มะเร็งเต้านมเกิดจากอะไร คงเป็นคำถามที่หลาย ๆ คนอยากรู้คำตอบ แล้วเมื่อเป็นแล้วจะส่งผลอย่างไรต่อตัวเองบ้าง เพราะโดยส่วนใหญ่แล้ว เมื่อพูดถึงมะเร็งเต้านม ผู้หญิงหลายคนคงเข้าใจว่าเป็นมะเร็งที่เกิดขึ้นบริเวณเต้านมเท่านั้น แต่ความจริงแล้ว โรคมะเร็งเต้านม มีหลายชนิด ดังนั้น ทาง Hello คุณหมอ จึงได้นำเรื่องนี้มาฝากกัน
ชนิดของมะเร็งเต้านมที่พบบ่อยที่สุด
หากพูดถึงคำว่า “โรคมะเร็งเต้านม” ผู้หญิงหลาย ๆ คนคงนึกถึงมะเร็งที่เกิดขึ้นบริเวณเต้านม แต่ความจริงแล้ว โรคมะเร็งเต้านม นั้นมีหลายชนิดด้วยกัน โดนชนิดของ โรคมะเร็งเต้านม ที่พบบ่อยที่สุด ได้แก่
- มะเร็งระยะศูนย์แบบลุกลาม (Infiltrating (invasive) Ductal Carcinoma หรือ IDC) มะเร็งนี้เริ่มที่ท่อน้ำนมของเต้านม จากนั้น มันจะทะลุผนังของท่อน้ำนมและบุกรุกเนื้อเยื่อรอบ ๆ เต้านม นี่คือรูปแบบของมะเร็งเต้านมที่พบบ่อยที่สุดคิดเป็น 80% ของผู้ป่วย
- มะเร็งเต้านมชนิดไม่แพร่กระจาย (Ductal Carcinoma In Situ หรือ DCIS) เป็นมะเร็งระยะแรก (ระยะ 0) ที่เกิดในท่อน้ำนม ซึ่งมะเร็งจะยังอยู่เพียงแต่ในท่อน้ำนมและไม่บุกรุกเนื้อเยื่อเต้านมในบริเวณใกล้เคียง แต่หากไม่ได้รับการรักษา มันอาจกลายเป็นมะเร็งที่แพร่กระจายได้ มะเร็งระยะนี้สามารถรักษาได้เกือบตลอดเวลา
- มะเร็งของต่อมนํ้านม (Infiltrating (invasive) Lobular Carcinoma In Situ หรือ LCIS) มะเร็งนี้จะเริ่มต้นที่ก้อนของเต้านมที่ผลิตน้ำนม แต่แพร่กระจายไปยังเนื้อเยื่อรอบ ๆ เต้านม คิดเป็น 10%-15% ของมะเร็งเต้านม หากวินิจฉัยมะเร็งชนิดนี้ด้วยแมมโมแกรมจะพบได้ยาก
- มะเร็งที่เกิดในต่อมน้ำนมและไม่แพร่กระจายไปที่อื่น (Lobular Carcinoma In Situ หรือ LCIS) เป็นตัวบ่งชี้มะเร็งที่อยู่ในก้อนของเต้านมเท่านั้น ทำหน้าที่เป็นเพียงตัวบ่งชี้ความเสี่ยงที่สามารถจะเกิดเป็นมะเร็งเต้านมในภายหลัง ซึ่งอาจเกิดขึ้นในเต้านมทั้ง 2 ข้างหรือเพียงข้างใดข้างหนึ่งเท่านั้น ดังนั้น ผู้หญิงที่เป็นมะเร็งที่เกิดในต่อมน้ำนมและไม่แพร่กระจายไปที่อื่น จำเป็นต้องได้รับการตรวจเต้านมอย่างสม่ำเสมอ
มะเร็งเต้านมเกิดจากอะไร
