backup og meta

โรคมะเร็งที่พบได้ยาก มีอะไรบ้าง วิธีการรักษาเป็นอย่างไร

โรคมะเร็งที่พบได้ยาก มีอะไรบ้าง วิธีการรักษาเป็นอย่างไร

เมื่อพูดถึง “มะเร็ง” หลายคนคงรู้ดีว่า เป็นโรคที่เมื่อเป็นแล้วอาจจะรักษาหายได้ยาก หรือบางครั้งถ้าตรวจพบช้าก็สามารถคร่าชีวิตได้ มะเร็งนั้นมีอยู่หลายชนิดด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น มะเร็งปอด มะเร็งตับ หรือมะเร็งลำไส้ เป็นต้น นอกจากมะเร็งที่รู้จักกันดีอยู่แล้ว ยังมี โรคมะเร็งที่พบได้ยาก อยู่ด้วย ว่าแต่โรคมะเร็งที่พบได้ยากนั้นมีอะไรบ้าง ลองมาติดตามกัน

โรคมะเร็ง คืออะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร

โรคมะเร็ง (Cancer) คือ ภาวะที่เซลล์ในร่างกายมีการเปลี่ยนแปลง เซลล์มีการเจริญเติบโตมากขึ้นอย่างรวดเร็วจนไม่สามารถควบคุม และจำกัดขอบเขตได้ ทำให้มีการลุกลามเข้าอวัยวะข้างเคียง เช่น เข้าต่อมน้ำเหลือง และแพร่กระจายเข้าหลอดเลือด กระแสเลือด และหลอดน้ำเหลืองไปยังเนื้อเยื่อหรืออวัยวะต่าง ๆ ทั่วร่างกาย มะเร็งบางชนิดอาจไม่มีความผิดปกติของร่างกายใดๆ ให้เห็น ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดก็คือการการตรวจคัดกรอง (Screening For Cancer) เป็นการตรวจโรคในระยะต้น สาเหตุการเกิดนั้นยังไม่ระบุได้แน่ชัด ซึ่งอาจเกิดจากพันธุกรรม หรือการรับสารเคมี รวมไปถึงปัจจัยอื่น ๆ

โรคมะเร็งที่พบได้ยาก มีอะไรบ้าง 

สำหรับ โรคมะเร็งที่พบได้ยาก นั้นมีอยู่ด้วยกันหลายประเภท แต่มีเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่จะได้รับการวินิจฉัยว่า เป็นโรคมะเร็งชนิดหายากแต่ละประเภท สำหรับตัวอย่างของโรคมะเร็งที่พบได้ยาก ได้แก่

  1. มะเร็งจิสต์ (GIST) เป็นมะเร็งเนื้อเยื่ออ่อนชนิดหนึ่งที่เกิดบริเวณระบบทางเดินอาหาร ที่แตกต่างจากมะเร็งระบบทางเดินอาหารชนิดอื่นๆ
  2. มะเร็งกระดูกอีวิงซาร์โคม่า หรือมะเร็งกระดูกยูวิงซาร์โคม่า เป็นมะเร็งชนิดหายากที่ส่งผลต่อกระดูก หรือเนื้อเยื่อรอบกระดูก ส่วนใหญ่มักเริ่มต้นที่กระดูกขา และในกระดูกเชิงกราน แต่ก็สามารถเกิดขึ้นได้ในกระดูกส่วนใดก็ได้ ส่วนมากมักพบในวัยเด็ก และวัยรุ่น แต่ผู้ใหญ่ก็สามารถเป็นได้
  3. มะเร็งต่อมไทรอยด์ มะเร็งต่อมไทรอยด์เป็นมะเร็งชนิดหายากที่มีผลต่อต่อมไทรอยด์ ซึ่งเป็นต่อมขนาดเล็กที่โคนคอ สำหรับอาการที่สามารถพบได้ คือ ต่อมบวมที่คอ เสียงแหบโดยไม่ทราบสาเหตุ เจ็บคอเรื้อรัง และกลืนลำบาก
  4. มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟบลาสติกเฉียบพลัน (ALL) เซลล์ลิมโฟไซต์ที่ผิดปกติสะสมในต่อมน้ำเหลือง และยังสามารถแพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ เช่น ระบบประสาทส่วนกลาง ได้อีกด้วย
  5. มะเร็งช่องปาก เป็นหนึ่งในมะเร็งหลายชนิดที่จัดอยู่ในกลุ่มประเภทที่เรียกว่า “มะเร็งศีรษะและลำคอ”

การรักษาโรคมะเร็ง ทำอย่างไรบ้าง

  1. เคมีบำบัด ตัวเลือกนี้จะใช้ยาในการฆ่าเซลล์มะเร็ง และหยุดยั้งไม่ให้เติบโต โดยฉีดเข้าสู่กระแสเลือด ซึ่งแพทย์อาจใช้เคมีบำบัดมากกว่าหนึ่งชนิดในคราวเดียว หรือใช้ร่วมกับการผ่าตัด และการฉายรังสี
  2. การผ่าตัด เพื่อตัดเนื้อส่วนที่เป็นมะเร็งออกจากร่างกาย
  3. การฉายรังสี ทำลายเซลล์มะเร็งและทำให้เนื้องอกหดตัว

และการรักษาแบบอื่น ๆ ตามที่แพทย์เห็นสมควร กับการรักษาตามโรคมะเร็งชนิดนั้น ๆ ไม่ว่าจะเป็นมะเร็งทั่วไป หรือ โรคมะเร็งชนิดหายาก

การรักษามะเร็งนั้น ไม่ว่าจะเป็นมะเร็งอะไรก็ตามควรไปตามกำหนดที่แพทย์ได้ทำการนัดไว้ เพื่อให้แพทย์ติดตามผล และดูอาการข้างเคียงหลังรับการรักษา สิ่งสำคัญของการรักษา คือ ผู้ป่วยจำเป็นต้องดูแลตัวเองให้ดี ไม่ว่าจะเรื่องของอาหาร  สุขภาพต่าง ๆ รวมไปถึงกำลังใจที่ดี

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Ewing sarcoma. https://www.nhs.uk/conditions/ewing-sarcoma/. Accessed June 21, 2021

What Is Ewing’s Sarcoma?. https://www.webmd.com/cancer/ewings-sarcoma. Accessed June 21, 2021

What Is Cancer?. https://www.cancer.gov/about-cancer/understanding/what-is-cancer. Accessed June 21, 2021

Mouth cancer. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/mouth-cancer/symptoms-causes/syc-20350997. Accessed June 21, 2021

Rare cancers. https://www.macmillan.org.uk/cancer-information-and-support/rare-cancers. Accessed June 21, 2021

Gastrointestinal stromal tumor. https://medlineplus.gov/genetics/condition/gastrointestinal-stromal-tumor/. Accessed June 21, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

22/06/2021

เขียนโดย นนทกร บัณฑิตสินทรัพย์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

ทำความรู้จักกับ มะเร็งท่อน้ำดี โรคที่หลายคนอาจไม่ค่อยได้ยิน

เตรียมพร้อมทำความเข้าใจ มะเร็งกระดูกออสทีโอซาร์โคมา (Osteosarcoma)


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย นนทกร บัณฑิตสินทรัพย์ · แก้ไขล่าสุด 22/06/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา