ปัจจุบันนี้ ปัจจัยการเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งต่าง ๆ นั้นมีมากมาย ถึงแม้จะยังไม่สามารถระบุได้อย่างแน่ชัดว่าอะไร คือสาเหตุหลักของการเกิดโรคมะเร็ง แต่คุณจะทำอย่างไรหากรู้ว่าครอบครัว เพื่อน หรือคนรู้จักเป็นโรคมะเร็ง คุณสามารถช่วยอะไรได้บ้างนะ แล้วหากคุณเป็นคนที่พูดไม่เก่ง แต่อยาก ให้กำลังใจผู้ป่วยมะเร็ง ควรเริ่มต้นอย่างไรดี พร้อมกับวิธีการดูแลตนเองหลังป่วยเป็นโรคมะเร็งแบบคร่าว ๆ
[embed-health-tool-bmr]
มะเร็ง คืออะไร
โรคมะเร็ง (Cancer) สามารถพบได้ในทุกเพศทุกวัย ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงผู้สูงอายุ โดยเกิดจากการมีเซลล์ผิดปกติในร่างกาย และเซลล์เหล่านี้มีการเจริญเติบโตรวดเร็วเกินปกติ จนร่างกายไม่สามารถควบคุมได้ ส่งผลให้เซลล์ปกติของเนื้อเยื่อ และอวัยวะต่าง ๆ ล้มเหลว ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ โรคมะเร็งมีหลากหลายชนิดขึ้นอยู่กับตำแหน่งของจุดกำเนิดของโรค ถ้าเซลล์พวกนี้เกิดอยู่ในอวัยวะใดจะ เรียกชื่อมะเร็งตามอวัยวะนั้น เช่น มะเร็งปอด มะเร็งตับ
วิธี ให้กำลังใจผู้ป่วยมะเร็ง
การให้กำลังใจผู้ป่วยมะเร็ง สิ่งหนึ่งที่เราต้องคำนึงถึงเป็นพิเศษ ก็คือ การใช้คำพูดในการสื่อสาร เพราะบางคำพูดของเราในบางครั้งก็ถือเป็นการให้กำลังใจ แต่ในทางกลับกันบางคำพูด ก็สามารถบั่นทอนจิตใจผู้ป่วยมะเร็งได้ในเวลาเดียวกัน สำหรับวิธี การให้กำลังใจผู้ป่วยมะเร็ง มีดังนี้
- ฉันห่วงใยคุณ และคุณยังฉันอยู่ตรงนี้
- เคารพความเป็นส่วนตัวของผู้ป่วย แต่ก็ต้องหมั่นให้ความสนใจ และดูแลพูดคุยกับผู้ป่วย
- พูดคุยเกี่ยวกับหัวข้ออื่นที่ไม่ใช่มะเร็ง เช่น ถามเกี่ยวกับความสนใจ งานอดิเรก หนังที่ชื่นชอบ
- พร้อมรับฟังทุกเรื่องที่ผู้ป่วยต้องการจะพูด และไม่ตัดสินใจอะไรแทนผู้ป่วย
- ให้ความช่วยเหลือในทางปฏิบัติ เช่น การทำอาหาร ช่วยเหลือด้านงานบ้าน
- เพื่อน และครอบครัวควรปฏิบัติต่อผู้ป่วยเหมือนเดิม และพยายามไม่ทำให้บรรยากาศรอบตัวหม่นหม่องลง พยายามหากิจกรรมที่สนุกสนานที่ผู้ป่วยสามารถร่วมทำได้
- พยายามพาผู้ป่วยออกไปหาบบรรยากาศใหม่ ๆ เพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกไม่อุดอู้
สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่ การให้กำลังใจผู้ป่วยมะเร็ง
- ฉันรู้ว่าคุณรู้สึกอย่างไร
- ฉันรู้จักคนที่เป็นโรคเดียวกัน คือ ไม่ควรเปรียบเทียบปัญหาของผู้ป่วยกับคนอื่นที่เป็นมะเร็งเหมือนกัน
- ฉันแน่ใจว่าคุณจะสบายดี
- คุณแข็งแกร่ง คุณสามารถเอาชนะสิ่งนี้ได้แน่นอน
- ไม่ถามหาเหตุผล หรือสาเหตุที่ในการเกิดโรคมะเร็ง
- ดูไม่โทรมเลยนะ ไม่เหมือนคนป่วยเลย ไม่ต้องกังวลหรอก เดี๋ยวก็หายแล้ว
- คุณมีเวลาอีกนานแค่ไหน? เป็นคำถามที่ไม่ควรถาม เพราะอาจจะยิ่งเป็นการบั่นทอนกำลังใจ และจิตใจผู้ป่วยได้
วิธีการดูแลตัวเองหลังเป็นมะเร็ง
- การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่น ผัก ผลไม้ โปรตีนไร้มัน อาหารโฮลเกรน เพราะมีคุณค่าทางอาหารดีกว่า และมากกว่าอาหารขยะ
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และเป็นประจำอย่างน้อย 30 นาที/วัน และไม่ควรออกกำลังอย่างหักโหม
- หาเวลาพักผ่อน รวมไปถึงการหากิจกรรมที่ทำให้คุณผ่อนคลาย
- เตรียมพร้อมรับมือกับผลข้างเคียงหลังจากการรักษามะเร็ง
- การพูดคุยกับครอบครัว เพื่อนฝูง เป็นการเปิดใจที่สามารถช่วยให้คุณจัดการกับความรู้สึกต่าง ๆ ได้ และรู้สึกไม่ได้โดดเดี่ยว
- การรักษาสุขอนามัยเป็นสิ่งที่สำคัญต่อสุขภาพ
- จำไว้ว่าคุณทำดีที่สุดแล้ว อย่ารู้สึกผิดกับสิ่งที่คุณได้ผิดพลาดไปแล้ว เพราะไม่มีใครสมบูรณ์แบบ 100 %
การรักษามะเร็งเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาอยู่พอสมควร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับกำลังใจของผู้ป่วยด้วยว่า มีกำลังใจมากน้อยเพียงใด เพราะถ้าหากผู้ป่วยมีกำลังใจที่ไม่ดี ก็อาจจะทำให้การรักษาล่มเหลวได้ เนื่องจากผู้ป่วยไม่ให้ความร่วมมือ ดังนั้น การให้กำลังใจคือสิ่งสำคัญ ซึ่ง การให้กำลังใจผู้ป่วยมะเร็ง นั้นมีหลายวิธี ที่ไม่ใช่พูดเพียงคำว่า…สู้ๆ เดี๋ยวก็หาย