backup og meta

ความเสี่ยงของศัลยกรรม ที่คุณควรรู้ก่อนเสริมความสวย

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    ความเสี่ยงของศัลยกรรม ที่คุณควรรู้ก่อนเสริมความสวย

    ปัจจุบันนี้การทำศัลยกรรม นอกจากจะทำให้เกิดความสวยงามแล้ว ยังช่วยแก้ไขข้อบกพร่องหรือความผิดปรกติบางอย่างที่อาจเกิดขึ้นกับแต่ละบุคคลได้อีกด้วย แต่ก่อนจะตัดสินใจทำศัลยกรรม นอกจากการศึกษาละเอียดแล้ว การรู้ถึง ความเสี่ยงของศัลยกรรม ก่อนที่จะเข้ารับการศัลยกรรม ก็ถือเป็นเรื่องที่ควรจะต้องรู้เอาไว้ ซึ่งทาง Hello คุณหมอ มีเรื่องนี้มาฝากกัน

    ประเภทของศัลยกรรม ที่หลายคนอาจยังไม่รู้

    เป้าหมายหลักของการศัลยกรรมเสริมความงาม ก็คือ การปรับปรุงรูปลักษณ์ของแต่ละบุคคล ซึ่งมันสามรถช่วยเพิ่มความนับถือตัวเอง และความมั่นใจในตัวเองให้แต่ละบุคคลได้อีกด้วย ซึ่งการทำศัลยกรรมความงามนั้น สามารถทำได้ทุกส่วนบนใบหน้าและร่างกาย ซึ่งประเภทศัลยกรรม สามารถแบ่งได้ดังนี้

    ประเภทของการศัลยกรรมเสริมความงามสำหรับใบหน้า

    • โบท็อกซ์
    • ยกแก้ม (Cheek lift)
    • การลอกหน้าด้วยสารเคมี (Chemical peeling)
    • ศัลยกรรมคาง
    • ทันตกรรมความงาม
    • การขัดผิวหนังเพื่อรักษาแผลเป็น (Dermabrasion)
    • ยกกระชับคิ้ว หรือยกกระชับหน้าผาก
    • ตัดปีกจมูก
    • ผ่าตัดเปลือกตา
    • ยกกระชับใบหน้า (Face-lift)
    • ปรับเปลี่ยนโครงใบหน้า (Facial contouring)
    • เติมฟิลเลอร์บนใบหน้า
    • รักษาริ้วรอยบนใบหน้า
    • กำจัดขนด้วยเลเซอร์
    • ผลัดเซลล์ผิวด้วยเลเซอร์
    • ยกกระชับผิวบริเวณคอ
    • ผ่าตัดหูเพื่อปรับแก้ตำแหน่ง
    • ผ่าตัดเสริมจมูก
    • แก้ไขปัญหาผิว เช่น สิว ริ้วรอย รอยแผลเป็น กำจัดรอยสัก
    • รักษาริ้วรอยต่าง ๆ

    ประเภทของการศัลยกรรมเสริมความงามสำหรับร่างกาย

    • ลดหน้าท้อง
    • ยกกระชับแขน
    • ดูดไขมัน
    • เสริมหน้าอก
    • ยกกระชับหน้าอก
    • ลดขนาดหน้าอก
    • ยกสะโพก
    • กำจัดขนด้วยเลเซอร์
    • ยกกระชับต้นขาด้านใน
    • ยกกระชับลำตัว

    ความเสี่ยงของศัลยกรรม ที่อาจขึ้นกับคุณมีอะไรบ้าง

    แน่นอนว่าแม้ศัลยกรรมต่าง ๆ จะทำให้คุณสวยขึ้นหลังจากการทำเสร็จเรียบร้อยแล้ว แต่บางครั้งมันก็อาจจะมาพร้อมกับความเสี่ยง ซึ่งคุณอาจจะจำเป็นต้องรู้ก่อนจะเข้ารับการทำศัลยกรรม เพื่อประกอบการตัดสินใจ ซึ่งความเสี่ยงที่สามารถเกิดขึ้นได้มีดังนี้

    • ห้อเลือด

    ห้อเลือด เป็นเลือดที่มีลักษณะคล้ายรอยช้ำขนาดใหญ่ ทั้งยังทำให้รู้สึกเจ็บปวดอีกด้วย ความจริงแล้วมันจะเกิดขึ้นได้เพียง 1% เท่านั้น ในขั้นตอนของการเสริมหน้าอก นอกจากนี้มันยังเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยสุดหลังจากได้รับการศัลยกรรมไปแล้ว โดยมีผู้ป่วยเฉลี่ย 1% โดยมักจะเกิดขึ้นในเพศชายมากกว่าเพศหญิง

    ความจริงแล้ว ห้อเลือดถือเป็นความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในการผ่าตัดทั้งหมด สำหรับการรักษาห้อเลือดที่เกิดขึ้นก็คือ การระบายเลือดออก หากห้อเลือดมีขนาดใหญ่ หรือเติบโตอย่างรวดเร็ว ซึ่งขั้นตอนการรักษานี้ต้องทำในห้องผ่าตัดนั่นเอง

    • ผลลัพธ์ที่อาจออกมาไม่ดี

    นี่ถือเป็นความกลัวที่ยิ่งใหญ่ที่สุดสำหรับผู้ที่เข้ารับการทำศัลยกรรมเลยก็ว่าได้ เพราะการทำศัลยกรรม เปรียบเสมือนการลงทุน ที่อาจนำมาซึ่งความเสี่ยง ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นอาจจะทำให้เกิดความล้มเหลวในด้านการแก้ไขหรือปรับปรุงรูปลักษณ์ แต่ที่แย่ไปกว่านั้นคือมันอาจจะทำให้สิ่งที่ปรากฏหลังทำศัลยกรรมแย่ลงกว่าตอนก่อนผ่าตัดก็เป็นได้

    • อาการน้ำคั่งใต้ผิว (Seroma)

    อาการน้ำคั่งใต้ผิวนั้นสามารเกิดขึ้นได้หลังจากได้รับการผ่าตัดแทบทุกชนิด และเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยที่สุดหลังจากการเข้ารับผ่าตัดดึงหน้าท้อง (Tummy Tuck) ประมาณร้อยละ 15 ถึงร้อยละ 30 อาการนี้สามารถติดเชื้อได้จากการใช้เข็มฉีดยานั่นเอง แม้อาการนี้จะสามารถรักษาให้หายได้ แต่มันก็มีโอกาสที่จะเกิดขึ้นได้อีกเช่นกัน

    • แผลเป็น

    เป็นอีกหนึ่งความเสี่ยงที่ยิ่งใหญ่มาก ๆ สำหรับผู้ที่เข้ารับการทำศัลยกรรม เนื่องจากบางครั้งมันไม่สามารถคาดเดาได้เลยว่า เมื่อผลลัพธ์ออกมาแล้ว มันจะมีรอยแผลเป็นเกิดขึ้นให้เห็นหรือไม่ แต่คุณสามารถลดความเสี่ยงเรื่องรอยแผลเป็นได้ด้วยการไม่สูบบุหรี่ เลือกทานอาหารที่ดีและมีประโยชน์หลังจากการผ่าตัด และทำตามคำแนะนำของแพทย์ในระหว่างที่กำลังพักฟื้น

    • ความเสียหายของระบบเส้นประสาท หรือเกิดอาการชา

    ในการทำศัลยกรรมบางกรณี เส้นประสาทอาจได้รับความเสียหายหรือถูกตัดในระหว่างขั้นตอนการผ่าตัดก็เป็นได้ ซึ่งบริเวณที่มักจะเห็นได้ชัดเจนก็คือเส้นประสาทใบหน้า เมื่อเส้นประสาทได้รับบาดเจ็บหรือได้รับความเสียหาย มันจะส่งผลให้ผู้ที่รับการทำศัลยกรรมไม่สามารถแสดงออกทางสีหน้า หลบตา หรือแสดงออกทางปากได้

    ความเสียหายของเส้นประสาทส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นชั่วคราว แต่ในบางกรณีก็อาจเกิดขึ้นอย่างถาวรได้เช่นกัน โดยส่วนใหญ่แล้ว มักจะเกิดขึ้นกับผู้ที่ทำศัลยกรรมเสริมหน้าอก โดยร้อยละ 15 พบว่า มีการเปลี่ยนแปลงอย่างถาวรของความรู้สึกบริเวณหัวนม

    • การเสียเลือด

    การเสียเลือดระหว่างการผ่าตัดนั้นสามารถเกิดขึ้นได้กับการผ่าตัดทุกๆ กรณี อย่างไรก็ตามการสูญเสียเลือดที่มากจนเกินไปและไม่สามารถควบคุมได้ จะส่งผลไปยังการลดลงของความดันโลหิต ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต

    • การติดเชื้อ

    แม้ว่าการดูแลหลังจากได้รับการผ่าตัด รวมถึงขั้นตอนในการผ่าตัดจะช่วยลดความเสี่ยงของการติดเชื้อ แต่ก็ยังเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยในการทำศัลยกรรมพลาสติก บางครั้งการติดเชื้ออาจจะเกิดขึ้นภายในร่างกายและมีอาการที่รุนแรง จนอาจต้องให้ยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือดดำ เพื่อรักษาอาการที่เกิดขึ้น

    • เนื้อร้าย

    การตายของเนื้อเยื่ออาจเกิดขึ้นจากการผ่าตัด หรือหลังจากขั้นตอนการผ่าตัดได้เสร็จสิ้นแล้ว การรักษาเนื้อร้ายที่เกิดขึ้นนั้นสามารถรักษาให้หายได้ด้วยการเอาเนื้อเยื่อที่ตายแล้วออกจากบริเวณแผล

    ภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำลึก (Deep Vein Thrombosis หรือ DVT) เป็นภาวะที่ลิ่มเลือดก่อตัวในหลอดเลือดดำลึก ปกติมักจะอยู่บริเวณขา เมื่อการอุดตันเหล่านี้แตกออกและเดินทางไปยังปอด มันจะเป็นที่รู้จักในชื่อ โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด (Pulmonary Embolism) ซึ่งภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้มักเกิดขึ้นเพียงร้อยละ 0.09 ของผู้ป่วยทั้งหมดที่เข้ารับการทำศัลยกรรม แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้วมันอาจเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้

    • ภาวะแทรกซ้อนจากการดมยาสลบ

    ผู้ป่วยส่วนใหญ่ทักจะตอบสนองต่อการดมยาสลบได้ไม่ยาก แต่ภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับการดมยาสลบ ก็เป็นอีกสาเหตุของการเสียชีวิตจากการศัลยกรรมเพื่อความงาม แม้ความเสี่ยงจะมีน้อยมาก แต่มันก็อาจจะเกิดขึ้นได้ และการดมยาสลบก่อนทำศัลยกรรมก็ยังเป็นกระบวนการที่จำเป็นอยู่

    • เสียชีวิต

    ความจริงแล้วการผ่าตัดทุกครั้งมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตทั้งนั้น แต่ความเสี่ยงนั้นอาจจะน้อยกว่า 1% นอกจากนั้นการเสียชีวิตก็อาจจะเกิดขึ้นในระหว่างการผ่าตัดก็เป็นได้

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัย หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา