backup og meta

ใครอยากรู้บ้างว่า วิธีรักษาเนื้องอกในสมอง มีกี่วิธี

ใครอยากรู้บ้างว่า วิธีรักษาเนื้องอกในสมอง มีกี่วิธี

เนื้องอก ไม่ว่าจะเกิดขึ้นที่ไหนก็เป็นสิ่งที่มนุษย์ให้ความวิตกกังวลต่าง ๆ นานา เนื้องอก (Tumor) เป็นการเติบโตผิดปกติของเนื้อเยื่อ โดยส่วนมากมักเกิดเป็นก้อนเนื้อ สามารถจำแนกเนื้องอกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ เนื้องอกไม่ร้าย เนื้องอกเฉพาะที่ เนื้องอกร้ายหรือที่เรียกว่ามะเร็ง และเนื้องอกที่มีพฤติกรรมไม่ชัดเจน โดยวันนี้เราจะพาไปทำความรู้จักกับ โรคเนื้องอกในสมอง และ วิธีรักษาเนื้องอกในสมอง

ทำความรู้จักกับสมอง

สมอง (Brain) คือ ส่วนที่มีความซับซ้อนที่สุดของร่างกาย โดยสมองมีความสำคัญที่ทำให้มนุษย์เราสามารถดำรงชีวิตเพื่อการอยู่รอดมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งสมองนั้นประกอบด้วยเซลล์จำนวนนับแสนล้านขนาด น้ำหนักของสมองเทียบเท่า 3 ปอนด์ หรืออยู่ที่ประมาณ 1,300-1,400 กรัม สมองของคนเรานั้นมีขนาดไม่เท่ากัน แตกต่างกันออกไปตามแต่ละบุคคล โดยสมองแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ สมองส่วนหน้า สมองส่วนกลาง และสมองส่วนหลัง ซึ่งในแต่ละส่วนก็จะสามารถแบ่งแยกออกไปได้อีก สมองถือเป็นอัญมณีที่มีค่าในร่างกายของเรา เพราะมีหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหว ด้านพฤติกรรม และอื่น ๆ อีกมากมายไม่ว่าจะเป็น อารมณ์ ความทรงจำ ฯลฯ

โรคเนื้องอกในสมอง คืออะไร

เนื้องอกในสมอง คือ การเจริญเติบโตผิดปกติของเซลล์ในสมอง ส่งผลกระทบต่อการทำงานของระบบสมองและประสาท ทำให้เกิดอาการต่าง ๆ เช่น ปวดหัว คลื่นไส้ อาเจียน มองเห็นภาพไม่ชัด โรคเนื้องอกในสมอง นั้นมีหลายประเภท ซึ่ง โรคเนื้องอกในสมอง บางชนิดไม่เป็นมะเร็ง และ โรคเนื้องอกในสมอง บางชนิดสามารถกลายเป็นมะเร็ง

สาเหตุการเกิดเนื้องอกในสมอง

สาเหตุของเนื้องอกนั้นยังไม่ชัดเจน แต่แพทย์ได้ระบุถึงปัจจัยบางอย่างที่สามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเป็น โรคเนื้องอกในสมอง ได้แก่

  • การสัมผัสกับรังสี หรือสารเคมีเป็นระยะเวลาที่นาน
  • ประวัติครอบครัวเป็น โรคเนื้องอกในสมอง
  • โรคทางพันธุกรรมที่เพิ่มความเสี่ยงเป็น โรคเนื้องอกในสมอง

การวินิจฉัย โรคเนื้องอกในสมอง

แพทย์จะเริ่มต้นด้วยการถามคำถามเกี่ยวกับอาการ สุขภาพโดยรวม รวมไปถึงประวัติสุขภาพของครอบครัว จากนั้นพวกเขาจะทำการตรวจร่างกายรวมทั้งตรวจระบบประสาท หากสงสัยว่าเป็นเนื้องอกในสมอง แพทย์จะทำการทดสอบอย่างน้อยหนึ่งอย่างต่อไปนี้

วิธีรักษาเนื้องอกในสมอง 

การรักษาแพทย์จะดูหลายปัจจัย ไม่ว่าขนาด ชนิด หรือระดับของเนื้องอก รวมไปถึงเนื้องอกไปกดทับส่วนสำคัญของสมองหรือไม่ โดยวิธีการรักษามีดังต่อไปนี้:

  • ศัลยกรรม คือ การผ่าตัดโดยการกำจัดเนื้องอก และเนื้อเยื่อที่มีสุขภาพดีโดยรอบ เป็นเพียงการรักษาสำหรับเนื้องอกในสมองระดับแรก
  • การรักษาด้วยรังสี คือการใช้รังสีเอกซ์ เพื่อทำลายเซลล์เนื้องอก
    • การรักษาด้วยรังสีแบบธรรมดา เทคนิคนี้เหมาะ สำหรับการกำหนดเป้าหมายที่มีความแม่นยำยิ่งขึ้น
    • การฉายรังสีแบบ 3 มิติ (3D-CRT) เป็นการฉายรังสีจากภายนอก สามารถให้ปริมาณรังสีสูงเฉพาะในรอยโรค และลดรังสีที่จะถูกกระทบในเนื้อเยื่อที่ดี
    • การบำบัดด้วยรังสีปรับความเข้ม (IMRT) เป็นเทคนิคที่มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น เพื่อให้ปริมาณรังสีครอบคลุมอยู่เฉพาะตัวก้อนมะเร็งเท่านั้น เนื้อเยื่อปกติที่อยู่เคียงข้างจะได้รับปริมาณรังสีที่น้อยลงกว่าแบบ 3 มิติ
    • การบำบัดด้วยโปรตอน โปรตอนเป็นอนุภาคย่อยที่มีประจุบวกที่สามารถจัดการ ควบคุมเพื่อหยุดและส่งรังสีตรงไปที่ก้อนเนื้องอก

เป็นเรื่องปกติที่คนเราจะรู้สึกกลัว วิตกจริต เกี่ยวกับการวินิจฉัย โรคเนื้องอกในสมอง แต่คุณสามารถรับมือได้ด้วยการพูดคุยกับแพทย์ และปรึกษาเกี่ยวกับ วิธีรักษาเนื้องอกในสมอง ถึงแม้โรคเนื้องอกในสมองจะยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดที่แน่ชัด และไม่รู้วิธีการป้องกันไม่ให้เกิดได้ แต่เราก็สามารถหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดเซลล์มะเร็งได้

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Brain tumor. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/brain-tumor/symptoms-causes/syc-20350084. Accessed June 17, 2021

UNDERSTANDING BRAIN TUMORS. https://braintumor.org/brain-tumor-information/understanding-brain-tumors/. Accessed June 17, 2021

Brain Basics: Know Your Brain. https://www.ninds.nih.gov/Disorders/Patient-Caregiver-Education/Know-Your-Brain. Accessed June 17, 2021

What is a Brain Tumor?. https://www.webmd.com/cancer/brain-cancer/brain-tumors-in-adults. Accessed June 17, 2021

Brain Tumor: Types of Treatment. https://www.cancer.net/cancer-types/brain-tumor/types-treatment Accessed June 17, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

21/06/2021

เขียนโดย นนทกร บัณฑิตสินทรัพย์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

ภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดเนื้องอกในสมอง อันตรายหรือไม่

รับมืออย่างไร เมื่อรู้ว่าตัวเอง เป็นโรคเนื้องอกในสมอง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย นนทกร บัณฑิตสินทรัพย์ · แก้ไขล่าสุด 21/06/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา