backup og meta

รักษา เบาหวาน ให้หายขาด ทำได้หรือไม่

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงบุรัสกร ทวีบูรณ์ · โรคเบาหวาน · SRK BMI Center


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 05/04/2023

    รักษา เบาหวาน ให้หายขาด ทำได้หรือไม่

    ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ส่วนใหญ่อาจจะเกิดความวิตกกังวลเกี่ยวกับสุขภาพของตน จึงพยามหาวิธีการดูแลตนเองและวิธีรักษาต่าง ๆ เพื่อทำให้สุขภาพดีขึ้นต และอาจสงสัยว่าโรค เบาหวาน สามารถรักษาให้หายขาดได้หรือไม่ อย่างไรก็ตาม การใช้ยาลดระดับน้ำตาลและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพสามารถ สามารถช่วยควบคุมอาการเบาหวานได้ดีขึ้น

    รักษา โรคเบาหวาน ให้หายขาด ทำได้หรือไม่

    ในปัจจุบันนั้น หากพูดถึงโรคเบาหวาน จะนับเป็นโรคเรื้อรังที่ส่วนมากแล้วไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ อย่างไรก็ตามมีผู้ป่วยบางส่วนที่อาจเพิ่งเริ่มเป็นและเมื่อปรับพฤติกรรมสุขภาพได้เหมาะสม โดยเฉพาะในผู้ที่เป็นโรคอ้วนร่วมด้วย เมื่อลดน้ำหนักลงได้มากพอ ไม่ว่าจะด้วยการควบคุมอาหาร/ออกกำลังกาย หรือเข้ารับการผ่าตัดกระเพาะ อาจทำให้หายจากโรคเบาหวานได้ แม้ว่าผู้ที่เป็นเบาหวานส่วนใหญ่จะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้  แต่เราสามารถควบคุมระดับน้ำตาลเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานได้ เพื่อให้ยังมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีและมีความสุข

    ดังนั้น ผู้ที่เป็นเบาหวานทุกคนควรปรับวิถีการใช้ชีวิตประจำวันเพื่อให้มีสุขภาพดี เช่น ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ร่วมกับการรับประทานยาและปฏิบัติตามคำแนะนำของคุณหมออย่างเคร่งครัด

    ยาสำหรับ รักษา เบาหวาน ชนิดที่ 2

    โรคเบาหวานชนิดที่ 2 นับเป็นเบาหวานชนิดที่พบบ่อยมากที่สุด นอกจากการปรับพฤติกรรมสุขภาพในชีวิตประจำวันแล้ว คุณหมออาจแนะนำให้รับการรักษาด้วยยาลดระดับน้ำตาลในเลือดชนิดรับประทาน เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม โดยรายละเอียดเบื้องต้นของยาแต่ละประเภท มีดังต่อไปนี้

    • กลุ่มยาที่กระตุ้นการผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้แก่ ยากลุ่มซัลโฟนิลยูเรีย (Sulfonylurea) ยากลุ่มเมกลิทิไนด์ (Meglitinides)
    • ยาเมทฟอร์มิน (Metformin) ช่วยลดภาวะดื้อต่ออินซูลิน และ ลดการสร้างน้ำตาลจากตับ
    • ยาในกลุ่มไธอะโซลิดีนไดโอน (Thiazolidinediones) ช่วยลดภาวะดื้ออินซูลิน 
    • ยากลุ่ม Dipeptidyl peptidase-4 inhibitors 
    • ยากลุ่ม Glucagon-like peptide-1 (GLP-1) receptor agonists ซึ่งช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด และ ยังเป็นยาที่ใช้ลดน้ำหนักในผู้ที่เป็นโรคอ้วนอีกด้วย
    • ยากลุ่ม SGLT2 inhibitor ซึ่งช่วยเพิ่มการขับน้ำตาลส่วนเกินทางปัสสาวะ

    วิธีลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2

    การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ โดยมีแนวทางเบื้องต้น ดังต่อไปนี้

    • เลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ เน้นรับประทานอาหารที่มีแป้ง, น้ำตาล​ และ แคลอรี่ต่ำ แต่มีไฟเบอร์สูง เช่น ผัก ผลไม้ที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ และธัญพืช
    • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เช่น การเดินเร็ว เต้นแอโรบิค วิ่งเหยาะ ๆ  รวมไปถึงเพิ่มการเคลื่อนไหวหรือออกแรงเล็ก ๆ น้อย ๆ ในชีวิตประจำวัน ก็ถือว่ามีช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคเบาหวาน
    • การลดน้ำหนัก การควบคุมน้ำหนักและในผู้ที่มีน้ำหนักเกิดนการลดน้ำหนักด้วยวิธีที่เหมาะสม สามารถชะลอมิให้ภาวะก่อนเบาหวานพัฒนาไปสู่โรคเบาหวานชนิดที่ 2 รวมทั้งยังทำให้สุขภาพโดยรวมดีขึ้นได้
    • หลีกเลี่ยงการนั่ง/อยู่นิ่ง ๆ เป็นเวลานาน ๆ การนั่ง/หรืออยู่เฉย ๆ  เป็นเวลานาน ๆ หรือที่เรียกว่าพฤติกรรมเนือยนิ่งสามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ การพยายามเคลื่อนไหวขยับร่างกายบ่อย ๆ หรือลุกขึ้น เพื่อทำกิจกรรมอื่น ๆ ทุก 30 นาที จะช่วยป้องกันโรคเบาหวานได้ 

    จากบทความดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่า วิธีการรักษาโรคเบาหวานที่ดีที่สุดและทุกคนสามารถทำได้เอง คือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน ควบคู่กับการปฏิบัติตามคำแนะนำของคุณหมอ เพียงเท่านี้ก็สามารถช่วยรักษาอาการและควบคุมโรคเบาหวานให้ดีได้

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

    แพทย์หญิงบุรัสกร ทวีบูรณ์

    โรคเบาหวาน · SRK BMI Center


    เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 05/04/2023

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา