นาที จากนั้นใช้กระชอนกรองใบออก เพื่อไม่ให้เกิดการระคายคอ

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 02/02/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา