Macrosomia คือ ภาวะทารกตัวโตหรือมีน้ำหนักมากกว่า 4 กิโลกรัม ซึ่งหนึ่งปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของภาวะทารกตัวโตคุณเเม่เป็นโรคเบาหวานเดิม หรือมีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ซึ่งเกินเนื่องจากฮอร์โมนจากรกชนิดหนึ่ง ออกฤทธิ์ต้านกับอินซูลินจึงทำให้การควบคุมระดับน้ำตาลบกพร่องไป ซึ่งภาวะทารกตัวโตนี้มักทำให้คลอดแบบธรรมชาติลำบากและเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น แผลฉีกขาดบริเวณฝีเย็บ ภาวะคลอดติดไหล่ การตกเลือดหลังคลอด ภาวะถุงน้ำคร่ำอักเสบติดเชื้อ
[embed-health-tool-bmi]
Macrosomia คือ อะไร
Macrosomia คือ ภาวะทารกตัวโต หรือทารกในครรภ์มีน้ำหนักมากกว่า 4 กิโลกรัม ไม่ว่าในช่วงอายุครรภ์เท่าไรก็ตาม ขณะที่น้ำหนักโดยทั่วไปของทารกปกติจะอยู่ระหว่าง 2.5-4 กิโลกรัม
ปัจจัยเสี่ยงของภาวะทารกตัวโตแบ่งออกเป็น ปัจจัยด้านพันธุกรรม และปัจจัยด้านภาวะสุขภาพของคุณเเม่
- ปัจจัยด้านพันธุกรรม เช่น พันธุกรรมของคุณพ่อคุณเเม่ตัวสูงมีโอกาสมีทารกตัวโตได้มากกว่า และทารกเพศชายมีโอกาสทารกตัวโตมากกว่าเพศหญิง
- ปัจจัยด้านภาวะสุขภาพของคุณเเม่ โดยที่คุณเเม่ที่มีภาวะสุขภาพดังต่อไปนี้ อาจเพิ่มความเสียงของการเกิดทารกตัวโต
- คุณเเม่ที่เป็นโรคเบาหวานเดิมก่อนตั้งครรภ์ หรือ มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (Gestational Diabetes) นอกจากนี้ มีการศึกษาที่ตีพิม์ใน วารสาร Annals of Nutrition and Metabolism ปี พ.ศ. 2558 พบว่า ภาวะทารกตัวโตพบได้บ่อยในคุนเเม่ที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์เเล้วไม่ได้รับการรักษา หรือไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาล ซึ่งพบได้มากถึง 15-45 เปอร์เซ็นต์
- คุณเเม่ที่เป็นโรคอ้วน ไขมันในเลือดสูง หรือ มีน้ำหนักตัวเพิ่มระหว่างตั้งครรภ์มากเกินเกณฑ์
- คุณเเม่ที่เคยเคยตั้งครรภ์ทารกทารกตัวโต
- คุณเเม่ที่มีการตั้งครรภ์เกินกำหนด หมายถึง อายุครรภ์ตั้งเเต่ 42 สัปดาห์ เป็นต้นไป
อย่างไรก็ตามปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ คือ ภาวะเบาหวานในมารดา โรคอ้วน และน้ำหนักเพิ่มขึ้นเกินเกณฑ์ ซึ่งทั้งสามภาวะนี้มักพบได้ร่วมกันบ่อย ๆ
การวินิจฉัยภาวะทารกตัวโต ทำได้อย่างไรบ้าง
คุณหมอจะวินิจฉัยภาวะทารกตัวโตได้จากการตรวจต่อไปนี้
- การตรวจหน้าท้อง โดยคุณหมอตรวจจะคลำหน้าท้องเพื่อวัดขนาดตรวจยอดมดลูกของคุณเเม่เบื้องต้น ซึ่งจะสอดคล้องกับการเจริญเติบโตของทารก หากตรวจเเล้วพบว่ามดลูกมีขนาดใหญ่กว่าอายุครรภ์ปกติ คุณหมอจะทำการตรวจละเอียดเพิ่มเติมอีกครั้งมารดาว่ามีความสูงที่มากกว่าปกติในแต่ละช่วงสัปดาห์ของอายุครรภ์หรือไม่ โดยดูจากความสัมพันธ์ของระดับยอดมดลูกกับผนังหน้าท้อง
- การอัลตร้าซาวด์ จะสามารถวัดขนาดตัวของทารก เเละคำนวนน้ำหนักได้ละเอียดมากกว่าการตรวจหน้าท้อง รวมวัดปริมาณน้ำคร่ำได้ด้วย อย่างไรก็ตามเเม้จะเป็นการตรวจที่ละเอียดมากขึ้นเเต่ก็มีความคลาดเคลือนได้บ้าง อาจมิได้แม่นยำร้อยเปอร์เซ็นต์
Macrosomia ส่งผลต่อทารกและมารดาอย่างไร
ภาวะทารกตัวโตส่งผลต่อมารดาและทารกในด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
มารดา
- เนื่องจากทารกตัวโตจึงส่งผลให้คลอดแบบธรรมชาติได้ลำบาก เสี่ยงต่อการเกิดภาวะเเทรกซ้อนระหว่างคลอด เช่น ภาวะคลอดติดไหล่ (Shoulder Dystocia) ภาวะคลอดยาก จนอาจทำให้คุณเเม่เกิดแผลฉีกขาดบริเวณฝีเย็บได้มากขึ้น เกิดภาวะถุงน้ำคร่ำอักเสบติดเชื้อหลังคลอด อีกทั้งภาวะตกเลือดหลังคลอด ซึ่งทำให้ต้องนอนโรงพยาบาลนานขึ้น ฟื้นตัวช้าลง
- ทารกตัวโตทำให้คลอดเองได้ลำบากจึงต้องเปลี่ยนไปคลอดด้วยวิธีการผ่าคลอดเเทน
ทารก
- เพิ่มการเกิดภาวะเเทรกซ้อนระหว่างคลอด เนื่องจากทารกตัวโตทำให้คลอดได้ยาก เช่น ทารกขาดออกซิเจน กระดูกไหลปลาร้าหัก เส้นประสาทบริเวณใต้รักเเร้ได้รับบาดเจ็บ
- เพิ่มความเสี่ยงการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำของทารกช่วงเเรกคลอด
- เพิ่มความเสี่ยงการเป็นโรคอ้วน รวมทั้งภาวะ Metabolic Syndrome หรือระบบเผาผลาญในร่างกายผิดปกติ เช่น ความดันเลือดสูง น้ำตาลในเลือดสูง คอเลสเตอรอลสูง ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดต่าง ๆได้ในอนาคต
Macrosomia ป้องกันได้อย่างไร
คุณเเม่สามารถดูแลตนเองเพื่อป้องกันมิให้เกิดภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ซึ่งอาจทำให้ทารกตัวโตได้ ตามคำแนะนำต่อไปนี้
- ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ระหว่างตั้งครรภ์ น้ำหนักของคุณเเม่จะเพิ่มขึ้นตามอายครรภ์ที่มากขึ้น เเต่อย่างไรก็ตามควรควบคุุมมิให้น้ำหนักเพิ่มมากเกินไป ซึ่งจะทำให้ทารกในครรภ์มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเยอะตามคุณเเม่ไปด้วย โดยหากคุณเเม่มีดัชนีมวลกายก่อนตั้งครรภ์อยู่ระหว่าง 18.5-24.9 ควรมีน้ำหนักเพิ่มประมาณ 11.5-16 กิโลกรัม ตลอดอายุครรภ์ เเละหากคุณเเม่มีดัชนีมวลกายก่อนตั้งครรภ์อยู่ระหว่าง 25-29.9 ควรมีน้ำหนักเพิ่มประมาณ 7-11.5 กิโลกรัม
- ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด หากคุณเเม่เป็นโรคเบาหวานอยู่เดิมหรือเพิ่งจะมีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ การควรควบคุมระดับน้ำตาลให้ได้ตามเป้าหมายจะช่วย ป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ รวมทั้งภาวะทารกตัวโตได้ ทั้งนี้อาจทำได้โดยเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ลดการบริโภคจำพวกแป้งเเละน้ำตาล ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งไปพบคุณหมอตามนัดเพื่อปรับการรักษาให้เหมาะสมกับคุณเเม่ในเเต่ละช่วงอายุครรภ์ได้มากที่สุด