backup og meta

มะเร็งอัณฑะ สาเหตุ อาการ และการรักษา

มะเร็งอัณฑะ สาเหตุ อาการ และการรักษา

มะเร็งอัณฑะ (Testicular Cancer) เป็นมะเร็งที่พบได้ในเพศชาย ซึ่งจะเกิดขึ้นที่บริเณอัณฑะ ที่ทำหน้าที่ในการผลิตฮอร์โมนความต้องการทางเพศและอสุจิ และอาจลุกลามไปยังส่วนอื่น ๆ โดยสังเกตได้จากอาการมีก้อนภายในถุงอัณฑะ ปวดอัณฑะ หรือมีอาการกดเจ็บ หากสังเกตพบความผิดปกติควรเข้าพบคุณหมอเพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาอย่างรวดเร็ว

[embed-health-tool-bmi]

คำจำกัดความ

มะเร็งอัณฑะ คืออะไร

โรคมะเร็งอัณฑะเป็นโรคมะเร็งที่พบเฉพาะในผู้ชาย เนื่องจากเกิดขึ้นในลูกอัณฑะเท่านั้น โครงสร้างนี้อยู่ในถุงอัณฑะ ซึ่งเป็นถุงผิวหนังหลวม ๆ ใต้องคชาต อัณฑะสังเคราะห์ฮอร์โมนเพศชายและอสุจิสำหรับการสืบพันธุ์

เซลล์ชนิดที่ทำหน้าที่สร้างอสุจิ ซึ่งเรียกว่า “เซลล์สืบพันธุ์ (Germ Cell)” มักเป็นต้นเหตุของมะเร็ง มะเร็งเซลล์สืบพันธุ์ที่อัณฑะ 2 ประเภทหลัก ได้แก่ มะเร็งชนิดเซมิโนมา (Seminomas) และมะเร็งชนิดไม่ใช่เซมิโนมา (Nonseminomas) มะเร็งชนิดเซมิโนมาเติบโตและแพร่กระจายอย่างช้า ๆ ตอบสนองต่อการรักษาด้วยรังสี (Radiation Therapy) มะเร็งชนิดไม่ใช่เซมิโนมา เติบโตและแพร่กระจายได้เร็วกว่ามะเร็งชนิดเซมิโนมา นอกจากนี้ มะเร็งชนิดไม่ใช่เซมิโนมาก็มีอยู่หลายประเภทด้วยกัน

โรคมะเร็งอัณฑะ มีโอกาสในการรักษาให้หายได้สูง แม้กระทั่ง เมื่อมะเร็งแพร่กระจายออกไปจากอัณฑะแล้วก็ตาม พิจารณาจากประเภทและระยะของ โรคมะเร็งอัณฑะอาจได้รับการรักษาประเภทหนึ่งหรือร่วมกันหลายประเภท

มะเร็งอัณฑะ พบบ่อยแค่ไหน

โรคมะเร็งอัณฑะ เป็นมะเร็งที่ไม่ได้พบได้ง่าย นับได้เพียงร้อยละ 1 ของมะเร็งในเพศชายทั้งหมด อย่างไรก็ตาม โรคมะเร็งอัณฑะ นั้น เป็นมะเร็งที่พบได้มากในผู้ชายช่วงอายุ 15-35 ปี

โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อรับข้อมูลเพิ่มเติม

อาการ

อาการของ โรคมะเร็งอัณฑะ

อาการที่พบได้บ่อยของ โรคมะเร็งอัณฑะ ได้แก่

  • มีก้อนหรือการขยายขึ้นของอัณฑะข้างใดข้างหนึ่ง
  • รู้สึกหนักบริเวณถุงอัณฑะ
  • รู้สึกเจ็บชา ๆ ที่ท้องน้อยหรือขาหนีบ
  • มีการสะสมของเหลวในถุงอัณฑะอย่างรวดเร็ว
  • เจ็บปวด หรือไม่สบายตัวที่อัณฑะหรือถุงอัณฑะ
  • หน้าอกใหญ่ขึ้น หรือมีอาการกดเจ็บ
  • ปวดหลัง
  • โดยปกติ โรคมะเร็งอัณฑะ จะเป็นข้างเดียว

อาจมีอาการหรือสัญญาณของโรคอื่น ๆ ที่ไม่ได้ระบุเอาไว้ที่นี้ หากมีความกังวลเกี่ยวกับอาการ โปรดปรึกษาหมอ

ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด

ควรไปหาหมอ หากสังเกตว่ามีความเจ็บปวด บวม หรือก้อนในอัณฑะหรือบริเวณขาหนีบ โดยเฉพาะหากมีสัญญาณหรืออาการนานเกินกว่า 2 สัปดาห์

สาเหตุ

สาเหตุของ โรคมะเร็งอัณฑะ

โรคมะเร็งอัณฑะ เป็นโรคที่ยังไม่สามารถระบุสาเหตุที่แน่ชัดได้ แพทย์ทราบว่า โรคมะเร็งอัณฑะ เกิดขึ้นเมื่อเซลล์ที่แข็งแรงในอัณฑะถูกแทนที่ เพื่อให้การทำงานของร่างกายทำงานปกติ เซลล์ที่แข็งแรงจะแบ่งตัวอย่างเป็นระเบียบ แต่บางครั้งการพัฒนาของเซลล์ก็ไม่ปกติ ทำให้การเติบโตที่มากเกินการควบคุม หลังจากนั้น เซลล์มะเร็งเหล่านี้ก็แบ่งตัวต่อไป แม้ว่าจะไม่ต้องการเซลล์ใหม่อีกแล้ว ท้ายสุดก็เกิดการสะสมเซลล์เป็นก้อนในอัณฑะ

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิด โรคมะเร็งอัณฑะ

  • ภาวะลูกอัณฑะไม่ลงถุง (Cryptorchidism) แต่ผู้ชายส่วนใหญ่ที่เป็น โรคมะเร็งอัณฑะ ก็ไม่มีประวัติมีภาวะลูกอัณฑะไม่ลงถุง
  • การเจริญเติบโตของลูกอัณฑะมีความผิดปกติ อาการที่ทำให้อัณฑะพัฒนาไปอย่างผิดปกติ ได้แก่ กลุ่มอาการไคลน์เฟลเตอร์ (Klinefelter’s Syndrome) อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเป็น โรคมะเร็งอัณฑะ ได้
  • ประวัติครอบครัว หากคนในครอบครัวเป็นโรคมะเร็งอัณฑะก็อาจมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น
  • อายุ โรคมะเร็งอัณฑะ เกิดขึ้นกับวัยรุ่นและคนอายุน้อย โดยเฉพาะระหว่างอายุ 15-35 ปี อย่างไรก็ตาม มันอาจเกิดขึ้นได้กับทุกช่วงอายุเช่นกัน
  • เชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ โรคมะเร็งอัณฑะ นั้นพบมากในกลุ่มคนขาวมากกว่าคนดำ

การวินิจฉัยโรคและการรักษาโรค

ข้อมูลนี้ไม่ใช่คำแนะนำจากแพทย์โดยตรง ควรปรึกษาแพทย์เพื่อขอรับขอมูลเพิ่มเติมอยู่เสมอ

การวินิจฉัยโรคมะเร็งอัณฑะ

การตรวจสอบหากก้อนเนื้อที่พบเป็น โรคมะเร็งอัณฑะ

  • การอัลตร้าซาวด์
  • การอัลตร้าซาวน์อัณฑะจะใช้คลื่นเสียงที่ช่วยสร้างภาพถุงอัณฑะและตัวอัณฑะขึ้นมา
  • การตรวจอัลตร้าซาวน์สามารถช่วยให้แพทย์ตรวจสอบธรรมชาติของก้อนเนื้อที่อัณฑะ ว่าก้อนเนื้อนั้นเป็นก้อนแข็งหรือมีของเหลวอยู่ภายใน
  • การตรวจเลือด แพทย์อาจทำการตรวจตามลำดับ เพื่อตรวจสอบระดับสารบ่งชี้มะเร็งของก้อนเนื้อในเลือด
  • การผ่าตัดเอาอัณฑะออก (การผ่าตัดอัณฑะ)

การตรวจสอบประเภทของมะเร็ง อัณฑะที่ตัดออกมาจะถูกนำไปวิเคราะห์เพื่อหาชนิดของ โรคมะเร็งอัณฑะ

การตรวจระยะของโรคมะเร็ง

  • การแสกนคอมพิวเตอร์
  • การตรวจเลือด

การรักษา โรคมะเร็งอัณฑะ

การผ่าตัด

  • อาจมีการผ่าตัดเพื่อนำเอาอัณฑะ และต่อมน้ำเหลืองบางส่วนออก เพื่อการวิเคราะห์และแบ่งระยะ เนื้องอกที่ได้แพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ในร่างกาย อาจถูกตัดออกบางส่วนหรือทั้งหมด
  • ผู้ป่วยบางรายอาจได้รับการใช้เคมีบำบัด หรือการฉายรังสีหลังการผ่าตัด เพื่อฆ่าเซลล์มะเร็งที่หลงเหลืออยู่

การฉายรังสี

  • การทำรังสีบำบัด นั้นเป็นวิธีรักษาโรคมะเร็งที่ใช้รังสีเอ็กซเรย์พลังสูง หรือรังสีชนิดอื่น ๆ ในการฆ่าเซลล์มะเร็งหรือป้องกันการเติบโต
  • การใช้รังสีบำบัดจากภายนอกเพื่อรักษาโรคมะเร็งอัณฑะ

การทำเคมีบำบัด

  • การทำเคมีบำบัดเป็นการรักษาโรคมะเร็งโดยใช้ยาต่าง ๆ เพื่อหยุดการเติบโตของเซลล์มะเร็ง ไม่ว่าจะเป็นการฆ่าเซลล์เหล่านั้น หรือการหยุดการแบ่งตัวของเซลล์

การเฝ้าดูอาการ

  • การเฝ้าดูอาการ คือการเฝ้าตามอาการของผู้ป่วยโดยไม่ให้การรักษาจนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงในผลการทดสอบ

การใช้เคมีบำบัดแบบเข้มข้นพร้อมการปลูกถ่ายเสต็มเซลล์

  • การใช้เคมีบำบัดแบบเข้มข้นพร้อมการปลูกถ่ายเสต็มเซลล์ คือ วิธีการให้เคมีบำบัดในระดับสูง และทดแทนเซลล์ที่โดนทำลายจากการรักษา

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเอง

การเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเองเพื่อจัดการกับโรคมะเร็งอัณฑะ

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเองดังต่อไปนี้ จะช่วยให้รับมือกับ โรคมะเร็งอัณฑะ ได้

  • ควรตรวจสอบอัณฑะหลังการอาบน้ำอุ่น เพราะความร้อนจากน้ำจะทำให้ถุงอัณฑะคลายตัว ซึ่งทำให้ง่ายต่อการหาสิ่งผิดปกติ
  • สังเกตอาการบวมที่ถุงอัณฑะ โดยส่องกระจก
  • ตรวจสอบอัณฑะแต่ละข้างด้วยมือทั้ง 2 ข้าง โดยนำนิ้วชี้และนิ้วกลางวางไว้ใต้อัณฑะ แล้ววางนิ้วโป้งไว้ด้านบน กลิ้งอัณฑะเบา ๆ ระหว่างนิ้วโป้งและนิ้วทั้งสอง
  • จำไว้ว่าอัณฑะนั้นโดยปกติแล้วจะนวล เป็นทรงไข่ และมีความแน่น หากอัณฑะข้างหนึ่งใหญ่กว่าอีกข้างนั้นถือเป็นเรื่องปกติ
  • นอกจากเส้นเลือดที่พาดเป็นเส้นขึ้นไปบริเวณส่วนบนของอัณฑะ (ก้านอัณฑะ) นั้นก็ถือเป็นส่วนที่ปกติของถุงอัณฑะ

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Testicular cancer. http://www.medicinenet.com/testicular_cancer/patient-comments-779.htm. Accessed February 18, 2017

Testicular cancer. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/testicular-cancer/basics/prevention/con-20043068. Accessed February 18, 2017

Testicular cancer. https://www.nhs.uk/conditions/testicular-cancer/. Accessed February 18, 2017

Testicular Cancer. https://www.urologyhealth.org/urology-a-z/t/testicular-cancer. Accessed June 14, 2021

Testicular Cancer: Symptoms and Signs. https://www.cancer.net/cancer-types/testicular-cancer/symptoms-and-signs. Accessed June 14, 2021

Testicular Cancer. https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/12183-testicular-cancer. Accessed June 14, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

20/10/2022

เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

การบริโภค อาหารออร์แกนิก ลดความเสี่ยงมะเร็ง ได้จริงหรือไม่

เป็นมะเร็งมีเซ็กส์ได้ไหม ควรปฏิบัติตัวอย่างไรเพื่อความปลอดภัย


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 20/10/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา