backup og meta

มะเร็งต่อมลูกหมาก สาเหตุ และปัจจัยเสี่ยง

มะเร็งต่อมลูกหมาก สาเหตุ และปัจจัยเสี่ยง

มะเร็งต่อมลูกหมาก สาเหตุ คือการที่เซลล์ต่อมลูกหมากซึ่งเป็นอวัยวะที่มีหน้าที่ในการสร้างน้ำหล่อเลี้ยงอสุจิและลำเลียงอสุจิ เจริญเติบโตมากผิดปกติ และอาจลุกลามและแพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย โดยสังเกตได้จากอาการมีเลือดปนกับปัสสาวะหรือมีเลือดในน้ำอสุจิ บางคนอาจมีอาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศด้วย ดังนั้น หากสังเกตพบว่ามีอาการดังกล่าวควรพบคุณหมอเพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาในทันที

[embed-health-tool-bmr]

ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับ มะเร็งต่อมลูกหมาก

ต่อมลูกหมากเป็นต่อมขนาดเล็ก ขนาดประมาณลูกวอลนัท อยู่บริเวณรอบท่อปัสสาวะ ต่อมลูกหมากเป็นต่อมที่เป็นส่วนหนึ่งของระบบสืบพันธุ์ หากเกิดมะเร็งที่ต่อมลูกหมาก มะเร็งที่เกิดมีแนวโน้มที่จะเติบโตอย่างช้า ๆ แต่ในบางกรณี ซึ่งเป็นกรณีที่หาได้ยาก มะเร็งต่อมลูกหมากอาจจะลุกลามและเติบโตอย่างรวดเร็ว หรือแพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย

จากข้อมูลของมูลนิธิระบบทางเดินปัสสาวะแห่งอเมริกา พบว่า โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก เป็นสาเหตุการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งเป็นอันดับ 2 ที่พบได้ในผู้ชายอเมริกัน ดังนั้น การที่แพทย์ตรวจพบโรคมะเร็งต่อมลูกหมากได้เร็วเท่าไร โอกาสที่จะรักษาหายก็มากขึ้นเท่านั้น แต่ส่วนใหญ่แล้วผู้ที่เสียชีวิตจากโรคมะเร็งต่อมลูกหมากจะเป็นผู้สูงอายุ

มะเร็งต่อมลูกหมาก สาเหตุ คืออะไร

โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ก็เหมือนกับมะเร็งชนิดอื่น ๆ ที่ยากจะบอกได้ว่าเกิดจากสาเหตุอะไร บางครั้ง โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ก็เกิดจากหลาย ๆ กรณีรวมกัน ไม่ว่าจะเป็น พันธุกรรม การสัมผัสกับสารพิษในสิ่งแวดล้อม เช่น สารเคมี รังสีบางชนิด

การกลายพันธุ์ในดีเอ็นเอหรือสารทางพันธุกรรม เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เซลล์มะเร็งมีการเจริญเติบโต การกลายพันธุ์เหล่านี้ทำให้เซลล์มะเร็งในต่อมลูกหมากมีการเจริญเติบโต โดยที่ไม่สามารถควบคุมได้และเกิดความผิดปกติ เซลล์ที่มีความผิดปกติ หรือมะเร็งที่ยังคงเติบโตจะเกิดการแบ่งตัว จนกว่าเนื้องอกจะพัฒนาขึ้น หากคุณเป็น โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ชนิดลุกลาม เซลล์อาจแพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย

ปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งต่อมลูกหมาก

ปัจจัยบางอย่างก็ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิด โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ได้แก่

พันธุกรรม

บางกรณีการกลายพันธุ์ที่ทำให้เกิด โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ก็จะถ่ายทอดทางพันธุกรรม หากคนในครอบครัวเคยเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก ก็จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิด โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก เพราะอาจได้รับดีเอ็นเอที่กลายพันธ์หรือมีความผิดปกตินั้นมา

อายุ

ปัจจัยเสี่ยงอีกอย่างที่ถือว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ใหญ่ที่สุดในการเกิด โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก คือ อายุ มูลนิธิมะเร็งต่อมลูกหมาก รายงานว่า มีผู้ชายอายุต่ำกว่า 40 ปีในสหรัฐอเมริกาเพียง 1 ใน 10,000 คนเท่านั้นที่เป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก ส่วนใหญ่แล้วผู้ที่เป็นมะเร็งต่อมลูกหมากคือ ผู้ชายสูงอายุ

อาหาร

อาหารที่อุดมไปด้วยเนื้อแดงและผลิตภัณฑ์จากนมไขมันสูง อาจจะเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิด โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ผู้ชายที่รับประทานเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากนมที่มีไขมันสูงในปริมาณมาก ก็มักจะรับประทานผักและผลไม้น้อยลงเช่นกัน แต่อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญยังไม่ทราบว่า ไขมันสัตว์ในระดับสูง หรือผักและผลไม้ในระดับต่ำมีส่วนทำให้ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิด โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก มากขึ้นอย่างไร จึงจำเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติม

โรคอ้วน

คนที่เป็นโรคอ้วน อาจมีความเสี่ยงสูงในการเป็น โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก เมื่อเทียบกับคนที่มีน้ำหนักตัวปกติ คนอ้วนที่เป็นโรคมะเร็ง มีแนวโน้มที่มะเร็งจะลุกลามมากขึ้น และมีแนวโน้มที่เซลล์มะเร็งจะกลับมาอีก หลังจากการรักษาครั้งแรก

นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อมะเร็งต่อมลูกหมาก เช่น

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Prostate Cancer: Risk Factors and Prevention.https://www.cancer.net/cancer-types/prostate-cancer/risk-factors-and-prevention.Accessed March 31, 2021
Prostate cancer.https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/prostate-cancer/symptoms-causes/syc-20353087.Accessed March 31, 2021

What is Prostate Cancer.https://www.uclahealth.org/urology/prostate-cancer/what-is-prostate-cancer. Accessed March 31, 2021

Prostate cancer. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/prostate-cancer/symptoms-causes/syc-20353087. Accessed October 2022.

Prostate cancer. https://www.nhs.uk/conditions/prostate-cancer/. Accessed October 2022.

Basic Information About Prostate Cancer. https://www.cdc.gov/cancer/prostate/basic_info/index.htm. Accessed October 2022.

เวอร์ชันปัจจุบัน

20/10/2022

เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

มะเร็งต่อมลูกหมาก สาเหตุ อาการ และการรักษา

ความเครียด ส่งผลต่อโรคต่อมลูกหมากโต ได้อย่างไร


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 20/10/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา