backup og meta

เบาหวาน เท้าดำ รักษาอย่างไร ป้องกันได้หรือไม่

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงบุรัสกร ทวีบูรณ์ · โรคเบาหวาน · SRK BMI Center


เขียนโดย ธนชาติ จึงแย้มปิ่น · แก้ไขล่าสุด 28/02/2023

    เบาหวาน เท้าดำ รักษาอย่างไร ป้องกันได้หรือไม่

    เบาหวาน เท้าดำ เป็นภาวะเเทรกซ้อนหนึ่งของผู้ป่วยเบาหวานที่ปล่อยให้มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเป็นระยะเวลานานจนทำให้หลอดเลือดตีบหรือเกิดการอุดตันเลือด ส่งผลให้เลือดไหลเวียนไปทีเท้าได้น้อยกว่าปกติ เป็นสาเหตุให้เนื้อเยื่อบางส่วนขาดเลือดเเละตาย เท้าจึงมีอาการดำและคล้ำลงในที่สุด ล อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยเบาหวานอาจป้องกันเท้าดำได้ ด้วยการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ให้สูงเกินไป และหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ เพราะสารนิโคตินในบุหรี่ทำให้หลอดเลือดตีบเเคบเเละเสื่อมได้มากขึ้นกว่าเดิม

    เบาหวาน ทำให้เท้าดำได้อย่างไร

    ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ปล่อยให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเรื้อรังเป็นเวลานานอาจส่งผลให้เส้นประสาทบริเวณเท้าเสียหาย จึงทำให้มีอการเท้าชา ไม่สามารถรับความรู้สึกได้เป็นปกติ จึงอาจทำให้เกิดเเผลที่เท้าได้โดยไม่ทันรู้ตัว ซึ่งนับเป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อเข้าสู่ร่างกายเเละเกิดภาวะเเทรกซ้อนได้ง่ายขึ้น เนื่องจากเมื่อเกิดบาดแผลหรือมีรอยขีดข่วน ผู้ป่วยมักไม่รู้สึกเจ็บจึงทำให้รู้ตัวช้า กว่าจะทราบว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้น แผลอาจมีการติดเชื้อลุกลามและตายเน่ากลายเป็นอาการเท้าดำมากเเล้ว

    นอกจากนี้ หากควบคุมเบาหวานไม่ดี การปล่อยให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงยังเป็นสาเหตุให้หลอดเลือดสูญเสียความยืดหยุ่นและตีบแคบลง หรือเกิดการอุดตัน จนทำให้เลือดไหลไปหล่อเลี้ยงอวัยวะส่วนปลายเช่นที่เท้าลดลง ทำให้เนื้อเยื่อขาดเลือดเเละออกซิเจนเป็นสาเหตุให้เนื้อเยื่อบางส่วนตาย นำไปสู่อาการเท้าดำได้ในที่สุด

    เบาหวาน เท้าดำมีอาการอย่างไร

    ผู้ป่วยเบาหวานที่หลอดเลือดถูกทำลายจากน้ำตาลในเลือดที่สูงเป็นเวลานานจนเกิดภาวะหลอดเลือดตีบหรืออุดตัน ทำให้เนื้อเยื่อขาดเลือดเเละเนื้อตายเน่า อาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย ดังต่อไปนี้

    • ผิวหนังที่เท้าเปลี่ยนสี เป็นสีเทาซีด น้ำเงิน ม่วง หรือ แดงคล้ำ
    • ผิวหนังบริเวณเท้าบางลง ขนบริเวณนิ้วเท้าอาจหลุดร่วง
    • เท้า หรือบางส่วนของเท้า เย็นซีดหรือมีอุณหภูมิต่ำกว่าส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย
    • แผลหายช้า เพราะออกซิเจนกับสารอาหารต่าง ๆ ไปหล่อเลี้ยงเท้าได้ไม่เพียงพอ
    • มีแผลเกิดขึ้นที่เดิมซ้ำ ๆ
    • แผลบริเวณเท้ามักมีกลิ่นเหม็นเน่า หรือมีน้ำเหลือง/หนองไหล

    ทั้งนี้ หากเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังเกิดการตาย ผู้ป่วยอาจมีไข้ ร่วมด้วย และหากมีการติดเชื้อเเทรกซ้อนลุกลามไปยัง ยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย ผู้ป่วยอาจมีภาวะช็อกจากการติดเชื้อ (Septic Shock) ซึ่งอาจมีอาการดังนี้

    • ความดันต่ำ 
    • ไม่มีเเรง อ่อนเพลียมาก
    • หัวใจเต้นเร็ว
    • มึนงง สับสน ซึมลง
    • หายใจเร็ว หายใจลำบาก
    • มีไข้สูง

    เบาหวาน เท้าดำรักษาอย่างไร

    เมื่อผู้ป่วยเบาหวานมีอาการเท้าดำ คุณหมออาจมีเเนวทางในการรักษาซึ่งพิจารณาตามอาการเเละความเหมาะสม ดังนี้

    • ตัดเนื้อเยื่อที่ไม่ดีในแผลออก เป็นการตัดเนื้อเยื่อหรือผิวหนังส่วนที่ตายหรือเน่าแล้วออก เพื่อป้องกันเนื้อตายลุกลามไปยังบริเวณข้างเคียง 
    • ตัดเท้าหรือนิ้วเท้า คุณหมอมักเลือกใช้วิธีนี้ในกรณีที่เท้าดำมีเนื้อตายอยู่มากเเละอยู่ในระดับรุนแรง เพื่อป้องกันเนื้อตายลุกลามมากขึ้น และหลังผ่าตัดผู้ป่วยอาจต้องใช้อุปกรณ์อวัยวะเทียม
    • รักษาอาการการติดเชื้อที่แผลด้วยยาฆ่าเชื้อ หากแผลีการติดเชื้อเเทรกซ้อน คุณหมอจะให้ยาฆ่าเชื้อซึ่งอาจเป็นยาในรูปเเบบของยาฉีดเข้าหลอดเลือดดำ หรือ ในกรณีอการไม่รุนเเรงนักอาจยาฆ่าเชื้อชนิดรับประทาน ทั้งนี้หากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม การติดเชื้ออาจรุนเเรงขึ้น เช่น ทำให้เกิดการติดเชื้อในกระเเสเลือด ภาวะช็อกจากการติดเชื้อ
    • ผ่าตัดบายพาส คือการผ่าตัดเชื่อมหลอดเลือดที่อุดตันกับหลอดเลือดที่สุขภาพดี เพื่อช่วยให้เลือดไหลเวียนไปหล่อเลี้ยงเท้าได้ดีขึ้น
    • ทำบอลลูน เป็นการใส่สายที่มีบอลลูนขนาดเล็กตรงปลายเข้าไปในหลอดเลือดที่อุดตัน เพื่อขยายหลอดเลือดส่วนที่ตีบตันและช่วยเลือดไหลเวียนผ่านได้ตามปกติ ทั้งนี้ ในการทำบอลลูน คุณหมออาจใส่ขดลวดไว้ในหลอดเลือดเพื่อป้องกันมิให้หลอดเลือดตีบซ้ำด้วย

    เบาหวาน เท้าดำ ป้องกันอย่างไร

    ผู้ป่วยเบาหวานสามารถดูเเลตนเองเพื่อป้องกันมิให้เกิดแผลเบาหวานหรืออาการเท้าดำได้โดยปฏิบัติตามคำแนะนำเบื้องต้นดังต่อไปนี้

    • หมั่นตรวจเท้าของตัวเองสม่ำเสมอ เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีแผลหรือรอยถลอกใด ๆหากเป็นแผล ควรล้างทำความสะอาดด้วยน้ำเกลือทางการเเพทย์หรือน้ำต้มสุกที่สะอาด รวมถึงอาจใช้แอลกอฮอล์ หรือ ยาฆ่าเชื่อเบตาดีนเช็ดรอบเเผล เพื่อป้องกันการติดเชื้อ และควรเช็ดเท้าให้แห้งอยุ่เสมอ หลีกเลี่ยงการปล่อยให้เท้าอยู่ในสภาพอับชื้นเป็นเวลานาน
    • เข้ารับการตรวจสุขภาพเท้าปีละ 1 ครั้ง
    • หลีกเลี่ยงการเดินเท้าเปล่า สวมถุงเท้าและรองเท้าตลอดเวลา เเนะนำให้ใส่ถุงเท้าหรือรองเท้าสำหรับใส่ภายใน ตลอดเวลาเเม้จะอยุ่ที่บ้าน เพื่อป้องกันมิให้เกิดแผลจากการกระเเทกเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ผุ้ป่วยอาจไม่ทันรุ้สึก
    • เลือกสวมรองเท้าที่ไม่แน่นหรือรัดเกินไป เพื่อลดการเสียดสี ซึ่งอาจทำให้เกิดเเผลตามมาได้
    • หากมีอาการผิดปกติต่าง ๆ เกี่ยวกับเท้า เช่น เท้าชา เท้าเย็นกว่าปกติ เท้าเปลี่ยนสี แผลที่เท้ามีหนองให้รีบไปพบคุณหมอเพือรับการรักษาที่เหมาะสม
    • ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์เป้าหมาย ด้วยการปรับพฤติกรรมสุขภาพ เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เลี่ยงการบริโภคอาหารกลุ่มเเป้ง-น้ำตาล นอกจากนี้ควรรับประทานยาหรือฉีดอินซูลินตามคำเเนะนำของคุณหมออย่างเคร่งครัด
    • เลิกสูบบุหรี่ เพราะสารนิโคติน (Nicotine) ในบุหรี่จะทำให้หลอดเลือดเเข็งและตีบแคบลง ส่งผลให้เลือดไหลเวียนไปยังอวัยวะต่าง ๆ รวมถึงเท้าได้ไม่สะดวก

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

    แพทย์หญิงบุรัสกร ทวีบูรณ์

    โรคเบาหวาน · SRK BMI Center


    เขียนโดย ธนชาติ จึงแย้มปิ่น · แก้ไขล่าสุด 28/02/2023

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา