backup og meta

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ แบบประเมินความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูก

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ แบบประเมินความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูก

แบบประเมินความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูก อาจเป็นอีกวิธีที่จะช่วยป้องกันมะเร็งปากมดลูกในเบื้องต้นได้โดยการประเมินความเสี่ยงของแต่ละบุคคล เนื่องจากมะเร็งปากมดลูกเป็นโรคเรื้อรังที่อาจเกิดขึ้นได้จากการติดเชื้อเอชพีวี (HPV) โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ พันธุกรรม หรือความเสี่ยงในการใช้ชีวิต เช่น การสูบบุหรี่จัด ดังนั้น เพื่อลดความกังวลและป้องกันความเสี่ยง ควรทำแบบประเมินความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูกเป็นประจำเพื่อคัดกรองเบื้องต้นด้วยตนเอง

[embed-health-tool-ovulation]

ทำไมถึงควรใช้แบบประเมินความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูก

แบบประเมินความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูก อาจช่วยให้ผู้หญิงค้นหาและประเมินปัจจัยเสี่ยงโรคมะเร็งปากมดลูกของตัวเองในเบื้องต้น เพื่อป้องกันหรือเข้ารับการวินิจฉัยและรักษาได้อย่างทันท่วงที ด้วยการตอบแบบประเมินที่ได้รับการยืนยันและตรวจสอบข้อมูลจากคุณหมอ

โดยสามารถเข้าทำแบบประเมินความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูกได้ ฟรี! ทุกที่ทุกเวลาผ่านมือถือ แท็บเล็ตหรือคอมพิวเตอร์ ได้ที่เว็บไซต์ Hello คุณหมอ เพื่อสุขภาพที่ดีและห่างไกลจากโรคมะเร็งปากมดลูก

วิธีการใช้แบบประเมินความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูก

สำหรับวิธีการใช้แบบประเมินความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูก เพื่อค้นหาและประเมินความเสี่ยงของโรคมะเร็งปากมดลูก อาจทำได้ดังนี้

  1. เข้าไปที่เว็บไซต์ www.hellokhunmor.com จากนั้นเลือกเมนู เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
  2. เลือกเมนู ดูเครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพทั้งหมด แบบประเมินจะอยู่ในหมวด ความเสี่ยงสุขภาพ
  3. จากนั้นเลือก แบบประเมินความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูก
  4. คลิกเมนู เริ่ม เพื่อทำแบบประเมิน โดยคำถามจะมีทั้งหมด 12 ข้อ ซึ่งเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงที่อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูก พร้อมทั้งข้อมูลความรู้และคำแนะนำสำหรับการป้องกันความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูก
  5. เมื่อทำแบบประเมินเรียบร้อย ในตอนท้ายจะมีสรุปและคำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับการป้องกันมะเร็งปากมดลูกเบื้องต้น

โดยแบบประเมินความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูกนี้จัดทำขึ้นเพื่อให้ข้อมูลความรู้และการป้องกันเบื้องต้นเท่านั้น ไม่สามารถใช้แทนการวินิจฉัย การรักษาและให้คำแนะนำทางการแพทย์ได้ ดังนั้น หากมีข้อสงสัยหรือพบอาการผิดปกติควรเข้าพบคุณหมอเพื่อทำการวินิจฉัยและรักษาทันที

การตรวจมะเร็งปากมดลูก

ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูกมักเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้

  • การมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย อาจเสี่ยงต่อการมีคู่นอนหลายคนและมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อเอชพีวี
  • การเปลี่ยนคู่นอน อาจเพิ่มโอกาสในการได้รับเชื้อเอชพีวี หรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ มากขึ้น
  • การติดเชื้อเอชพีวี เป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูก ซึ่งมักติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน
  • การเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น หนองใน หนองในเทียม ซิฟิลิส เชื้อเอชไอวี/เอดส์ ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงติดเชื้อเอชพีวีได้ง่ายขึ้น
  • การมีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ อาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชพีวีและเสี่ยงเป็นมะเร็งปากมดลูกได้ง่าย
  • การสูบบุหรี่ อาจทำให้เซลล์ผิดปกติและเสี่ยงเป็นมะเร็งปากมดลูกชนิดเซลล์สความัส (Squamous Cell Cervical Cancer)

หากพบว่ามีความเสี่ยงดังที่กล่าวมาข้างต้นหรือมีอาการผิดปกติ เช่น เลือดออกทางช่องคลอดหลังมีเพศสัมพันธ์ ระหว่างรอบเดือนหรือหลังวัยหมดประจำเดือน ตกขาวมีเลือดปนและมีกลิ่นเหม็น ปวดอุ้งเชิงกรานหรือปวดขณะมีเพศสัมพันธ์ ควรรีบเข้าพบคุณหมอเพื่อตรวจหามะเร็งปากมดลูกทันที

โดยการตรวจวินิจฉัยมะเร็งปากมดลูกอาจทำได้ดังนี้

  • การตรวจแปปสเมียร์ (Pap Smear หรือ Pap Test) คุณหมอจะใช้เครื่องมือถ่างช่องคลอด จากนั้นใช้แปรงขนาดเล็กขูดบริเวณปากมดลูกและบริเวณรอบ ๆ เพื่อเก็บเซลล์ จากนั้นนำไปส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์เพื่อดูความผิดปกติของเซลล์
  • การทดสอบการติดเชื้อเอชพีวี คุณหมอจะทดสอบหลังการตรวจแปปสเมียร์ โดยการนำเซลล์จากปากมดลูกไปตรวจสอบดีเอ็นเอหรืออาร์เอ็นเอ เพื่อตรวจหาเชื้อไวรัสเอชพีวี

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Cervical Cancer. https://www.cdc.gov/cancer/cervical/basic_info/screening.htm. Accessed March 27, 2023.

Cervical Cancer Screening (PDQ®)–Patient Version. https://www.cancer.gov/types/cervical/patient/cervical-screening-pdq. Accessed March 27, 2023.

Cervical cancer. https://www.nhs.uk/conditions/cervical-cancer. Accessed March 27, 2023.

Cervical cancer. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/cervical-cancer/symptoms-causes/syc-20352501. Accessed March 27, 2023.

What is cervical screening?. https://www.nhs.uk/conditions/cervical-screening/. Accessed March 27, 2023.

เวอร์ชันปัจจุบัน

29/03/2023

เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet


บทความที่เกี่ยวข้อง

ทำความรู้จักกับ แปปสเมียร์ (Pap Smear) ตรวจเพื่ออะไร และการเตรียมตัวก่อนตรวจ

เตรียมตัวก่อนตรวจมะเร็งปากมดลูก เตรียมอย่างไร และใครที่ควรตรวจ


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

Duangkamon Junnet


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 29/03/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา