backup og meta

ฉีดอินซูลินตอนไหน จึงได้ผลดีต่อสุขภาพผู้ป่วยเบาหวาน

ฉีดอินซูลินตอนไหน จึงได้ผลดีต่อสุขภาพผู้ป่วยเบาหวาน

ฉีดอินซูลินตอนไหน อาจเป็นคำถามที่ผู้ป่วยเบาหวานหลายคนสงสัย ซึ่งผู้ป่วยเบาหวานบางรายจำเป็นต้องยาฉีดอินซูลินทดแทน เพื่อช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ให้สูงเกินไป เนื่องจากตับอ่อนผลิตอินซูลินได้น้อยกว่าปกติหรืออาจไม่ได้เลย จึงจำเป็นต้องฉีดอินซูลินทดแทนให้ทำหน้าที่เสมือนฮอร์โมนอินซูลินที่ร่างกายผลิตเอง สำหรับช่วงเวลาที่เหมาะสมในการฉีดอินซูลินขึ้นอยู่กับชนิดของอินซูลินที่ใช้ ซึ่งคุณหมอจะกำหนดให้ตามอาการและภาวะสุขภาพของแต่ละบุคคล หากใช้อินซูลินชนิดออกฤทธิ์เร็ว ควรฉีดก่อนมื้ออาหาร 5-15 นาที เพราะอินซูลินชนิดนี้จะออกฤทธิ์ภายใน 15 นาที หากใช้อินซูลินชนิดออกฤทธิ์สั้น ควรฉีดก่อนมื้ออาหารราว ๆ 30 นาที เพราะอินซูลินชนิดนี้จะเริ่มออกฤทธิ์ภายใน 30 นาที

[embed-health-tool-bmi]

อินซูลินคืออะไร ทำไมต้องฉีดอินซูลิน

อินซูลิน เป็นฮอร์โมนชนิดหนึ่ง ซี่งผลิดจากตับอ่อน มีหน้าที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติ โดยจะช่วยให้เซลล์ต่าง ๆ นำน้ำตาลในกระเเสเลือดเข้าสู่ภายในเซลล์ เเละเผาผลาญเป็นพลังงาน รวมถึงนำน้ำตาลส่วนเกินไปสะสมไว้ที่ตับในรูปแบบของไกลโคเจน (Glycogen) เพื่อเป็นเเหล่งพลังงานสำรอง

ในผู้ป่วยเบาหวาน ตับอ่อนสามารถผลิตอินซูลินได้ลดลง ส่งผลให้การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดบกพร่อง ร่างกายจึงมีระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงกว่าปกติ ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพได้

ดังนั้น ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ใช้ยารับประทานเเล้วยังควบคุมเบาหวานไม่ได้ หรือ ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 คุณหมอจะให้ใช้ยาฉีดอินซูลินทดแทน เพื่อทำหน้าที่เสมือนฮอร์โมนอินซูลินที่ผลิตจากตับอ่อน เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

อินซูลินทดแทนสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ในปัจจุบันจะเป็นชนิดยาฉีด เเต่อย่างไรก็ตามได้มีการพัฒนาอินซูลินในรูปเเบบอื่นด้วย เช่น ยารับประทาน ยาสำหรับสูด เเต่ยังไม่เป็นที่เเพร่หลายนัก
นอกจากนี้ การใช้ยาฉีดอินซูลินในผู้ป่วยเแต่ละรายจะแตกต่างกัน ทั้งในแง่ของปริมาณอินซูลินและชนิดของอินซูลิน โดยขึ้นอยู่กับระดับน้ำตาลในเลือด โรคร่วมของผู้ป่วย รวมถึงแผนการรักษาของคุณหมอ เพื่อให้การฉีดอินซูลินมีประสิทธิภาพและปลอดภัย ผู้ป่วยควรปฏิบัติตามคำแนะนำของคุณหมออย่างเคร่งครัด

อุปกรณ์ที่ใช้ในการ ฉีดอินซูลิน

ในการฉีดอินซูลินจะเป็นการฉีดยาเข้าที่ชั้นไขมันใต้ผิวหนัง ผู้ป่วยเบาหวานจึงควรฉีดอินซูลินบริเวณหน้าท้อง สะโพก หรือก้น เพื่อให้อินซูลินค่อย ๆ ถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด และออกฤทธิ์ลดระดับน้ำตาล โดยอุปกรณ์ที่ใช้ในการฉีดอินซูลินมีหลายรูปเเบบ ได้แก่

  • เข็มฉีดยา/ไซริงค์ (Syringe)  โดยผู้ป่วยเบาหวานจะใช้ไซริงค์ดูดอินซูลินจากขวดเข้าสู่ไซริงค์ ในปริมาณที่คุณหมอกำหนด แล้วค่อย ๆ ฉีดอินซูลินเข้าสู่ร่างกาย
  • ปากกา เป็นชุดอุปกรณ์รูปร่างคล้ายด้ามปากกา ภายในมีหลอดแก้วที่บรรจุอินซูลินไว้สำหรับฉีด ตรงปลายด้านหนึ่งของปากกาจะไว้ประกอบกับชุดหัวเข็ม ส่วนอีกด้านจะไว้สำหรับปรับเลือกปริมาณอินซูลินที่ต้องการด้าน  
  • อินซูลิน ปั๊ม (Insulin Pump) เป็นเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ทางการแพทย์จะมีส่วนปลายเข็มเล็ก ๆ ฝังติดตัวผู้ป่วยเบาหวานไว้ตลอดเวลา มีลักษณะเป็นกล่องสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดเล็กภายในบรรจุอินซูลินไว้ โดยอินซูลิน ปั๊มจะถูกตั้งโปรแกรมให้จ่ายอินซูลินเข้าสู่ร่างกายผู้ป่วยทีละน้อยตลอดเวลา และเพิ่มมากขึ้นเมื่อถึงมื้ออาหารเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ได้ตามเป้าหมายตลอดเวลา

ฉีดอินซูลินตอนไหน ให้ผลดีต่อผู้ป่วยเบาหวาน

โดยทั่วไปยาฉีดอินซูลินมักใช้ฉีดตอนก่อนมื้ออาหาร เพื่อช่วยควบคุมระดับน้ำในเลือดที่สูงขึ้นหลังจากรับประทานอาหาร โดยช่วงเวลาฉีดอินซูลินของผู้ป่วยเบาหวานแต่ละราย อาจแตกต่างกันไปตามระยะเวลาในการออกฤทธิ์ของอินซูลินแต่ละชนิดตามคุณหมอแนะนำ โดยชนิดของอินซูลินแบ่งได้ ดังนี้

  • อินซูลินชนิดออกฤทธิ์เร็ว (Rapid-acting Insulin)  เริ่มออกฤทธิ์ภายในไม่กี่นาที หลังจากฉีด และออกฤทธิ์นาน 3-5 ชั่วโมง ควรฉีดยาก่อนมื้ออาหาร 5-15 นาที มักใช้ร่วมกับอินซูลินที่ออกฤทธิ์นาน
  • อินซูลินชนิดออกฤทธิ์สั้นหรือปกติ (Regular or Short-acting Insulin) ออกฤทธิ์เต็มที่หลังฉีดประมาณ 30 นาที และออกฤทธิ์นาน 5-8 ชั่วโมง ควรฉีดยาก่อนมื้ออาหาร 30 นาที
  • อินซูลินชนิดออกฤทธิ์ปานกลาง (Intermediate-acting Insulin)  ออกฤทธิ์ภายใน 2-4 ชั่วโมงหลังฉีด และออกฤทธิ์นาน 10-18 ชั่วโมง อาจใช้วันละ 1-2 ครั้ง ขึ้นกับผู้ป่วยเเต่ละราย เเละ มักใช้ร่วมกับอินซูลินที่ออกฤทธิ์สั้น
  • อินซูลินชนิดออกฤทธิ์นาน (Long-acting Insulin) เริ่มออกฤทธิ์ภายใน 1-2 ชั่วโมงหลังฉีด และออกฤทธิ์ต่อเนื่องยาวนาน 24 ชั่วโมง จึงใช้วันละครั้ง มักใช้ร่วมกับอินซูลินที่ออกฤทธิ์เร็วหรือสั้น

ฉีดอินซูลิน มีผลข้างเคียงอย่างไร

การฉีดอินซูลิน อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงในผู้ป่วยเบาหวาน ดังต่อไปนี้

  • เกิดอาการคัน บวม แดง หรือรอยช้ำ ที่ผิวหนังตำเเหน่งที่ฉีดอินซูลิน
  • ผิวหนังบริเวณที่ฉีดหนาตัวขึ้นเป็นไต ซึ่งอาจพบได้หากฉีดยาที่ตำเเหน่งเดิมซ้ำ ๆ
  • น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น
  • อาการแพ้อินซูลิน อาจเกิดผื่นคันตามร่างกาย หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็ว 
  • น้ำตาลในเลือดต่ำ จากการฉีดยาอินซูลินมากเกินไป ทำให้มีอาการ มือสั่น เวียนศีรษะ สับสน สายตาพร่าเบลอ หรืออยากอาหารมากเป็นพิเศษ

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

https://pharm.tu.ac.th/uploads/pharm/pdf/articles/pocketbook%20edit2.pdf. Accessed July 6, 2020

Human Insulin Injection. https://medlineplus.gov/druginfo/meds/a682611.html. Accessed July 6, 2020

รู้ลึก รู้จริง “อินซูลิน”. https://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=778. Accessed July 6, 2020

What is diabetic retinopathy?. https://www.nei.nih.gov/learn-about-eye-health/eye-conditions-and-diseases/diabetic-retinopathy. Accessed July 6, 2020

ยาฉีดอินซูลินสำคัญอย่างไรกับผู้ป่วยเบาหวาน. https://sriphat.med.cmu.ac.th/th/knowledge-802#:~:text=%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%89%E0%B8%B5%E0%B8%94%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%8B%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1,%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%94%E0%B8%B1%E0%B8%9A. Accessed July 6, 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

16/03/2023

เขียนโดย ธนชาติ จึงแย้มปิ่น

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงบุรัสกร ทวีบูรณ์

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

อินซูลิน คืออะไร เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวานอย่างไร

การฉีดอินซูลิน ฉีดอย่างไร มีผลข้างเคียงอะไรบ้าง


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงบุรัสกร ทวีบูรณ์

โรคเบาหวาน · SRK BMI Center


เขียนโดย ธนชาติ จึงแย้มปิ่น · แก้ไขล่าสุด 16/03/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา