น้ำตาลต่ำ ในผู้ที่เป็นเบาหวาน หมายถึง ภาวะที่ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่า 70 มิลลิกรัม/เดซิลิตร อาจเกิดเนื่องจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น การฉีดอินซูลินหรือรับประทานยาลดระดับน้ำตาลมากเกินไป การออกกำลังกายหักโหมมากกว่าปกติ การรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา หรือ งดอาหารบางมื้อ ทั้งนี้ เมื่อมีเมื่อมีภาวะน้ำตาลต่ำอาจทำให้เกิดอาการ เช่น หัวใจเต้นเร็ว ตัวเย็น เหงื่อออกมาก เมื่อมีอาการดังกล่าว ควรรีบปฐมพยาบาลเบื้องต้นโดยการรับประทานของหวานหรือผลไม้ เพื่อเพิ่มระดับน้ำตาลให้สูงขึ้นสู่ระดับที่เหมาะสมอย่างรวดเร็ว
[embed-health-tool-bmi]
น้ำตาลต่ำ คืออะไร
น้ำตาลต่ำหรือภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (Low Blood Sugar หรือ Hypoglycemia) สำหรับในผู้ที่เป็นเบาหวาน หมายถึง ภาวะที่มีระดับน้ำตาลในเลือดที่ต่ำกว่า 70 มิลลิกรัม/เดซิลิตร เเต่หากในผู้ที่ไม่ได้เป็นเบาหวานจะหมายถึง ภาวะที่ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำว่า 55 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
ภาวะน้ำตาลต่ำ มีอาการอย่างไร
อาการที่เป็นสัญญาณของน้ำตาลต่ำ ได้แก่
- ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ
- หมดแรง อ่อนเพลีย ง่วงซึม
- ตาพร่ามัว
- ตัวสั่น มือสั่น
- ผิวซีด ตัวเย็น
- หัวใจเต้นเร็ว/เต้นผิดจังหวะ
- เหงื่อออกมาก
- ตื่นตระหนก วิตกกังวล ตกใจง่าย
- ขาดสมาธิ
- คลื่นไส้
- รู้สึกหิวมากเป็นพิเศษ
อย่างไรก็ตาม ผู้ที่น้ำตาลต่ำบางรายอาจไม่มีอาการผิดปกติใด ๆ ซึ่งอาจมาจากมีระดับน้ำตาลไม่ต่ำมากนัก หรือ ผู้ป่วยบางรายที่มีน้ำตาลในเลือดต่ำบ่อย ๆ จนร่างกายชินชา จึงไม่ทำให้เกิดอาการเเสดง ซึ่งในกรณีหลังนี้จัดเป็นภาวะที่อันตราย เพราะหากปล่อยให้น้ำตาลต่ำมากขึ้นเรื่อย ๆ จนเมื่อระดับน้ำตาลลดลงต่ำมาก (โดยไม่มีอาการเตือน) อาจทำให้ผู้ป่วยหมดสติ ชัก หรือเสียชีวิตได้
น้ำตาลต่ำ เกี่ยวข้องอย่างไรกับโรคเบาหวาน
แม้ผู้ป่วยเบาหวานจะมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกคิ แต่บางครั้งอาจเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้ เนื่องมาจากสาเหตุดังต่อไปนี้
- ฉีดอินซูลินหรือรับประทานยาลดระดับน้ำตาลเกินขนาด
- ฉีดอินซูลินเข้ากล้ามเนื้อ แทนการฉีดเข้าชั้นไขมันใต้ผิวหนัง ทำให้อินซูลินดูดซึมเข้าสู่กระเเสเลือดอย่างรวดเร็วในครั้งเดียว เเทนทีจะค่อย ๆ เข้าสู่กระเเสเลือด
- รับประทานอาหารน้อยกว่าปกติ หรือ รับประทานอาหารไม่ตรงเวลา
- ออกกำลังกายหักโหม หรือ มีกิจกรรมที่ต้องออกเเรงมากกว่าปกติ จึงทำให้ร่างกายมีการเผาผลาญน้ำตาลเพิ่มมากขึ้นจากเดิม จึงส่งผลให้ยาเบาหวานที่รับประทานตามปกติ จึงทำให้ระดับน้ำตาลลดลงมากจนเกินไป
- ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก ๆ
ภาวะน้ำตาลต่ำในผู้สูงอายุ
ได้มีการศึกษาเกี่ยวกับภาวะน้ำตาลต่ำในผู้สูงอายุ ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Aging and Disease ปี พ.ศ. 2558 พบว่า ระบุถึงความสัมพันธ์ระหว่างน้ำตาลต่ำและผู้สูงอายุไว้ ดังนี้
- ผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานอาจมีภาวะน้ำตาลต่ำเกิดขึ้นบ่อยครั้ง แต่ไม่แจ้งให้ผู้ดูเเลหรือคนในครอบครัวทราบ เนื่องจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น ไม่มีอาการผิดปกติใด ๆ มีโรคร่วมอื่น ๆ ทำให้การรับรู้อาการผิดปกติไป หรือไม่สามารถสื่อสารให้ผู้ดูเเลเข้าใจได้อย่างถูกต้อง
- ผู้สูงอายุที่มีภาวะน้ำตาลอาจมีการเจ็บป่วยอื่น ๆ ร่วมด้วยในขณะนั้น จึงส่งผลให้มีความผิดปกติในร่างกายเกิดขึ้น
- อาหารน้ำตาลต่ำมักพบในผู้สูงอายุมีภาวะขาดสารอาหาร ไม่ว่าจะเป็นโรคเบาหวานหรือไม่
- การดูแลผู้ป่วยเบาหวานสูงอายุที่ช่วยเหลือตนเองได้น้อย หรือมีโรคร่วมหลายโรค ผู้ดูเเลควรให้ความสำคัญกับระดับน้ำตาลเพิ่มมากขึ้น เช่น มีการตรวจระดับน่ำตาลในเลือดบ่อย ๆ แบบวันต่อวัน เพื่อให้ทราบถึงระดับน้ำตาลตามปกติว่า ไม่สูงหรือต่ำจนเกินไป หรือ หากเริ่มมีเเนวโน้มระดับน้ำตาลเริ่มลดลงจะได้ดูเเลป้องกันมิให้เกิดน้ำตาลต่ำจนเป็นอาจอันตรายได้
การดูแลผู้ที่ น้ำตาลต่ำ
หากพบอาการของภาวะน้ำตาลต่ำ ควรรีบปฐมพยาบาลตนเองเบื้องต้นด้วยการรับประทานคาร์โบไฮเดรตในปริมาณ 15-20 กรัม หลังจากนั้นให้ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดซ้ำอีก 15 นาทีหากระดับน้ำตาลในเลือดยังต่ำกว่า 70 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ให้รับประทานอาหารเช่นเดิมเเล้วตรวจระดับน้ำตาลอีกครั้ง หากไม่ดีขึ้น เเนะนำให้ไปพบคุณหมอ
ทั้งนี้ อาหารที่เเนะนำให้รับประทานในขณะที่มีอาการน้ำตาลต่ำ เพื่อช่วยทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดขึ้นสูงอย่างรวดเร็ว คือ อาหารเเละเครื่องดื่มที่เป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยว ซึ่งจะร่างสามารถดูดซึมเเละเปลี่ยนเป็นน้ำตาลกลูโคสได้อย่างรวดเร็ว ได้เเก่ ขนมหวาน ลูกอม น้ำผึ้ง น้ำตาลทราย ผลไม้รสหวาน น้ำหวาน น้ำผลไม้
เเต่ในกรณีที่มีอาการน้ำตาลต่ำมากจนผู้ป่วยซึม หมดสติ หรือมีอาการชัก ควรรีบพาไปพบคุณหมอ หรือเรียกรถพยาบาลทันที เเละในระหว่างนั้นอาจดูเเลผู้ป่วยเบื้องต้นดังนี้
- ในต่างประเทศจะมีชุดยาฉีดหรือเปรย์พ่นจมูกฮอร์โมนกลูคากอน (Glucagon) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่มีฤทธิ์เพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดอย่างรวดเร็ว ผู้ดูเเลสามารถฉีดหรือพ่นยาฮอร์โมนนี้ให้ผู้ป่วยได้ในขั้นต้น ระหว่างนำส่งโรงพยาบาล
- หลีกเลี่ยงการพยามป้อนน้ำหรืออาหารทางปาก เพราะอาจทำให้ผู้ป่วยสำลัก ซึ่งอาจทำให้เป็นอันตรายเพิ่มมากขึ้น
ภาวะน้ำตาลต่ำ ป้องกันได้หรือไม่
ภาวะน้ำตาลต่ำป้องสามารถกันได้ โดยมีเเนวทางที่แนะนำต่อไปนี้
- รับประทานอาหารในปริมาณที่เหมาะสม และงด/อดอาหาร รวมถึงรับประทานอาหารให้ตรงเวลา หากต้องการงดอาหารบางมื้อ เช่น การทำ IF (Intermittent Fasting) หรือต้องการถือศีลอดในช่วงเดือนรอมฎอนควรปรึกษาคุณหมอก่อน เพื่อให้คำเเนะนำเเละปรับลดยาให้เหมาะสม
- ฉีดอินซูลินและรับประทานลดระดับน้ำตาลตามที่คุณหมอแนะนำอย่างเคร่งครัด หากมีอาการที่ไม่เเน่ใจหรือต้องการปรับขนาดยา ควรปรึกษาคุณหมอก่อนเพื่อป้องกันมิให้เกิดทั้งภาวะน้ำตาลสูงหรือต่ำจนเกินไป
- ฉีดอินซูลินเข้าชั้นไขมันใต้ผิวหนังที่บริเวณหน้าท้อง ต้นขา ท้องเเขน หลีกเลี่ยงการฉีดในตำเเหน่งที่ชั้นไขมันน้อย เนื่องจากอาจทำให้อินซูลินเข้าสู่กล้ามเนื้อซึ่งมีการดูดซึมที่รวดเร็วกว่าเเละทำให้เกิดอากรน้ำตาลาต่ำได้
- หลีกเลี่ยงการออกกำลังกาที่หักโหมมากกว่าปกติ หากต้องออกเเรง/ออกกำลังมากขึ้น อาจเลือกรับประทานของว่างที่เป็นคาร์โบไฮเดรตคุณภาพดี ก่อนหากต้องการออกกำลังกายที่ใช้พลังงานมากกว่าปกติ
- หมั่นตรวจระดับน้ำตาลด้วยตนเองอย่างสม่ำเสมอ เพื่อควบคุมให้ระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในระดับที่เหมาะสม