backup og meta

น้ำหนักลด แบบไม่ต้องอดอาหาร เพียงแค่ปรับไลฟสไตล์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 26/01/2022

    น้ำหนักลด แบบไม่ต้องอดอาหาร เพียงแค่ปรับไลฟสไตล์

    น้ำหนักลด แต่ไม่อยากอดอาหารอาจเกิดขึ้นได้กับผู้ที่ไม่มีเวลาหรือรู้สึกขี้เกียจออกกำลังกาย ดังนั้น การปรับพฤติกรรมบางอย่างอาจทำให้น้ำนักลดได้โดยไม่ต้องอดอาหาร เช่น เคี้ยวอาหารช้า ๆ เคี้ยวให้ละเอียด กินโปรตีนให้มากขึ้น ดื่มเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลต่ำ ทั้งยังไม่ควรให้ตนเองเกิดความรู้สึกเครียด พยายามพักผ่อนให้เพียงพอ ซึ่งวิธีเหล่านี้อาจทำให้น้ำหนักลดลงได้ โดยที่ไม่ต้องอดอาหาร

    น้ำหนักลด แบบไม่ต้องอดอาหารและออกกำลังกาย

    สำหรับคนที่อยากให้น้ำหนักลดแต่ไม่อยากอดอาหารอาจทำได้ด้วยการปรับพฤติกรรมในชีวิตประจำวันบางอย่าง เช่น

    เพิ่มทักษะการทำอาหาร

    การเข้าใจวิธีทำอาหาร รวมถึงการเตรียมอาหารต่าง ๆ นอกจากจะเพิ่มทักษะที่ดีในการเข้าครัวแล้ว ยังเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการลดน้ำหนัก โดยไม่ต้องงดอาหารอีกด้วย ผู้ที่มีความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำอาหาร มักจะมีแนวโน้มในการเลือกกินแต่อาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการอย่างหลากหลาย รวมถึงผักและผลไม้ ซึ่งเหมาะสำหรับการลดน้ำหนักเป็นอย่างมาก

    เคี้ยวอย่างช้า ๆ และเคี้ยวให้ละเอียด

    สมองต้องการเวลาที่เพียงพอในการประมวลผลสิ่งที่กินเข้าไป ดังนั้น การกินอาหารอย่างช้า ๆ เคี้ยวให้ละเอียดอาจช่วยให้รู้สึกอิ่มได้ไวขึ้น กินแคลอรี่น้อยลง ซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายในการลดน้ำหนักและป้องกันไม่ให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น

    กินโปรตีนให้มากขึ้น

    โปรตีนเป็นส่วนสำคัญของอาหารที่ดีต่อสุขภาพ จำเป็นต่อการเจริญเติบโต และการเผาผลาญที่มีประสิทธิภาพ ดังนั้น โปรตีนจึงสามารถช่วยเพิ่มความรู้สึกอิ่มและชะลอความหิวได้ สำหรับวิธีการง่าย ๆ ในการเพิ่มปริมาณโปรตีนในอาหาร คือ การเพิ่มเมล็ดเจียลงในอาหาร นอกจากนั้นการเพิ่มไข่เข้าไปในมื้ออาหาร ก็เป็นอีกวิธีที่จะทำให้ช่วยชะลอความหิวได้

    เปลี่ยนความคิด

    หากคิดว่าการกินผักและการไปฟิตเนสป็นเรื่องที่ยากลำบาก ลองพยายามเปลี่ยนความคิดและทำสิ่งเหล่านี้เพิ่มโอกาสให้ตัวเองทำสิ่งที่ตั้งใจได้สำเร็จ ซึ่งนั่นก็คือ การลดน้ำหนัก ดังนั้น การเปลี่ยนความคิดในเรื่องของการลดน้ำหนัก อาจช่วยทำให้น้ำหนักลดลงได้ โดยเปลี่ยนความคิดจากการอดอาหาร ไปคิดถึงวิธีการกินอาหารที่จะช่วยในการลดน้ำหนักจะเป็นการดีกว่า

    ดื่มเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลต่ำ

    การเลือกดื่มเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลต่ำ ดูเหมือนจะเป็นการประนีประนอมที่ดีระหว่างการรับประทานอาหารกับการดื่มเครื่องดื่มที่ชื่นชอบ แต่สารให้ความหวานเทียมที่ใช้ในเครื่องดื่มที่ปราศจากแคลอรี่ ส่วนใหญ่จะไม่ช่วยในเรื่องของการลดน้ำหนัก ทั้งยังอาจทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นอีกด้วย

    ใช้จานสำหรับใส่อาหารให้มีขนาดเล็กลง

    จานใส่อาหารขนาดเล็กสามารถหลอกสมองให้คิดว่ากำลังกินมากกว่าสิ่งที่เห็น ดังนั้นจึงถือเป็นเรื่องที่ดีต่อสุขภาพ เมื่อจานใส่อาหารมีขนาดเล็กลง ก็จะทำให้กินอาหารในปริมาณน้อยลงด้วย

    กินไฟเบอร์ให้มากกว่าเดิม

    ไฟเบอร์ มักจะอยู่ในผลไม้ ผัก พืชตระกูลถั่ว และธัญพืช ไฟเบอร์แตกต่างจากอาหารอื่น ๆ ตรงที่ร่างกายจะไม่ย่อยไฟเบอร์ในลำไส้เล็ก แต่อาหารนั้นจะเคลื่อนที่ไปยังลำไส้ใหญ่ทำให้เกิดการหมัก ซึ่งการที่อาหารไปหมักอยู่ตรงลำไส้ใหญ่นั้นจะทำให้เกิด

    • การย่อยอาหารช้าลง
    • เพิ่มเวลาการขนส่งอาหารและการดูดซึมสารอาหาร
    • ป้องกันอาการท้องผูก

    ดังนั้น หากกินไฟเบอร์เพิ่มขึ้นก็จะช่วยสร้างสมดุลในร่างกายให้เพิ่มมากขึ้น โดยอาจกินสิ่งเหล่านี้เพิ่มเข้าไป

    • กินผลไม้ทุกวัน
    • ใส่ธัญพืชในอาหาร เช่น ข้าวโอ๊ต ข้าวกล้อง
    • กินผักเยอะ ๆ

    กำจัดอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพออกไปให้พ้นสายตา

    หากเก็บอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพเอาไว้ ก็อาจจะทำให้มีแนวโน้มที่จะไปหยิบอาหารเหล่านั้นมากินโดยไม่ได้ตั้งใจ ซึ่งการกระทำแบบนี้ถือเป็นการทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นและความอ้วนก็จะตามมา ดังนั้น ทางออกที่ดีที่สุดก็คือควรเก็บแต่อาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น เลือกเก็บผักและผลไม้เอาไว้แทนขนมขบเคี้ยว

    พักผ่อนให้เพียงพอ

    การนอนที่ดีถือเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับสุขภาพทั่วไปและการดูแลรักษาน้ำหนักของตัวเอง การนอนหลับไม่สนิทส่งผลต่อฮอร์โมนในร่างกาย รวมไปถึงเรื่องของการเผาผลาญ การนอนน้อยกว่า 6 ชั่วโมง/คืน อาจเพิ่มความเสี่ยงที่จะทำให้มีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วนได้

    ให้ความใส่ใจในอาหารตรงหน้า

    ผู้ที่กินอาหารแล้วดูโทรทัศน์หรือเล่นมือถือไปด้วย จะทำให้เกิดแนวโน้มที่จะกินมากเกินไป ดังนั้น การใส่ใจกับมื้ออาหารที่อยู่ตรงหน้าจะช่วยให้กินได้น้อยลง ซึ่งนั่นจะส่งผลให้น้ำหนักลดลงด้วย

    อย่าเครียด

    ระดับความเครียดที่เพิ่มขึ้นสามารถทำลายความสมดุลของฮอร์โมน เมื่อเกิดอาการเครียดร่างกายจะผลิตฮอร์โมนที่เรียกว่า กลูโคคอร์ติคอยด์ (Glucocorticoids) ออกมา ซึ่งถ้ามีฮอร์โมนตัวนี้มากเกินไปจะทำให้มีความอยากอาหารมากขึ้น และเมื่อกินมากขึ้นก็อาจนำไปสู่น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น นอกจากนั้น ความเครียดนั้นยังสามารถกระตุ้นการกินตามอารมณ์ ทำให้บางคนอาจกินอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพเข้าไป ดังนั้น เพื่อจัดการกับความเครียดอาจทำสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้

    • ออกกำลังกายเป็นประจำ เช่น โยคะ
    • ลดปริมาณคาเฟอีน
    • ฝึกทำสมาธิหรือสติ
    • ใช้เวลานอกบ้าน

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


    เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 26/01/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา