backup og meta

ทำความรู้จัก ประเภทของมะเร็งกระดูก มีชนิดใดบ้างนะ

ทำความรู้จัก ประเภทของมะเร็งกระดูก มีชนิดใดบ้างนะ

โรคมะเร็งกระดูก สามารถเริ่มต้นที่กระดูกส่วนใดของร่างกายก็ได้ แต่ส่วนใหญ่มักจะส่งผลกระทบต่อกระดูกเชิงกรานหรือกระดูกยาว ซึ่งเป็นกระดูกช่วงต้นแขน แขนท่อนปลาย ต้นขา และขา โรคมะเร็งกระดูก เป็นโรคมะเร็งที่พบได้น้อยเมื่อเทียบกับโรคมะเร็งอื่น ๆ โรคมะเร็งกระดูก เป็นโรคมะเร็งที่มีหลากหลายชนิด วันนี้ Hello คุณหมอ จะชวนทุกคนไปรู้จักกับ ประเภทของมะเร็งกระดูก ว่ามีกี่ประเภท และแต่ละประเภทนั้นเป็นอย่างไรบ้าง

มะเร็งกระดูก คืออะไร

โรคมะเร็งกระดูก เกิดจากเซลล์ในกระดูกเจริญเติบโตผิดปกติแบบควบคุมไม่ได้ เซลล์ที่มีความผิดปกติเหล่านี้จะทำลายเนื้อเยื่อในกระดูก และแพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย โรคมะเร็งกระดูก เป็นโรคที่พบได้น้อย สำหรับผู้ที่เป็น โรคมะเร็งกระดูก มักจะมีสัญญาณและอาการ ดังนี้

ประเภทของมะเร็งกระดูก มีอะไรบ้าง

โรคมะเร็งกระดูก มีหลายประเภท หลัก ๆ ได้แก่ มะเร็งกระดูกชนิดปฐมภูมิ และมะเร็งกระดูกชนิดทุติยภูมิ

1. โรคมะเร็งกระดูกชนิดปฐมภูมิ

เป็น โรคมะเร็งกระดูก ที่เรียกได้ว่าร้ายแรงที่สุดในบรรดา โรคมะเร็งกระดูก ทั้งหมด โรคมะเร็งกระดูกปฐมภูมิจะก่อตัวขึ้นในกระดูกและเนื้อเยื่อรอบ ๆ โดยตรง เช่น กระดูกอ่อน ซึ่งประเภทของมะเร็งกระดูกชนิดปฐมภูมิ มีดังนี้

  • มะเร็งเม็ดเลือดขาวมัยอิโลมา (Multiple myeloma หรือ MM)

มะเร็งเม็ดเลือดขาวมัลอิโลมา เป็น โรคมะเร็งกระดูก ที่พบได้บ่อยที่สุด เกิดจากเซลล์มะเร็งเจริญเติบโตในไขกระดูก และก่อให้เกิดเนื้องอกในกระดูกต่าง ๆ ส่วนใหญ่แล้วมักมีผลต่อผู้สูงอายุ ในบรรดา โรคมะเร็งกระดูก ทั้งหมด โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวมัลอิโลมา เป็นชนิดที่มีการวินิจฉัยได้ดีที่สุดชนิดหนึ่ง และหลาย ๆ คนที่เป็นโรคนี้ไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษาแต่อย่างใด

  • มะเร็งกระดูกแบบออสทีโอซาร์โคมา (Osteosarcoma)

โรคมะเร็งกระดูก ชนิด Osteogenic sarcoma หรือ osteogenic sarcoma มักพบในเด็กและวัยรุ่น แต่ก็สามารถพบในผู้ใหญ่ได้เช่นกัน มะเร็งกระดูกประเภทนี้อาจเริ่มที่สะโพก ไหล่ หรือกระดูกตำแหน่งอื่น ๆ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหรือบวมที่กระดูกได้

  • มะเร็งกระดูกคอนโดรซาร์โคมา (Chondrosarcoma)

มะเร็งชนิดนี้อาจเกิดขึ้นในกระดูกเชิงกราน บริเวณต้นขา และไหล่ของผู้สูงอายุ โดยเซลล์มะเร็งจะก่อตัวในเนื้อเยื่อใต้กระดูกอ่อน ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อที่มีลักษณะเป็นเส้นใยเหนียว อยู่ระหว่างกระดูก

  • มะเร็งดูกอีวิงซาร์โคม่า (Ewing’s sarcoma)

มะเร็งกระดูกอีวิงซาร์โคม่า เป็น โรคมะเร็งกระดูก ที่พบได้ยาก มักจะเกิดขึ้นที่กระดูกเชิงกราน หน้าแข้ง ต้นขา และเนื้อเยื่ออ่อนรอบ ๆ กระดูก หรืออาจเกิดขึ้นในกระดูกได้เช่นกัน ส่วนใหญ่แล้วมักพบในเด็กและวัยรุ่น

  • มะเร็งกระดูกคอร์โดมา (Chordoma)

มะเร็งกระดูกชนิดคอร์โดมาร์ เป็น โรคมะเร็งกระดูก ที่พบได้น้อย มักจะเกิดขึ้นที่บริเวณกระดูกสันหลังส่วนล่าง และกะโหลกศีรษะ ส่วนใหญ่มักพบในผู้สูงอายุมากกว่าเด็ก แต่ก็สามารถพบในเด็กได้เช่นกัน มะเร็งกระดูกชนิดนี้มักเติบโตที่ฐานของคอและกะโหลกศีรษะ

2. โรคมะเร็งกระดูกชนิดทุติยภูมิ

เป็น โรคมะเร็งกระดูก ที่พบได้บ่อยกว่าโรคมะเร็งกระดูกปฐมภูมิ โดยเซลล์มะเร็งจะเกิดจากที่อื่นและแพร่กระจายไปยังกระดูก

มะเร็งกระดูก เป็นอีกหนึ่งโรคที่ไม่ควรละเลย ฉะนั้น หากคุณรู้สึกถึงความผิดปกติที่กระดูก ควรเข้าพบคุณหมอทันที เพราะหากคุณหมอตรวจวินิจฉัยว่าคุณเป็นมะเร็งกระดูก ไม่ว่าจะประเภทใด จะได้รักษาได้อย่างเหมาะสมและทันท่วงที

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Bone cancer.https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/bone-cancer/symptoms-causes/syc-20350217.Accessed on 26 April, 2021.

Bone cancer types.https://www.cancercenter.com/cancer-types/bone-cancer/types.Accessed on 26 April, 2021.

Bone Cancer. https://www.webmd.com/cancer/bone-tumors. Accessed on 26 April, 2021.

What to know about bone cancer. https://www.medicalnewstoday.com/articles/171372. Accessed on 26 April, 2021.

Types of bone cancer. https://www.cancerresearchuk.org/about-cancer/bone-cancer/types. Accessed on 26 April, 2021.

What Is Bone Cancer?. https://www.cancer.org/cancer/bone-cancer/about/what-is-bone-cancer.html. Accessed on 26 April, 2021.

Bone cancer. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/bone-cancer/symptoms-causes/syc-20350217. Accessed on 26 April, 2021.

เวอร์ชันปัจจุบัน

29/05/2021

เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

สัญญาณโรคมะเร็งกระดูก คำเตือนจากร่างกาย อย่าละเลย!!!

ทำความเข้าใจ การรักษามะเร็งกระดูก ช่วยตัดสินใจในการรักษา


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 29/05/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา