เบาหวานชนิดที่ 2 เป็นโรคเบาหวานชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด เกิดจากเซลล์ในร่างกายไม่สามารถตอบสนองต่ออินซูลินได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือเรียกว่า ภาวะดื้ออินซูลิน (Insulin Resistance) ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง และอาจทำให้เกิดอาการต่าง ๆ เช่น กระหายน้ำมาก ปัสสาวะบ่อย เหนื่อยง่าย หากปล่อยไว้ไม่รีบรักษา หรือควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรง เช่น ภาวะเบาหวานขึ้นตา โรคหัวใจ โรคไต ภาวะเส้นประสาทเสื่อม
[embed-health-tool-heart-rate]
ทำความรู้จักโรคเบาหวาน1
โรคเบาหวาน คือ ภาวะที่ร่างกายไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ ซึ่งแบ่งได้ 2 ชนิดคือ
- เบาหวานชนิดที่ 1 มีสาเหตุจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอ ซึ่งอินซูลินเป็นฮอร์โมนที่ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติ
- เบาหวานชนิดที่ 2 เกิดจากเซลล์ในร่างกายไม่สามารถตอบสนองต่ออินซูลินที่ผลิตออกมาได้อย่างมีประสิทธิภา
อาการของโรคเบาหวานชนิดที่ 2
อาการของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นอาการจากการที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานานดังนั้น หากเพิ่งเริ่มเป็นหรือมีระดับน้ำตาลในเลือดไม่สูงนัก อาจจะยังไม่มีอาการเเสดงให้สังเกตุได้ชัดเจน และบางครั้งอาจใช้เวลาหลายปี กว่าจะปรากฏอาการให้เห็น ซึ่งมีดังนี้
- กระหายน้ำ และความอยากอาหารเพิ่มมากขึ้น
- ปัสสาวะบ่อยขึ้น
- รู้สึกไม่มีแรง เหนื่อยเมื่อยล้า
- แผลหายช้า
- รู้สึกชาหรือมีอาการเสียวแปล๊บ ๆ ซ่า ๆตามปลายมือและเท้า
- ผิวบริเวณข้อพับ เช่น รักเเร้ ขาหนีบและลำคอ มีสีปืนหนาสีคล้ำ
- น้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ
- สายตาพร่ามัว
ปัจจัยเสี่ยงของโรคเบาหวานชนิดที่ 2
ปัจจัยที่อาจส่งผลให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ได้เเก่
- โรคอ้วนหรือภาวะน้ำหนักเกิน
- ไม่ค่อยออกกำลังกายหรือมีการเคลื่อนไหวร่างกายในชีวิตประจำวันน้อย หรือมีพฤติกรรมเนือยนิ่ง (Sedentary Lifestyle)
- ประวัติครอบครัวเป็นเป็นโรคเบาหวาน
- มีภาวะไขมันในเลือดสูง
- อายุ (ความเสี่ยงของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จะเพิ่มเมื่ออายุมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่ออายุมากกว่า 35 ปี)
- มีภาวะกลุ่มอาการรังไข่มีถุงน้ำหลายใบ (Polycystic Ovary Syndrome หรือ PCOS)
- มีประวัติเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ หรือเคยคลอดบุตรที่มีน้ำหนักเเรกคลอดมากกว่า 4 กิโลกรัม
การวินิจฉัยโรคเบาหวานชนิดที่ 2¹
ในการวินิจฉัยโรคเบาหวานจะมีการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยวิธีต่าง ๆ ซึ่งสามารถเข้ารับกาตรวจได้จากคุณหมอที่โรงพยาบาล ซึ่งมีรายละเอียดเบื้องต้นดังนี้
- Fasting Plasma Glucose (FPG) – เป็นการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดโดยที่ผู้เข้ารับการตรวจจะต้องงดอาหารมาอย่างน้อย 8 ชั่วโมง ซึ่งผลการตรวจจะบ่งบอกถึงการควบคุมระดับน้ำตาลของในระยะสั้นๆ เช่น ในช่วง 24 ชั่วโมง ที่ผ่านมา สามารถแปลผลได้เป็น ระดับนำ้ตาลปกติ มีภาวะก่อนเบาหวาน เเละ เข้าข่ายเป็นโรคเบาหวานเเล้ว
- Hemoglobin A1C (HbA1C) – หรือการตรวจระดับน้ำตาลสะสม ซึ่งจะบ่งบอกถึงการควบคุมระดับน้ำตาลโดยเฉลี่ยในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา โดยการตรวจ HbA1C จะไม่จำเป็นต้องอดอาหาร สามารถเเปลได้เป็น 3 กลุ่ม เช่นเดียวกับการตรวจ FPG
- การทดสอบความทนทานต่อน้ำตาล – การตรวจวิธีนี้สามารถใช้ในการวินิจฉัยเบาหวานในคนทั่วไป เเละ ใช้ในการตรวจคัดกรองภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ โดยอาจมีรายละเอียดเเละขั้นตอนต่างกันเล็กน้อย เเต่หลักการคือ จะให้ผู้เข้ารับการทดสอบดื่มสารละลายน้ำตาลกลูโคส เเล้วหลังจากนั้นจะต้องรอเป็นระยเวลาหลักชั่วโมง (ระยะเวลาที่รอจะต่างกันขึ้นกับการตรวจ) เเล้วจึงทำาการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดอีกครั้ง ซึ่งจะบอกถึงความสามารถในการจัดการกับน้ำตาลของร่างกาย
- Random Plasma Glucose – หรือ การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเเบบสุ่ม จะเป็นการตรวจเลือดโดยไม่ต้องงดอาหาร ซึ่งหากตรวจเเล้วระดับน้ำตาลในเลือด สูงกว่า 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร จะเข้าข่ายสงสัยว่าเป็นโรคเบาหวาน เเต่ควรต้องทำการตรวจยืนยันด้วยการวัดระดับน้ำตาลในเลือดเเบบงดอาหาร หรือ FPG อีกครั้งซึ่งจะสามารถแปลผลได้เเม่นยำกว่า
การเลือกรับประทานอาหารสำหรับผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2
อาหารที่ดีต่อสุขภาพและเหมาะกับผู้เป็นเบาหวานนั้น ควรเน้นอาหารที่ไม่ผ่านการแปรรูป เช่น ผักและผลไม้สด ธัญพืชเต็มเมล็ด ถั่ว เมล็ดพืช เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน รวมทั้งเน้นไปที่อาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ หรือ Glycemic Index (GI) ที่มีค่าระหว่าง 0-55 ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ผ่านการแปรรูปซึ่งมักมีส่วนประกอบของ น้ำตาล ไขมันทรานส์ สีผสมอาหาร สารกันบูด ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพ
อาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน/ย่อยช้า (เช่น ธัญพืชเต็มเมล็ด ข้าวบาร์เลย์ ข้าวกล้อง) ไขมันดี ไฟเบอร์ จัดเป็นอาหารที่ดีต่อสุขภาพ เเม้จะควบคุมอาหาร เเต่อย่างไรก็ตามควรคำนึงถึงการได้รับวิตามิน แร่ธาตุ และสารอาหารที่จำเป็นอื่น ๆ ให้เพียงพอ ซึ่งสามารถทำได้โดย มีการวางแผนการเลือดรับประทานอาหารที่สมดุล ควบคุมปริมาณและสัดส่วนของอาหารเเต่ละชนิด รวมทั้งการรับประทานอาหารเป็นเวลา จะช่วยให้สามารถควบคุมและป้องกันมิให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากจนเกินไปทั้งนี้ อาจปรึกษาคุณหมอ หรือ นักโภชนาการเพิ่มเติม ถึงรายละเอียดในการวางแผนมื้ออาหารเหมาะสมกับผู้ที่เป็นเบาหวานแต่ละรายได้ดียิ่งขึ้น
ทางเลือกใหม่ อาหารทดแทนสูตรเฉพาะสำหรับผู้เป็นเบาหวาน
อาหารทดแทนสำหรับผู้เป็นเบาหวาน หรือ Diabetes-Specific Formulas (DSF) เป็นอาหารที่ส่วนประกอบของสารอาหารที่จำเป็นครบทั้ง 5 หมู่ และมีสัดส่วนในแต่ละชนิดที่เหมาะสมสำหรับผู้เป็นเบาหวานโดยเฉพาะสามารถใช้แทนเป็นอาหารมื้อหลัก หรือเสริมได้ในผู้ป่วยเบาหวานทีรับประทานอาหารได้ไม่เพียงพอตามคำแนะนำของคุณหมอ
เนื่องจากผู้เป็นเบาหวานจำเป็นต้องได้รับพลังงานและสารอาหารที่มีคุณภาพในสัดส่วนที่สมดุลเหมาะสม อาหารทดเเทนนี้จะมีส่วนประกอบของคาร์โบไฮเดรตที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ (Low GI) โปรตีนคุณภาพดีในปริมาณที่เพียงพอ กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว Monounsaturated Fatty Acid (MUFA) กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน Polyunsaturated Fatty Acid (PUFA) ซึ่งดีต่อสุขภาพหัวใจ มีวิตามินชนิดต่าง ๆ รวมถึงใยอาหาร ซึ่งจะส่งผลดีต่อภาพรวมในการควบคุมระดับน้ำตาลและไขมันในเลือด รวมถึงช่วยควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม จึงมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคร่วมอื่น ๆ เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง เเละ โรคไตได้
จุดเด่นของอาหารทดแทนสูตรสำหรับผู้ที่เป็นเบาหวาน คือ มีคาร์โบไฮเดรตชนิดพิเศษ ได้แก่ ไฟเบอร์ซอล ซูโครมอลต์ ซึ่งถูกย่อยและดูดซึมได้ช้า ทำให้มีการปลดปล่อยน้ำตาลออกมาอย่างช้า ๆ ส่งผลช่วยให้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี นอกจากนี้การที่คาร์โบไฮเดรตชนิดดังกล่าวถูกย่อยและดูดซึมได้ช้า จึงผ่านกระเพาะเเละลำไส้เล็กส่วนต้น ไปยังถึงยังลำไส้เล็กส่วนปลาย ซึ่งเป็นตำเเหน่งที่มีจำนวนของ L-Cells อยู่อย่างหนาแน่น ซึ่ง L-Cells จะถูกกระตุ้นให้ฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่เรียกว่า Glucagon-Like Peptide 1 ( GLP-1) ได้ปริมาณเพิ่มขึ้น โดยที่ฮอร์โมน GLP-1 มีหน้าที่กระตุ้นจับกับศูนย์อิ่มในสมอง จึงทำให้รู้สึกอิ่มเเละลดความอยากอาหาร อีกทั้งยังทำให้กระเพาะอาหารบีบตัวช้าลง อาหารจึ้งค้างอยู่ในกระเพาะได้นานขึ้น จึงเสริมให้รู้สึกอิ่มนานขึ้น นอกจากนี้ ฮอร์โมน GLP-1 ยังกระตุ้นเพิ่มการหลั่งฮอร์โมนอินซูลินจากตับอ่อน ส่งผลใด้ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้นด้วย อาหารทดแทนสูตรสำหรับผู้ที่เป็นเบาหวาน จึงดีต่อทั้งการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดเเละการควบคุมน้ำหนักตัวของผู้เป็นเบาหวาน ทั้งนี้ ได้มีการศึกษาเเสดงให้เห็นว่า อาหารทดแทนสูตรสำหรับผู้เป็นเบาหวาน ช่วยให้ผู้เป็นเบาหวานมีภาวะโภชนาการที่สมดุลขึ้น และสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้นในระยะยาวได้ เนื่องจากสามารถเพิ่มการหลั่งฮอร์โมน GLP-1 ซึ่งส่งผลดีกับร่างกายดังนี้ เ
- เพิ่มการหลั่งฮอร์โมนอินซูลิน ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้สมดุล
- ลดการหลั่งฮอร์โมนกลูคากอน ซึ่งมีฤทธิ์เพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด
- ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดหลังรับประทานอาหารได้ดีกว่า โดยพบว่าผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่รับประทานอาหารทดแทนสำหรับผู้เป็นเบาหวาน สามารถเพิ่มระดับ GLP-1 และอินซูลินในเลือดหลังรับประทานอาหารได้มากกว่าผู้ป่วยที่รับประทานข้าวโอ๊ต
ดังข้อมูลข้างต้น อาหารทดแทนสูตรสำหรับผู้เป็นเบาหวานจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยให้การควบคุมเบาหวานง่ายขึ้น ทั้งนี้ต้องใช้ในเเง่ของการรับประทานเเทนมื้ออาหารเดิม มิใช่เป็นการรับประทานเสริมจากมื้ออาหารปกติ
แม้ว่าการดูแลเรื่องโภชนาการที่ดีที่สุดจะมาจากอาหารมื้อหลักที่รับประทาน แต่สำหรับผู้เป็นเบาหวาน การได้รับพลังงานและสารอาหารที่มีคุณภาพในสัดส่วนที่สมดุล ได้รับวิตามินและแร่ธาตุเพียงพอครบถ้วน จะช่วยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี หากผู้ที่เป็นเบาหวานสนใจทางเลือกของการรับประทานอาหารทดเเทนสามารถขอคำเเนะนำเพิ่มเติมได้จากคุณหมอที่ดูเเลเป็นประจำ
Meal Plan E-Book พร้อมให้ดาวน์โหลด คลิกเลย