โรคมะเร็งเต้านม เกิดขึ้นในเซลล์เยื่อบุของท่อน้ำนม (85%) หรือก้อน (15%) ในเนื้อเยื่อต่อมของเต้านม ในขั้นต้นการเจริญเติบโตของมะเร็งจะจำกัดอยู่ที่ท่อน้ำนม ซึ่งโดยทั่วไปจะไม่ทำให้เกิดอาการใด ๆ และมีโอกาสแพร่กระจายน้อยที่สุด เมื่อเวลาผ่านไปมะเร็งเหล่านี้ที่อยู่ในระยะ 0 อาจลุกลามและบุกรุกเนื้อเยื่อเต้านมโดยรอบ (มะเร็งเต้านมที่แพร่กระจาย) จากนั้นจะพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียง หรือไปยังอวัยวะอื่น ๆ ในร่างกาย โดยส่วนใหญ่แล้ว ผู้หญิงที่เสียชีวิตจากโรคมะเร็งเต้านมนั่นเป็นเพราะอยู่ในระยะที่มะเร็งแพร่กระจายไปทั่วแล้ว
การรักษา โรคมะเร็งเต้านม จะมีประสิทธิภาพสูง หากมีการระบุโรคตั้งแต่เนิ่น ๆ การรักษาโรคมะเร็งเต้านมมักประกอบด้วยการผ่าตัด ฉายรังสี และการใช้ยาร่วมกัน (การรักษาด้วยฮอร์โมน เคมีบำบัด หรือการบำบัดทางชีวภาพที่กำหนดเป้าหมาย) เพื่อรักษามะเร็งด้วยกล้องจุลทรรศน์ที่แพร่กระจายจากเนื้องอกในเต้านมผ่านทางเลือด ซึ่งการรักษาดังกล่างสามารถป้องกันการเติบโต และการแพร่กระจายชองมะเร็งได้
มะเร็งสามารถก่อตัวในส่วนอื่น ๆ ของเต้านมได้หรือไม่
มะเร็งสามารถก่อตัวในส่วนอื่น ๆ ของเต้านมได้เช่นกัน แต่มะเร็งประเภทนี้พบได้น้อยกว่า สิ่งเหล่านี้อาจนวมถึง
- มะเร็งเนื้อเยื่ออ่อน (Angiosarcomas) มะเร็งชนิดนี้เริ่มต้นในเซลล์ที่สร้างเยื่อบุของเลือดหรือท่อน้ำเหลือง มะเร็งเหล่านี้สามารถเริ่มในเนื้อเยื่อเต้านม หรือผิวหนังเต้านม ซึ่งหาได้ยาก
- มะเร็งเต้านมอักเสบ (Inflammatory Breast Cancer) มะเร็งชนิดนี้พบได้น้อยและแตกต่างจากมะเร็งเต้านมชนิดอื่น ๆ เกิดจากเซลล์มะเร็งอุดกั้นในท่อน้ำเหลืองของผิวหนัง
- มะเร็งที่หัวนม (Paget’s Disease Of The Breast) มะเร็งนี้มีผลต่อผิวหนังของหัวนมและผิวหนังรอบหัวนม
- ก้อนเนื้องอกชนิดกึ่งมะเร็ง (Phyllodes Tumor) เป็นสิ่งที่หาได้ยากและมวลส่วนใหญ่เหล่านี้ไม่ใช่มะเร็ง อย่างไรก็ตาม บางคนที่เป็นมะเร็งหรือเนื้องอกเหล่านี้ จะเริ่มต้นในเนื้อเยื่อที่เกี่ยวพันของเต้านม ซึ่งเรียกว่า “เซลล์สโตรมา (Stroma)“
โรคมะเร็งเต้านม ส่งผลกระทบต่อผู้หญิงทุกเชื้อชาติหรือไม่
ผู้หญิงทุกคนโดยเฉพาะเมื่อมีอายุมากขึ้นจะมีความเสี่ยงต่อการเป็น โรคมะเร็งเต้านม ความเสี่ยงของ โรคมะเร็งเต้านม นั้นโดยทั่วไปจะไม่ได้แพร่กระจายไปในกลุ่มชาติพันธุ์อย่างเท่าเทียมกัน และความเสี่ยงของ โรคมะเร็งเต้านม ประเภทต่าง ๆ ก็จะแตกต่างกันไปตามกลุ่มชาติพันธุ์ ตั้งแต่ปี 1989 อัตราการเสียชีวิตจาก โรคมะเร็งเต้านม ในสหรัฐอเมริกานั้นลดลง 40% แต่ความไม่เสมอภาคก็ยังคงมีอยู่ และเพิ่มขึ้นระหว่างผู้หญิงผิวดำที่ไม่ใช่เชื้อสายสเปนและผู้หญิงผิวขาวที่ไม่ใช่เชื้อสายสเปน
สถิติแสดงให้เห็นว่า โดยรวมแล้วผู้หญิงผิวขาวที่ไม่ใช่เชื้อสายสเปนมีโอกาสเป็นโรคมะเร็งเต้านมสูงกว่าผู้หญิงจากเชื้อชาติหรือชาติพันธุ์อื่นเล็กน้อย
สำหรับผู้หญิงผิวดำที่ไม่ใช่เชื้อสายสเปนในสหรัฐอเมริกานั้น มีความเสี่ยงในการเป็น โรคมะเร็งเต้านม สูงกว่า 39% ซึ่งถือว่าเป็นความเสี่ยงที่สูงมาก ทั้งยังอาจเสี่ยงที่จะเสียชีวิตด้วย โรคมะเร็งเต้านม ในทุกช่วงอายุอีกด้วย พวกเขามีแนวโน้มจะเป็นโรคมะเร็งเต้านมถึง 3 เท่า ซึ่งถือว่ามากกว่าผู้หญิงผิวขาว มะเร็งชนิดนี้มีความพิเศษเฉพาะตัวและยากต่อการรักษา อย่างไรก็ตาม ในกลุ่มผู้หญิงที่มีตัวรับฮอร์โมนของมะเร็งเต้านมที่เป็นผลบวก โดยเฉพาะผู้หญิงผิวดำจะมีผลการรักษาทางคลินิกที่แย่ลง แม้จะได้รับการรักษาที่มีผลทั่วร่างกาย (Systemic Therapy)
ในผู้หญิงที่อายุต่ำกว่า 45 ปี โรคมะเร็งเต้านม มักจะพบในผู้หยิงผิวดำที่ไม่ใช่เชื้อสายสเปนมากกว่าผู้หญิงผิวขาวที่ไม่ใช่เชื้อสายสเปน สำหรับผู้หญิงที่เป็นชาวเอเชียเชื้อสายสเปนและชาวอเมริกันพื้นเมืองมีความเสี่ยงต่ำในการเป็นโรคมะเร็งเต้านม แต่อย่างไรก็ตาม ผู้หญิงที่มีเชื้อสายยิวอัชเคนาซิ (ยุโรปตะวันออก) มีความเสี่ยงสูงในการเป็นโรคมะเร็งเต้านม เนื่องจาก มีอัตราการกลายพันธุ์ของกลุ่มยีนที่ทำหน้าที่ควบคุมการเจริญของเซลล์ (Breast Cancer Susceptibility Gene หรือ BRCA) ที่สูงขึ้น
ผู้หญิงผิวขาวที่ไม่ใช่เชื้อสายสเปน ผู้หญิงชาวเอเชีย หรือชาวเกาะแปซิฟิกมีแนวโน้มที่จะได้รับการวินิจฉัยโรคมะเร็งเฉพาะที่ในระยะก่อนหน้ามากกว่าผู้หญิงในกลุ่มชาติพันธุ์หรือเชื้อชาติอื่น ๆ ซึ่งอาจมีโอกาสน้อยที่จะได้รับการรักษาที่มีมาตราฐานนั่นเอง