backup og meta

ลักษณะ ฉี่ ของคนเป็น เบาหวาน เป็นอย่างไร

ลักษณะ ฉี่ ของคนเป็น เบาหวาน เป็นอย่างไร

ลักษณะ ฉี่ ของคนเป็น เบาหวานที่ควบคุมไม่ดี อาจมีสีขุ่น ไม่ใส รวมถึงมีกลิ่นคล้ายผลไม้หมัก เนื่องจากมีน้ำตาลกลูโคส หรือ มีสารอื่นๆ เจือปนอยู่ ซึ่งหากปล่อยให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน จะส่งผลให้ไตทำงานได้ไม่ดี หรือ เบาหวานลงไต ทำให้มีโปรตีนอัลบูมิน (Albumin) รั่วในฉี่ได้อีกด้วย

[embed-health-tool-bmi]

โรคเบาหวาน คืออะไร

เบาหวาน หมายถึง การที่ร่างกายภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติอย่างเรื้อรัง หรือสูงตั้งแต่ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ขึ้นไป เมื่อทำการตรวจเลือดเเบบอดอาหาร

ทั้งนี้ เบาหวานจัดเป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่ง ซึ่งมีสาเหตุมาจากการที่ตับอ่อนผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้น้อยหรือไม่ได้เลย รวมทั้งเซลล์ในร่างกายตอบสนองต่ออินซูลินได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ส่งผลให้การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดบกพร่องระดับน้ำตาลในเลือดจึงสูงขึ้นเรื่อย ๆ

ซึ่งฮอร์โมนอินูลินนี้ เป็นฮอร์โมนหลักในการควบคุมสมดุลระดับน้ำตาลในเลือด กล่าวคือ ทำหน้าที่ช่วยกระตุ้นในเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย นำน้ำตาลไปเผาเผลาญใช้เป็นเป็นพลังงานในกระบวนการต่าง ๆ ของชีวิตประจำวัน ดังนั้นหากอินซูลินไม่เพียงพอ หรือเซลล์ไม่สามารถตอบสนองต่ออิซูลินได้ตามปกติ จึงทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น เเละ นำไปสู่โรคเบาหวานตามมา 

ลักษณะ ฉี่ ของคนเป็น เบาหวาน

โดยทั่วไปเเล้ว ลักษณะ ฉี่ ของคนเป็น เบาหวาน ที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี จะมีลักษณะสีเหลืองใส เเละมีกลิ่นเหมือนฉี่ตามปกติทั่วไป เเต่หากควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ ฉี่อาจมีลักษณะที่เปลี่ยนไปดังนี้

  • มีกลิ่นคล้ายผล หมัก/เปรี้ยว ซึ่งเป็นกลิ่นของสารคีโตน
  • ฉี่ขุ่น
  • อาจมีตะกอน หรือ มีกลิ่นฉุน รวมทั้งมีเลือดปน ซึ่งอาจมาจากการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ที่อาจเป็นภาวะเเทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมไม่ดี

นอกจากนี้ ฉี่ของคนเป็นเบาหวานยังอาจตรวจพบสารอื่น ๆ ได้ดังต่อไปนี้

กลูโคส

กลูโคสหรือน้ำตาลที่พบได้ในเลือดของมนุษย์ อาจตรวจพบในฉี่ของผู้ป่วยเบาหวาน หากมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่า 180 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ซึ่งเป็นระดับน้ำตาลสูงสุดที่ไตจะสามารถดูดกลับเข้าสู่กระเเสเลือดได้ 

ดังนั้น โดยทั่วไปเเล้ว ผู้ที่มีสุขภาพดี รวมทั้งผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ตามเป้าหมาย จะตรวจไม่พบกลูโคสในฉี่เต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยเบาหวานที่ใช้ยาลดระดับน้ำตาลกลุ่ม SGLT2 inhibitor ซึ่งออกฤทธิ์เพิ่มการขับน้ำตาลทิ้งทางฉี่ อาจตรวจพบนำ้ตาล/กลูโคสในฉี่ได้  

คีโตน

คีโตน (Ketone) เป็นสารที่อาจตรวจพบได้ในเลือดและฉี่ของผู้ป่วยเบาหวานหากมีภาวะความเป็นกรดในร่างกายสูงขึ้น ดังเช่นในภาวะเลือดเป็นกรด ซึ่งนับเป็นภาวะเเทรกซ้อนที่รุนเเรงออละอาจมีอันตรายถึงแก่ชีวิต

ภาวะดังกล่าว เกิดจากการที่ร่างกายไม่สามารถใช้พลังงานจากน้ำตาลในกระเเสเลือด เนื่องจากตับอ่อนผลิตอินซูลินลดลงหรือไม่ได้เลย ส่งผลให้ร่างกายต้องหันไปเผาผลาญไขมันเป็นพลังงานแทน ซึ่งกระบวนการเผาผลาญไขมันนี้จะทำให้เกิดสรคีโตน (Ketone) ซึ่งมีฤทธิ์เป็นกรด และหากมีคีโตนสะสมอยู่ในเลือดมาก จึงย่อมส่งผลให้เลือดมีความเป็นกรดเพิ่มมากขึ้นซึ่งเป็นอันตรายต่ออวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย

ทั้งนี้ คีโตนจะถูกขับออกทางฉี่ ดังนั้นเมื่อมีคีโตนในเลือดสูง จึงจะมีคีโตนในฉี่สูงด้วยเช่นกัน

ทั้งนี้ การตรวจระดับคีโตนในฉี่ อาจใช้ชุดสำหรับการตรวจโดยเฉพาะซึ่งในต่างประเทศอาจมีขายในร้านขายยาหรืออุปกรณ์ทางการเเพทย์ ซึ่งจะเป็นฃแผ่นทดสอบสำหรับหลังจุ่มลงในฉี่ ซึ่งจะแสดงค่าเปลี่ยนเป็นสีต่าง ๆ ตามระดับของคีโตน อย่างไรก็ตาม ตามปกติเเล้ว ไม่ควรตรวจพบคีโตนในฉี่ เเต่หากตรวจพบควรรีบดื่มน้ำเปล่ามาก ๆ เช่น 2 – 3 ลิตร เเล้วรีบมาพบคุณหมอเพื่อรับการตรวจเพื่มเติมทันที

อัลบูมิน

ภาวะไตเสื่อม โรคไต หรือการที่ไตทำงานได้ลดลง นับเป็นภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานชนิดเรื้องรัง ที่มักพบได้ในผู้ป่วยเบาหวานไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้เป็นเวลานาน

ซผู้ป่วยเบาหวานที่เริ่มมีการทำงานของไตลดลง (ซึ่งมักจะยังไม่มีอาการเเสดงใด ๆ ) เมื่อตรวจฉี่จะพบมีโปรตีนอัลบูมินมากกว่าปกติ หรือ มากกว่า 30 มิลลิกรัม/วัน ซึ่งในผู้ป่วยบางรายอาจพบมีอัลบูมินรั่วในฉี่สูงมากกว่า 300 มิลลิกรัม/วัน ได้ ซึ่งเเสดงถึงการทำงานของไตที่ทรุดลงมากยิ่งขึ้น

ทั้งนี้ อัลบูมินเป็นโปรตีนซึ่งสร้างมากจากตับ ทำหน้าที่ช่วยในการขนส่งฮอร์โมน วิตามิน หรือเอนไซม์ ไปยังอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายทางกระแสเลือด รวมถึงช่วยป้องกันมิให้ของเหลวในหลอดเลือดรั่วซึมออกมาสะสมในเนื้อเยื่อบริเวณต่าง ๆ ของร่างกายอีกด้วย

ดังนั้นคุณหมอจะมีการตรวจระดับอัลบูมินในฉี่เพื่อเป็นการคัดกรองเเละประเมินความเสี่ยงโรคไตในผู้ที่เป็นเบาหวาน โดยอาจทำการตรวจทุก ๆ 3 – 6 เดือน

ทำไมคนเป็นเบาหวานจึงฉี่บ่อย

อาการฉี่บ่อยเป็นผลมาจากเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ไตจะขับน้ำตาลส่วนเกินออกจากร่างกายทางฉี่ ทำให้ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดีจึงมีอาการฉี่บ่อยได้ 

อย่างไรก็ตาม ผู้ที่เป็นเบาหวานบางรายอาจไม่ทันสังเกตุว่าตัวเองฉี่บ่อย จนกระทั่งถึงจุดที่ต้องตื่นลุกมาเข้าห้องน้ำบ่อย ๆ ในตอนกลางคืน

นอกจากนี้ ยังอาจมีอาการอื่น ๆ ที่เป็นสัญญานของการที่ควบคุมเบาหวานได้ไม่ดี  ดังนี้

  • รู้สึกคอแห้ง กระหายน้ำมากกว่าปกติ
  • หิวบ่อย ความอยากอาหารมากกว่าปกติ
  • รู้สึกอ่อนเพลีย ไม่มีเเรง
  • น้ำหนักลดลงอย่างกระทันหัน
  • สายตาพร่ามัว
  • แผลหายช้า
  • มือหรือเท้าชา

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

What Is Glycosuria?. https://www.webmd.com/diabetes/what-is-glycosuria. Accessed January 17, 2023

What Are Ketones and Their Tests?. https://www.webmd.com/diabetes/ketones-and-their-tests. Accessed January 17, 2023

Diabetic ketoacidosis. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/diabetic-ketoacidosis/symptoms-causes/syc-20371551. Accessed January 17, 2023

Ketones in Urine. https://medlineplus.gov/lab-tests/ketones-in-urine/#:~:text=If%20your%20cells%20don’t,a%20coma%20or%20even%20death. Accessed January 17, 2023

Hyperglycemia in diabetes. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/hyperglycemia/diagnosis-treatment/drc-20373635. Accessed January 17, 2023

What to Know About Unusual Smell of Urine. https://www.webmd.com/urinary-incontinence-oab/what-to-know-about-unusual-smell-of-urine. Accessed January 17, 2023

Urine odor. https://medlineplus.gov/ency/article/007298.htm#:~:text=Sweet%2Dsmelling%20urine%20may%20be,Bladder%20fistula. Accessed January 17, 2023

เวอร์ชันปัจจุบัน

01/03/2023

เขียนโดย ธนชาติ จึงแย้มปิ่น

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงบุรัสกร ทวีบูรณ์

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

ลักษณะฉี่ของคนเป็นเบาหวาน กลิ่นและสีแตกต่างจากคนปกติอย่างไร

ฉี่เป็นฟอง อันตรายหรือไม่ มีสาเหตุมาจากอะไร


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงบุรัสกร ทวีบูรณ์

โรคเบาหวาน · SRK BMI Center


เขียนโดย ธนชาติ จึงแย้มปิ่น · แก้ไขล่าสุด 01/03/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา