backup og meta

ระบบภูมิคุ้มกัน กับ การติดเชื้อไวรัสโคโรนา

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    ระบบภูมิคุ้มกัน กับ การติดเชื้อไวรัสโคโรนา

     ระบบภูมิคุ้มกัน เป็นระบบที่ช่วยในการดักจับเชื้อโรค สิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกายของคนเรา หากร่างกายมีระบบภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอ ก็จะยิ่งทำให้เชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายขึ้น เช่นเดียวกันกับเชื้อไวรัสโคโรนา ที่กำลังแพร่ระบาดอยู่ในขณะนี้ หากใครที่มีระบบภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอก็จะเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ชนิดนี้ได้ง่ายขึ้น วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยว การติดเชื้อไวรัสโคโรนา กับระบบภูมิคุ้มกัน พร้อมด้วยวิธีการเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันมาฝากกันค่ะ

    ระบบภูมิคุ้มกันกับการทำงานต่อเชื้อไวรัส

    ระบบภูมิคุ้มกัน เป็นระบบที่มีความสำคัญในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ หากร่างกายขาดระบบภูมิคุ้มกัน ก็เหมือนร่างกายไม่มีเกราะป้องกัน ทำให้ร่างกายได้รับแบคทีเรีย เชื้อไวรัส และปรสิต ได้ง่าย ระบบภูมิคุ้มกันเปรียบเสมือนเนื้อเยื่อและเซลล์ที่คอยสอดส่อง ดูแลเชื้อโรค ที่จะเข้ามาในร่างกายของคนเรา หากร่างกายพบเชื้อไวรัสที่แปลกปลอมเข้าสู่ร่างกาย ระบบภูมิคุ้มกันก็จะทำการจู่โจมสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกาย โดยจะทำลายเชื้อโรคนั้นให้ตาย ซึ่งระบบภูมิคุ้มกันมีหลายแบบ เช่น

    ระบบภูมิคุ้มกันโดยกำเนิด (Innate immunity) มนุษย์ทุกคนล้วนมีภูมิคุ้มกันที่ได้มาตั้งแต่เกิด ซึ่งระบบภูมิคุ้มกันประเภทนี้ก็จะช่วยป้องกันเชื้อโรคได้ในระดับหนึ่ง เช่น ผิวหนัง เมือกจากๆ ในลำคอ หรือลำไส้ ซึ่งระบบภูมิคุ้มกันประเภทก็จะช่วยดักจับเชื้อโรคได้ประมาณหนึ่ง แต่เมื่อไรก็ตามที่เชื้อโรคหลุดรอดจากระบบภูมิคุ้มกันประเภทนี้ ร่างกายก็จะมีการใช้ภูมิคุ้มกันจำเพาะ

    ภูมิคุ้มกันจำเพาะ (Adaptive (acquired) immunity) ภูมิคุ้มกันจำเพาะเป็นภูมิคุ้มกันที่ร่างกายได้รับมา เช่น การได้รับวัคซีน หรือร่างกายได้รับเชื้อโรคนั้นมา เมื่อร่างกายเคยได้รับเชื้อโรคใดๆ ก็ตามเข้ามา ร่างกายจะสร้างแอนติบอดี้ขึ้นมาสำหรับเชื้อโรคในแต่ละชนิด บางครั้งเรียกว่า หน่วยความจำภูมิคุ้มกัน เนื่องจากเมื่อร่างกายเจอเชื้อโรคตัวเดิมที่เคยเข้ามาในร่างกาย ร่างกายจะรู้วิธีในการกำจัดเชื้อโรคนั้น นอกจากนี้การออกกำลังหรือการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ยังช่วยสร้างแอนติบอดีได้อีกด้วย

    ภูมิคุ้มกันที่ได้รับมา (Passive immunity) เป็นภูมิคุ้มกันที่ร่างกายได้รับมาจากแหล่งอื่น แต่จะไม่คงอยู่ตลอดไป เช่น การที่ทารกได้รับแอนติบอดี้ จากแม่ผ่านทางสายรกในขณะที่อยู่ครรภ์ หรือการได้รับนมแม่หลังคลอด ซึ่งภูมิคุ้มกันนี้จะช่วยปกป้องทารกจากการติดเชื้อ ต่างๆ ในช่วงปีแรกๆ ของการเป็นเด็ก

    ภูมิคุ้มกันที่ได้รับจากแอนติเจน (Immunizations) คือการนำแอนติเจน หรือเชื้อโรคที่ทำให้เชื้ออ่อนแอลง เข้าสู่ร่างกายเพื่อให้ร่างกายสร้างแอนติบอดี้เพื่อทำลายเชื้อโรคนั้นๆ โดยที่ไม่ทำอันตรายต่อร่างกาย

    ระบบภูมิคุ้มกันกับ การติดเชื้อไวรัสโคโรนา

    ไวรัสโคโรนา เป็นไวรัสที่จะแพร่กระจายไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น ตับ ระบบทางเดินหายใจ ระบบทางเดินอาหาร และระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งความรุนแรงของการติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ มีความรุนแรงหลายระดับ ตั้งแต่ ไม่แสดงอาการ มีอาการเรื้อรัง หรือบางคนอาจจะร้ายแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้เลย ซึ่งความรุนแรงของอาการต่างๆ นี้ขึ้นอยู่กับหลายๆ ปัจจัย เช่น พันธุกรรม อายุ และระบบภูมิคุ้มกัน

    เซลล์ของเชื้อไวรัสโคโรนา จะเข้าไปทำลายเนื้อเยื่อในร่างกาย ส่งผลต่อการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกัน ทั้งปริมาณและคุณภาพ ซึ่งทำให้ร่างกายไม่สามารถควบคุมเชื้อโรคไม่ให้กระจายไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกายได้ หรือเรียกง่ายๆ ก็คือ เชื้อไวรัสโคโรนานั้นจะเข้าไปทำลายระบบภูมิคุ้มกัน ยิ่งผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันไม่แข็งแรงก็จะยิ่งทำให้ติดเชื้อได้ง่าย และยังทำให้เชื้อลุกลามไปยังส่วนอื่นๆ ได้เร็วกว่าผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันที่ดี

    ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ที่กำลังระบาดอย่างหนักในจีนตอนนี้ ถือเป็นภัยคุกคามต่อมนุษย์เพราะเป็นโรคติดต่อที่สามารถแพร่กระจายเชื้อได้อย่างง่ายดาย เพียงการ ไอ จาม สัมผัสเชื้อจากราวบันได ประตู หรือวัตถุอื่นๆ ที่มีเชื้อนี้ติดอยู่ ก็สามารถทำให้ติดเชื้อได้แล้ว การตอบสนองระบบภูมิคุ้มกันจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นในการทำลายและป้องกันเชื้อไวรัสโคโรนา เมื่อไรก็ตามที่ร่างกายได้รับเชื้อไวรัสโคโรนา และเชื้อนั้นได้เข้าสู่ปอด จะทำให้ปอดทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ทำให้การแลกเปลี่ยนก๊าซในปอดทำงานได้ไม่สมบูรณ์ ซึ่งส่งผลให้เกิดการติดเชื้อในปอดได้

    วิธีเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันเพื่อต่อสู้กับเชื้อโรค

    บางครั้งระบบภูมิคุ้มกันก็ไม่สามารถดักจับสิ่งแปลกปลอมได้อยางเต็มที่ ทำให้ง่ายต่อการติดเชื้อ ซึ่งเราสามารถเพิ่มระบบภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายได้อย่างหลากหลายวิธี โดยเริ่มจากพฤติกรรมที่ส่งเสริมให้ร่างกายมีสุขภาพที่ดี เช่น

  • ไม่สูบบุหรี่
  • รับประทานผักและผลไม้ในสัดส่วนที่เหมาะสม
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตราฐาน
  • ดื่มแอลกอฮอล์พอประมาณ
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • Hello Health Group ม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา