backup og meta

DTX คือ การวัดระดับน้ำตาลในเลือดจากปลายนิ้ว มีประโยชน์อย่างไร

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงบุรัสกร ทวีบูรณ์ · โรคเบาหวาน · SRK BMI Center


เขียนโดย ศุภานิช สุริโย · แก้ไขล่าสุด 04/04/2023

    DTX คือ การวัดระดับน้ำตาลในเลือดจากปลายนิ้ว มีประโยชน์อย่างไร

    DTX คือ การตรวจระดับน้ำตาลกลูโคสในกระเเสเลือดโดยการเจาะเลือดปลายนิ้ว ซึ่งสามารถใช้ในการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานเบื้องต้น โดยสามารถทำการตรวจได้เองที่บ้าน เนื่องจากมีวิธีการตรวจที่ไม่ซับซ้อน เพียงเจาะเลือดที่ปลายนิ้วแล้วหยดเลือดที่แถบทดสอบของเครื่องตรวจจากนั้นผลเลือดจะเเสดงที่จอของเครื่อง หากทำการตรวจโดยอดอาหารมาเเล้วอย่างน้อย 8 ชั่วโมงเเล้วมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงตั้งแต่ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร จะเข้าข่ายเป็นโรคเบาหวาน เเต่อย่างไรก็ตามเเนะนำให้ทำการตรวจยืนยันที่โรงพยาบาลอีกครั้ง ซึ่งหากทราบว่าเริ่มมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงหรือเริ่มเป็นเบาหวานเเล้ว การเข้ารับการรักษาเเละการปรับพฤติกรรมสุขภาพอย่างเหมาะสม จะช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่เกณฑ์เป้าหมายและป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานได้

    DTX คือ อะไร

    Dextrostix หรือ DTX คือ การตรวจวัดระดับน้ำตาลกลูโคส (Glucose)ในกระเเสเลือดโดยการเจาะเลือดปลายนิ้ว โดยทั่วไปจะเเปลผลในหน่วย มิลลิกรัม/เดซิลิตร (Milligram/Deciliter หรือ mg/dL) หมายถึง ปริมาณของน้ำตาลของกลูโคสต่อเลือด 1 ลูกบาศก์เ                   ดซิลิตร การตรวจน้ำตาล DTX สามารถใช้คัดกรองโรคเบาหวานเบื้องต้นได้ ซึ่งโรคเบาหวานเป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของฮอร์โมน อินซูลิน (Insulin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ทำหน้าที่หลักในการควบคุมระดับน้ำตาลในกระเเสเลือด ซึ่งจะกระตุ้นให้เซลล์นำน้ำตาลลำกลูโคสไปใช้เปลี่ยนเป็นพลังงานเพื่อให้ร่างกายสามารถทำงานได้ตามปกติ

    หากร่างกายผลิตอินซูลินได้น้อยเกินไป หรือเซลล์ต่าง ๆ ไม่สามารถตอบสนองต่ออินซูลินได้อย่างเหมาะสม จะส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงผิดปกติ เกิดเป็นโรคเบาหวานตามมา และหากไม่ได้รับการรักษาหรือควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดี ก็อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายร้ายเเรงได้ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง เบาหวานขึ้นตา ภาวะไตวาย แผลเรื้อรัง เบาหวานลงเท้า เป็นต้น

    เเม้ว่าการตรวจน้ำตาลในเลือดเเบบ DTX จะช่วยให้สามารถตรวจพบความผิดปกติของระดับน้ำตาลในเลือดได้ แต่ก็เป็นเพียงการตรวจคัดกรองโรคเท่านั้น การตรวจวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวานจริงหรือไม่ จำเป็นจะต้องทำการเจาะเลือดตรวจจากเส้นเลือดดำของร่างกายเเละจะต้องอดอาหารมาเป็นเวลาอย่างน้อย 8 ชั่วโมงก่อนรับการตรวจ (สามารถดื่มน้ำเปล่าได้) ซึ่งจะให้ผลตรวจระดับน้ำตาลในเลือดที่แม่นยำ หากมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่า 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร แสดงว่าเป็นโรคเบาหวาน ซึ่งการตรวจพบตั้งแต่เนิ่น ๆ จะช่วยให้สามารถดูเเลสุขภาพรวมทัั้งวางแผนการรักษาอย่างเหมาะสมตั้งเเต่ระยะเเรก เช่น การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ดีต่อสุขภาพมากขึ้น การรักษาด้วยยา ซึ่งนับเป็นการป้องกันภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานที่อาจเกิดขึ้นได้

    การแปลผลตรวจน้ำตาล DTX 

    น้ำตาลในเลือด DTX สามารถแปลผลได้ดังนี้

    • ระดับน้ำตาลในเลือดไม่เกิน 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ถือว่า น้ำตาลในเลือดอยู่ในระดับปกติ
    • ระดับน้ำตาลในเลือด 100-125 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ถือว่า น้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ หรือ มีภาวะก่อนเบาหวาน (Prediabetes)
    • ระดับน้ำตาลในเลือดสูงตั้งเเต่ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ขึ้นไป ถือว่า เข้าข่ายเป็นโรคเบาหวาน

    วิธีตรวจเบาหวานแบบ DTX

    การตรวจเบาหวานแบบ DTX สามารถทำได้ดังนี้

    การตรวจน้ำตาลในเลือดเบื้องต้น เเบบ DTX สามารถทำได้เองที่บ้าน โดยใช้เครืองตรวจน้ำตาลปลายนิ้ว (ที่มีมาตรฐาน) ซึ่งตัวเครื่องจะมีหน้าจอบอกค่าระดับน้ำตาล แถบทดสอบสำหรับหยดเลือด เเละจะต้องมีชุดเข็มทางการเเพทย์สำหรับใช้เจาะเลือดปลายนิ้ว โดยขั้นตอนวิธีตรวจ อาจทำได้ดังนี้

    • ล้างมือให้สะอาดและเช็ดให้แห้ง
    • เปิดเครื่องตรวจน้ำตาลในเลือดปลายนิ้วและนำแถบทดสอบระดับน้ำตาลสอดเข้ากับเครื่องตรวจ
    • เช็ดแอลกอฮอล์บริเวณปลายนิ้วมือที่จะเจาะเลือด โดยเเนะนำให้เจาะเลือดที่นิ้วข้างที่ไม่ถนัด เช่น นิ้วกลาง-นางของมื้อซ้าย หากถนัดขวา
    • ใช้ชุดเข็มสำหรับเจาะเลือดปลายนิ้ว เจาะเลือดที่ปลายนิ้วมือ จากนั้นเช็ดเลือดหยดเเรกออกก่อน เเล้วบีบปลายนิ้วเบา ๆ ให้เลือดหยดลงบนแถบกระดาษทดสอบ
    • ทำความสะอาดปลายนิ้วมือและปิดแผลเบา ๆ เพื่อห้ามเลือด
    • ค่าระดับน้ำตาลในเลือดจะปรากฏขึ้นบนจอ

    อาการที่เป็นสัญญาณของโรคเบาหวาน

    อาการของโรคเบาหวานในระยะเริ่มต้น โดยส่วนมาเเล้วหากยังมีระดับน้ำตาลในเลือดไม่สูงมากนักอาจจะไม่มีอาการผิดปกติใด ๆ ให้สังเกต เเต่เมื่อมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากระดับหนึ่งอาจมีอาการผิดปกติได้ ดังนี้

    • หิวบ่อยและอ่อนเพลีย ตามปกติแล้วเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายใช้พลังงานจากน้ำตาลกลูโคสเป็นหลัก เเต่หากเมื่อมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงมาก จะทำให้เซลล์ไม่สามารถนำกลูโคสไปใช้ได้ตามปกติ  จึงทำให้รู้สึกอ่อนเพลียมากขึ้น รวมถึงรู้สึกหิวบ่อยขึ้นอึกด้วย
    • ปัสสาวะบ่อย และกระหายน้ำบ่อย ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานจะมีอาการปัสสาวะบ่อยขึ้นกว่าปกติ เนื่องจากเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูง ไตจะขับน้ำตาลส่วนเกินทิ้งออกทางปัสสาวะ จึงส่งผลให้ปัสสาวะบ่อยขึ้น รวมถึงเสียน้ำจากร่างกายเพิ่มขึ้นด้วย จึงส่งผลให้รู้สึกกระหายน้ำมากขึ้นตามมา
    • ผิวแห้งคัน และปากแห้ง เมื่อเสียน้ำออกจากร่างกายมากขึ้น ดังที่กล่าวไปด้านบน ส่งผลให้เซลล์ต่าง ๆ โดยเฉพาะเซลล์ผิวหนังเเละริมฝีปากสูญเสียความชุ่มชื้นตามมา จึงทำให้ผิวเเห้ง คันเเละระคายเคืองง่าย รวมถึงริมฝีปากเเห้งลอก
    • สายตาพร่ามัว เมื่อมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน อาจทำให้หลอดเลือดที่จอประสาทตาเสียหาย อีกทั้งยังอาจทำให้เกิดเลนส์ตาบวม ฝ ทำให้เกิดความผิดปกติในการมองเห็น เช่น สายตาพร่ามัว มองเห็นภาพบิดเบี้ยว เเละ อาจทำให้ตาบอดได้ 
    • แผลหายช้า ผู้ป่วยเบาหวานเมื่อเป็นเเผลอาจหายช้ากว่าปกติ เนื่องจากเมื่อน้ำตาลในเลือดสูงจะส่งผลให้ประสิทธิภาพของเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ทำหน้าที่ในการจัดการกับเชื้อโรคเเละภาวะอักเสบต่างๆ ลดลง อีกทั้ง หากร่างกายมีน้ำตาลในเลือดสูงอย่างเรื้อรังยังทำให้หลอดเลือดเสื่อมสภาพเเละตีบตัน จนกระทบต่อการไหลเวียนของเลือด ทำให้มีออกซิเจนรวมถึงสารที่มีประโยชน์ต่าง ๆ ไปหล่อเลี้ยงที่บาดเเผลลดลง ส่งผลให้กระบวนการซ่อมแซมบาดแผลใช้เวลานานมากกว่าปกติ

    การดูแลตัวเองเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

    วิธีดูแลตัวเองเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด อาจทำได้ดังนี้

    • รับประทานอาหารที่หลากหลายเพื่อให้ได้รับสารอาหารครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็น ผัก ผลไม้ โปรตีน ไขมันดี โดยควรเน้นเลือกอาหารที่มีไฟเบอร์สูง เช่น ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ขนมปังโฮลวีท ธัชญพืชไม่ขัดสี เป็นหลัก เนื่องจากสามารถช่วยชะลอการดูดซึมน้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือด จึงมีส่วนช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมได้
    • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลและไขมันสูง เช่น เนื้อสั้ตว์/หนังสัตว์ติดมัน ืของทอด อาหารแปรรูป เช่น ไส้กรอก แฮม กุนเชียง น้ำมันหมู ครีม เนย โดนัท ขนมเบเกอร์รี่ ของทอดต่าง ๆ น้ำหวาน น้ำอัดลม ไอศกรีม เพราะมีแคลอรีสูงและมีคุณค่าทางโภชนาการต่ำ ทั้งยังเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดให้สูงมากอีกด้วย
    • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การออกกำลังกายจะช่วยกระตุ้นให้กล้ามเนื้อนำกลูโคสไปใช้เป็นพลังงานเพิ่มมากขึ้นจึงช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด อีกทั้งยังกระตุ้นให้อินซูลินทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นด้วย 
    • ตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดเป็นประจำด้วยเครื่องตรวจเบาหวานปลายนิ้ว (Blood Glucose Meter หรือ BGM) ซึ่งสามารถตรวจได้เองที่บ้าน เพื่อให้สามารถวางแผนการรักษาได้อย่างแม่นยำ และทำให้ผู้ป่วยดูแลสุขภาพตัวเองได้ดีขึ้น
    • หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มเเอลกอฮอร์ เนื่องจากในเครื่องดื่มพวกนี้มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบเช่นเดียวกันจึงสามารถทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงได้ รวมทั้งการดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณครั้งละมาก ๆ จะทำให้ตับต้องทำงานหนักในการจัดการกับแอลกอฮอล์ เเละ ยิ่งไม่ได้ทานอาหารร่วมด้วยเเล้ว อาจทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้ด้วยเช่นกัน

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

    แพทย์หญิงบุรัสกร ทวีบูรณ์

    โรคเบาหวาน · SRK BMI Center


    เขียนโดย ศุภานิช สุริโย · แก้ไขล่าสุด 04/04/2023

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา