การตรวจบางประเภท เช่น การเจาะไขกระดูก การเจาะน้ำไขสันหลังจะต้องมีการให้ยาระงับความรู้สึกก่อน และแพทย์อาจดำเนินการในวันเดียวกับวันที่มีการผ่าตัดเพื่อการวินิจฉัย
การรักษา มะเร็งต่อมน้ำเหลือง
การรักษามะเร็งต่อมน้ำเหลืองนั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น
- ชนิดและระยะของโรคมะเร็ง
- สุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย
- ความต้องการของผู้ป่วย
- เซลล์มะเร็งนั้นมีปฏิกิริยาไวต่อฮอร์โมนบางชนิดหรือไม่
วิธีรักษา โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ที่นิยมใช้ทั่วไป เช่น
การเฝ้าระวังเชิงรุก (Active surveillance)
เซลล์มะเร็งต่อมน้ำเหลืองบางชนิดนั้นเจริญเติบโตช้ามาก คุณหมออาจแนะนำให้รอจนกว่าอาการของโรคจะรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน ค่อยเข้ารับการรักษา และในระหว่างเฝ้าระวัง อาจต้องเข้ารับการตรวจเป็นระยะ เพื่อหาความเปลี่ยนแปลง และการพัฒนาของโรค
เคมีบำบัด (Chemotherapy)
ยาเคมีบำบัดจะช่วยทำลายเซลล์ในร่างกายที่เติบโตเร็วผิดปกติ เช่น เซลล์มะเร็ง โดยการให้ยาเคมีบำบัดส่วนใหญ่จะให้ผ่านทางหลอดเลือด แต่บางรายอาจรับยาในรูปแบบยาเม็ดด้วย ขึ้นอยู่กับชนิดของยาเคมีบำบัดที่ใช้
รังสีรักษา (Radiation therapy)
วิธีนี้เป็นทำลายเซลล์มะเร็งด้วยคลื่นพลังงานแรงสูง หรือที่เรียกว่ารังสี เช่น รังสีเอ็กซ์ รังสีโปรตอน
การปลูกถ่ายไขกระดูก (Bone marrow transplant)
วิธีนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด โดยเริ่มต้นเข้ารับเคมีบำบัดในขนาดยาสูง และเข้ารับการรักษาด้วยรังสีรักษาเพื่อกดการทำงานของไขกระดูก จากนั้นจึงฉีดเซลล์ต้นกำเนิดไขกระดูกที่มีสุขภาพแข็งแรงดีที่ได้จากร่างกายของผู้ป่วยเอง หรือจากผู้บริจาค และผ่านการกรองแล้ว เข้าหลอดเลือดดำของผู้ป่วย เพื่อให้ร่างกายผลิตไขกระดูกขึ้นใหม่ และมีสุขภาพดีขึ้น
การรักษาด้วยวิธีอื่น
แพทย์อาจใช้การรักษามะเร็งต่อมน้ำเหลืองด้วยวิธีการอื่น ๆ เช่น
- การรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด (Immunotherapy)
- การใช้เซลล์ภูมิคุ้มกันที่ผ่านการดัดแปลงทางพันธุกรรมให้มีการแสดงออกโปรตีนตัวรับแบบผสม (Chimeric Antigen Receptor หรือ CAR)
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเอง
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองที่ช่วยจัดการกับ มะเร็งต่อมน้ำเหลือง
นอกเหนือจากการรักษาแล้ว การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันอาจช่วยให้สามารถรับมือกับ มะเร็งต่อมน้ำเหลืองได้ดีขึ้น
- ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับ มะเร็งต่อมน้ำเหลือง อาการ เช่น ชนิด ระยะ การพยากรณ์โรค วิธีรักษา ให้ละเอียดขึ้น ด้วยการขอคำแนะนำจากแพทย์ หรือเรียนรู้ข้อมูลจากแหล่งที่เชื่อถือได้ เมื่อทราบข้อมูลเกี่ยวกับมะเร็งต่อมน้ำเหลืองมากขึ้นแล้ว จะได้ตัดสินใจเกี่ยวกับวิธีรักษาได้ง่ายขึ้น
- พูดคุยกับเพื่อนและคนในครอบครัวเป็นประจำ เพื่อที่จะได้ไม่รู้สึกอึดอัด หรือเครียดมากเกินไป เพราะกำลังใจถือเป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญในการรับมือกับมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
- ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ บางครั้งอาจรู้สึกเป็นกังวลมากจนเพื่อนและคนในครอบครัวก็ไม่อาจทำให้อารมณ์ดีขึ้นได้ ในกรณีนี้ การปรึกษาผู้เชี่ยวชาญหรือคุณหมอประจำตัว ถือเป็นทางออกที่เหมาะสมที่สุด
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย