backup og meta

วิธีรับมือกับโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ควรทำอย่างไร

วิธีรับมือกับโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ควรทำอย่างไร

โรคเบาหวานชนิดที่ 1 เป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่ง ซึ่งเกิดจากการที่ร่างกายไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินออกมาเพียงในการรักษามดุลระดับน้ำตาลในเลือด จึงส่งผลกระทบต่อกระบวนการเผาผลาญน้ำตาลในร่างกาย รวมถึงอวัยะต่าง ๆ ในรางกาย สำหรับการรักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 1 นี้ จำเป็นต้องใช้ยาฉีดอินซูลินทดแทน ร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ยังคงอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม และช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานในอนาคตได้

[embed-health-tool-bmi]

วิธีรับมือกับโรคเบาหวานชนิดที่ 1

หลาย ๆ ท่านอาจมีความรู้สึกว่าการรับมือกับโรคเบาหวานชนิดที่ 1 เป็นเรื่องยากและวุ่นวายจนอาจทำให้มีความเครียดและวิตกกังวล ซึ่งอาจส่งผลต่อสุขภาพจิตใจอื่น ๆ ตามมา แต่ 6 วิธีเบื้องต้นในการรับมือกับโรคเบาหวานชนิดที่ 1 นี้อาจจะช่วยทำให้ท่านได้ทำความเข้าใจและช่วยให้สามารถรับมือกับโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ได้ดีขึ้น

ทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวานชนิดที่ 1

สำหรับผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 และผู้ใกล้ชิด การได้มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับตัวโรคเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็น เพราะจะช่วยให้สามารถดูแลสุขภาพของตนได้ดี รวมถึงยืดหยุ่นและเหมาะสม ทั้งในเรื่องของโภชนาการอาหาร การตรวจระดับน้ำตาลในเลือด และการไปพบคุณหมอตามนัด หากมีความเข้าใจก็จะช่วยให้ปรับตัวและใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับโรคเบาหวานได้อย่างมีความสุขมากขึ้น

ให้ความร่วมมือในการรักษา

เมื่อเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ควรเข้ารับการรักษาที่ถูกต้องโดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และผู้ป่วยจำเป็นต้องใช้ยาฉีดอินซูลินเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไปตลอดชีวิต ความร่วมมือในการรักษาจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะหากผู้ป่วยไม่ให้ความร่วมมือ อาจส่งผลให้อาการของเบาหวานรุนแรงขึ้น และเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายตามมาได้

การจัดการกับความเครียด

ความเครียดเป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนเมือมีความวิตกกังวล การปรับพฤติกรรมสุขภาพรวมทั้งชีวิตประจำวันให้เข้ากับโรคโดยเฉพาะในระยะแรกอาจเป็นเรื่องที่ยากและขัดกับความคุ้นเคยเดิม  ไม่ว่าจะเป็นการเลือกโภชนาการอาหารที่เหมาะสม การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเองเป็นประจำ และการใช้ยาฉีดอินซูลินในการรักษาโรค หลาย ๆ ปัจจัยเหล่านี้ต่างเป็นสาเหตุที่อาจทำให้เกิดความเครียดได้ 

ดังนั้นการจัดการกับความเครียดจึงเป็นสิ่งสำคัญโดยอาจหาเวลาทำกิจกรรมที่ชื่นชอบ เช่น ออกกำลังกาย ทำอาหาร เล่นเกม หรือแม้แต่การทำกิจกรรมกับครอบครัว หรือแม้แต่การพักผ่อนอยู่กับตัวเอง ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยรับมือกับความเครียดได้ดี

ยอมรับการสนับสนุนจากผู้อื่น

การได้รับการสนับสนุนจากผู้อื่นเป็นอีกหนึ่งในวิธีรับมือกับโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ที่ดี ไม่ว่าจะเป็น การใช้เวลากับเพื่อนและครอบครัว ได้พูดคุยปรึกษาปัญหาต่าง ๆ กับคนที่ไว้ใจก็สามารถช่วยแบ่งเบาความทุกข์ได้ อีกทั้งยังเป็นการลดโอกาสการเป็นโรคสุขภาพจิต เช่น โรคเครียด วิตกกังวล ซึมเศร้า นอนไม่หลับ เพราะการเก็บความวิกตกกังวลไว้คนเดียว อาจทำให้รู้สึกโดดเดี่ยวและมีแนวโน้มที่จะทำให้เป็นโรคซึมเศร้าและโรคต่าง ๆ ได้ในอนาคต ซึ่งจะส่งผลให้การดูแลสุขภาพร่างกายทรุดลงไปด้วย ดังนั้นการมีใครสักคนอยู่เคียงข้างคอยให้กำลังใจ จึงเป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะทำให้รับมือกับตัวโรคได้อย่างมีความสุข

ดูแลตัวเอง

การดูแลตัวเองให้ดี จะสามารถช่วยลดความเครียดและความกังวลใจจากโรคเบาหวานได้ แนะนำให้หมั่นตรวจระดับน้ำตาลในเลือดของตนเองให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมอยู่เสมอ และควรใช้ยาอินซูลินตามที่แพทย์กำหนดเพื่อควบคุมอาการของโรคเบาหวาน อีกทั้งควรมีความรู้ในแง่ของโภชนาการเพื่อให้สามารถเลือกรับประทานอาหารได้ถูกต้อง ซึ่งนอกจากจะทำให้ควคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีแล้ว ยังส่งผลให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ครบถ้วน และนอกจากนี้ยังแนะนำให้ออกกำลังกายเป็นประจำเพื่อสุขภาพที่ดีด้วย

การเรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ทำให้ผู้ป่วยและคนใกล้ชิดพร้อมที่จะรับมือกับการดูแลรักษาทั้งสุขภาพกายและใจให้ยังคงแข็งแรงอยู่เสมอ

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

More Kids Are Being Diagnosed With Type 1 Diabetes—Here’s What Parents Need to Know. https://www.parents.com/kids/health/type-1-diabetes-in-children/. Accessed May 24, 2021

Type 1 diabetes. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/type-1-diabetes/diagnosis-treatment/drc-20353017. Accessed May 24, 2021

Diabetes (Type 1). https://www.cdc.gov/dotw/diabetes-type-1/. Accessed May 24, 2021

Avoid diabetes burnout. (2016). joslin.org/info/avoid_diabetes_burnout.html. Accessed May 24, 2021

Coping with your emotions. (n.d.). dtc.ucsf.edu/living-with-diabetes/coping-with-your-emotions/. Accessed May 24, 2021

Ducat, L., Philipson, L. H., & Anderson, B. J. (2014, August 20). The mental health comorbidities of diabetes. Journal of the American Medical Association, 312(7), 691-692. ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/25010529. Accessed May 24, 2021

Gebel, E. (2013, June). Diabetes distress. diabetes.org/living-with-diabetes/complications/mental-health/diabetes-distress.html. Accessed May 24, 2021

Stress. (2013, December 6). diabetes.org/living-with-diabetes/complications/mental-health/stress.html. Accessed May 24, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

05/04/2023

เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงบุรัสกร ทวีบูรณ์

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

พฤติกรรมการกินผิดปกติ ในกลุ่มวัยรุ่นที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1

รักษา เบาหวาน ให้หายขาด ทำได้หรือไม่


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงบุรัสกร ทวีบูรณ์

โรคเบาหวาน · SRK BMI Center


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 05/04/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา