โรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน คือโรคที่สามารถส่งผลกระทบต่อการทำงานและสุขภาพโดยรวมของร่างกายได้อย่างมาก อีกทั้งในปัจจุบัน อัตราผู้ป่วยโรคเบาหวานในประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นทุกปี ดังนั้น การเรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวานประเภทต่าง ๆ ปัจจัยเสี่ยง และรักษาโรคเบาหวาน จึงมีความสำคัญเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเบาหวานให้ดียิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคเบาหวาน

เบาหวาน อาการ และวิธีการป้องกัน

เบาหวานเป็นภาวะที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ ที่เกิดจากร่างกายจัดการอินซูลินและน้ำตาลได้ไม่ดีพอ เกิดจากการขาดฮอร์โมนอินซูลิน หรือตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โดยอินซูลินมีหน้าที่นำพาน้ำตาลกลูโคสในกระแสเลือดที่ได้จากการรับประทานอาหาร เข้าสู่เซลล์เพื่อนำไปใช้เป็นพลังงาน เมื่ออินซูลินไม่เพียงพอจึงส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไป และเมื่อป่วยเป็นโรค เบาหวาน อาการ ที่พบอาจแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับชนิดของโรค อย่างไรก็ตาม หากไม่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดี อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ไตเสียหาย จอประสาทตาเสื่อมได้ [embed-health-tool-bmi] เบาหวาน คืออะไร เบาหวาน คือ โรคเรื้อรังที่จะวินิจฉัยเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงตั้งแต่ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตรขึ้นไป ซึ่งเป็นผลจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หากปล่อยให้ร่างกายอยู่ในสภาวะนี้นานอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวาน เช่น โรคไต โรคหลอดเลือดสมอง ระบบประสาทเสื่อม   เบาหวานแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ เบาหวานชนิดที่ 1 พบได้บ่อยในวัยเด็ก เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายบกพร่อง ทำให้ตับอ่อนที่ทำหน้าที่ผลิตอินซูลินไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย นำไปสู่ภาวะน้ำตาลสะสมในเลือดสูงขึ้น อาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย ปัสสาวะบ่อย เบาหวานชนิดที่ 2 พบได้บ่อยในวัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ที่อายุ 40 ปี ขึ้นไป เกิดจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หรือเซลล์ในร่างกายไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ หากปล่อยไว้นานอาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการหิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย และน้ำหนักลดได้ ข้อมูลจากสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ระบุว่า ผู้หญิงมีแนวโน้มเป็นโรคเบาหวานร้อยละ […]

สำรวจ โรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน

อาหาร โรคไต เบาหวาน แบบไหนดีต่อสุขภาพ

พฤติกรรมการกินอาหารในปัจจุบัน ที่ส่งเสริมรสชาติให้โดดเด่น แต่ก็เสี่ยงต่อการเกิดโรคได้เช่นกัน การรับประทานอาหารที่มีปริมาณของโซเดียมสูงจึงเสี่ยงต่อโรคไต ส่วนการรับประทานอาหารที่หวานจะเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน สำหรับผู้ป่วยทั้ง 2 โรค ต้องดูแลตัวเองเป็นพิเศษ โดยเลือก อาหาร โรคไต เบาหวาน ที่ดีต่อสุขภาพและควบคุมโรคเอาไว้ได้  [embed-health-tool-bmi] ลักษณะของโรคไต  โรคไตเป็นอาการหรือความผิดปกติที่เกิดขึ้นบริเวณไต ส่งผลให้การทำงานเพื่อขับของเสียออกจากร่างกาย การรักษาความสมดุลของเกลือ และน้ำในร่างกายเกิดภาวะขัดข้อง โรคที่เกิดขึ้นกับไตมีอยู่หลายประเภท ประกอบด้วย ไตวายฉับพลัน  ไตวายเรื้อรังที่อาจเกิดจากโรคเบาหวาน  โรคความดันโลหิตสูง  โรคไตอักเสบ  โรคติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ โรคถุงน้ำที่ไต  ภาวะกระเพาะปัสสาวะอักเสบบ่อยครั้ง หรือเกิดจากการอุดตัน เช่น นิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ ต่อมลูกหมากโต หรือมะเร็งมดลูกไปกดเบียดท่อไต  อาการของโรคไต โดยทั่วไปผู้ป่วยโรคไตระยะเริ่มต้นจะไม่แสดงอาการที่ชัดเจน แต่จะพบเมื่อมีอาการไตเรื้อรังระยะที่รุนแรง เมื่อป่วยเป็นโรคไตเรื้อรังแล้ว การทำงานของไตจะเสื่อมลงจนเข้าสู่โรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย สำหรับอาการของโรคไตที่พบได้บ่อย ได้แก่ มีอาการซีด  เพลีย  เบื่ออาหาร  คลื่นไส้  ปัสสาวะสีหรือกลิ่นผิดปกติ  ปัสสาวะบ่อยโดยเฉพาะเวลากลางคืน  ปวดศีรษะ  ตรวจพบความดันโลหิตสูง  ตัวบวม เท้าบวม  ปวดหลัง และปวดบั้นเอว  ลักษณะของโรคเบาหวาน  โรคเบาหวาน เกิดจากร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลกลูโคสในเลือดไปใช้ได้ อาหารที่รับประทานจึงถูกเปลี่ยนเป็นกลูโคส ทำให้น้ำตาลที่ร่างกายนำไปใช้ไม่หมดนั้นสะสมอยู่ในกระแสเลือด มากเข้าก็จะออกมาในปัสสาวะ โดยปกติแล้วตับอ่อนในร่างกายจะสร้างฮอร์โมนอินซูลิน แต่ถ้าตับอ่อนสร้างอินซูลินไม่เพียงพอ หรืออินซูลินมีน้อย […]


โรคเบาหวาน

น้ำตาลในเลือดต่ำ ในคนปกติ เกิดจากอะไร มีอาการอย่างไร

น้ำตาลในเลือดต่ำ ในคนปกติ อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหารที่ทำให้น้ำตาลพุ่งสูงและลดลงอย่างรวดเร็ว การบริโภคแอลกอฮอล์มากเกินไป เจ็บป่วยด้วยโรค มีปัญหาสุขภาพ เป็นต้น ซึ่งอาจทำให้มีอาการผิดปกติ เช่น วิงเวียนศีรษะ อ่อนเพลีย หิว สายตาพร่ามัว หงุดหงิด วิตกกังวล ตัวสั่น ในกรณีรุนแรงอาจทำให้หมดสติหรือชักได้ หากปล่อยทิ้งไว้ไม่รับการรักษาอย่างเหมาะสม อาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ [embed-health-tool-bmi] น้ำตาลในเลือดต่ำ คืออะไร น้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycaemia) คือภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดน้อยกว่าเกณฑ์ปกติ ซึ่งระดับน้ำตาลในเลือดของคนทั่วไปจะอยู่ระหว่าง 70-99 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หากน้ำตาลในเลือดต่ำจะส่งผลให้ระบบอวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกายขาดพลังงานที่ช่วยให้ทำงานได้ตามปกติ พบบ่อยในผู้ป่วยเบาหวานที่ใช้ยารักษาเบาหวานหรือฉีดอินซูลินเพื่อควบคุมน้ำตาลในเลือด หากมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปจากปกติก็อาจทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้ เช่น รับประทานอาหารไม่ตรงเวลา อดอาหารบางมื้อ ออกกำลังกายหักโหมหรือทำกิจกรรมที่ต้องใช้พลังงานมากกว่าปกติ แต่ในบางกรณีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำก็อาจเกิดกับคนทั่วไปที่ไม่ได้เป็นเบาหวานเช่นกัน อาการน้ำตาลในเลือดต่ำ อาการน้ำตาลในเลือดต่ำ อาจมีดังนี้ วิงเวียนศีรษะ อ่อนเพลีย ไม่มีแรง รู้สึกหิว มองเห็นภาพซ้อนหรือมองเห็นไม่ชัด หงุดหงิด วิตกกังวล ตัวสั่น รู้สึกว่าหัวใจเต้นเร็ว เหงื่อออกมาก มีพฤติกรรมบางอย่าง เช่น การพูด การเดินที่เปลี่ยนไปจากปกติ หรือทำตัวเหมือนคนเมา หากอาการรุนแรง อาจทำให้มีอาการดังต่อไปนี้ ชัก หมดสติ […]


โรคเบาหวาน

HbA1c ค่าปกติ ดูยังไง สำคัญต่อการควบคุมน้ำตาลแค่ไหน

HbA1c หรือ Glycated Hemoglobin คือ ค่าน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือด ที่แสดงถึงระดับน้ำตาลที่สะสมอยู่ในเลือดตลอดช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา โดย HbA1c ค่าปกติ ของคนทั่วไปจะอยู่ที่น้อยกว่า 5.7% การตรวจ HbA1c มีประโยชน์ต่อการวินิจฉัยภาวะก่อนเบาหวานและโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อีกทั้งช่วยให้คุณหมอและผู้ป่วยเบาหวานประเมินแผนการรักษาที่ผ่านมาว่าได้ผลดีมากน้อยแค่ไหน และใช้เป็นแนวทางเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้อีกด้วย [embed-health-tool-bmi] HbA1c ค่าปกติ อยู่ที่เท่าไหร่ ผลการตรวจ HbA1c สามารถอ่านค่าเป็นเปอร์เซ็นเพื่อการวินิจฉัยโรคได้ดังนี้ คนทั่วไป ค่า HbA1c จะอยู่ในระดับ ต่ำกว่า 5.7% ภาวะก่อนเบาหวาน (Prediabetes) ค่า HbA1c จะอยู่ระหว่าง 5.7-6.4% โรคเบาหวาน ค่า HbA1c จะอยู่ในระดับตั้งแต่ 6.5% ขึ้นไป สำหรับการตรวจ HbA1c เพื่อประเมินผลการรักษาโรค คุณหมอจะนัดให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานมาตรวจ HbA1c เพื่อติดตามผล ทุก 6 - 12 เดือน (ประมาณ 2 ครั้ง/ปี) […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

ภาวะ แทรกซ้อน โรค เบาหวาน ปัจจัยเสี่ยงและวิธีดูแลตัวเอง

ภาวะ แทรกซ้อน โรค เบาหวาน มักเกิดขึ้นหลังจากผู้ป่วยเบาหวานที่เป็นโรคมานานกว่า 10 ปีขึ้นไปมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินกว่าเกณฑ์ที่เหมาะสม ทำให้อวัยวะต่าง ๆ เสียหาย นำไปสู่ปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ตามมา เช่น โรคเบาหวานขึ้นตา โรคผิวหนังช้าง โรคหัวใจ โรคไตวายเรื้อรัง ซึ่งการดูแลตัวเองอย่างถูกวิธี ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ไม่สูงเกินไป อาจช่วยป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ [embed-health-tool-bmi] ภาวะ แทรกซ้อน โรค เบาหวาน เกิดจากอะไร ภาวะแทรกซ้อนโรคเบาหวาน (Diabetes complications) เกิดจากระดับน้ำตาลในเลือดอยู่สูงกว่าเกณฑ์ที่เหมาะสมของผู้ป่วยเบาหวาน เมื่อเวลาผ่านไปหลายปี ระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงผิดปกติจะไปทำลายเนื้อเยื่อ หลอดเลือด เส้นประสาท สร้างความเสียหายให้อวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และนำไปสู่ปัญหาสุขภาพตามมาได้ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคไตวายเรื้อรัง ปัจจัยเสี่ยงของ ภาวะ แทรกซ้อน โรค เบาหวาน ปัจจัยเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนโรคเบาหวาน อาจมีดังนี้ ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์เที่เหมาะสมได้เป็นเวลาหลายปี มีน้ำหนักเกินมาตรฐานหรือเป็นโรคอ้วน ไม่ค่อยขยับร่างกาย หรือชอบอยู่เฉย ๆ เป็นเวลาหลายชั่วโมง มีค่าฮีโมโกลบินเอวันซี (Hemoglobin A1C […]


โรคเบาหวาน

ตรวจเบาหวานคนท้อง งดอาหาร กี่ชั่วโมง และควรเตรียมตัวอย่างไร

ตรวจเบาหวานคนท้อง งดอาหาร หรือไม่ หากงดต้องงดกี่ชั่วโมง เป็นคำถามที่คนท้องต้องการทราบคำตอบเพื่อเตรียมพร้อมก่อนไปหาคุณหมอ โดยทั่วไป การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดแบบจีซีที (Glucose Challenge Test หรือ GCT) ซึ่งเป็นการตรวจคัดกรองเบาหวานขณะตั้งครรภ์ คนท้องไม่จำเป็นต้องงดอาหารหรือเครื่องดื่มคืนก่อนตรวจ แต่สำหรับผู้ที่คุณหมอนัดหมายให้มาตรวจแบบโอจีทีที (Oral glucose tolerance test หรือ OGTT) ซึ่งเป็นการทดสอบความทนทานต่อน้ำตาลของร่างกายโดยการดื่มสารละลายกลูโคส เพื่อคัดกรองภาวะก่อนเบาหวาน เบาหวานชนิดที่ 2 และเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ผู้ที่จะเข้ารับการตรวจต้องงดอาหารและเครื่องดื่มที่ให้พลังงาน ก่อนเข้ารับการทดสอบอย่างน้อย 8 ชั่วโมง [embed-health-tool-bmi] เบาหวานคนท้อง คืออะไร เบาหวานคนท้องหรือโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (Gestational Diabetes) เป็นโรคเบาหวานชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นขณะท้อง มีสาเหตุจากรกผลิตฮอร์โมนที่ยับยั้งประสิทธิภาพการทำงานของอินซูลิน เป็นฮอร์โมนที่ผลิตจากตับอ่อนซึ่งทำหน้าที่ลำเลียงน้ำตาลไปเป็นพลังงานให้แก่เซลล์ต่าง ๆ เมื่อร่างกายมีอินซูลินไม่เพียงพอ ก็จะส่งผลให้มีน้ำตาลสะสมอยู่ในกระแสเลือด จนเกิดเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์แม้ว่าภาวะนี้จะหายไปเองหลังคลอด แต่ผู้ที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์มักมีความเสี่ยงต่อสุขภาพเพิ่มขึ้นทั้งรวมทั้งทารกในครรภ์ด้วย เช่น ภาวะครรภ์เป็นพิษ ภาวะครรภ์แฝดน้ำ (Polyhydramnios) การคลอดก่อนกำหนด ทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวมากกว่า 4 กิโลกรัม ทารกแรกเกิดมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ (เนื่องจากร่างกายผลิตอินซูลินปริมาณมากเพื่อรับมือกับระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงขณะอยู่ในครรภ์) ตรวจเบาหวานคนท้อง ควรตรวจเมื่อท้องได้กี่เดือน คนท้องอาจพัฒนาโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ในระยะใดก็ได้ แต่ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองตั้งแต่อายุครรภ์ประมาณ 24-28 สัปดาห์ […]


โรคเบาหวาน

สมุนไพรลดเบาหวาน มีอะไรบ้าง และควรดูแลตัวเองอย่างไร

โดยปกติแล้ว การรักษาเบาหวานทำได้ด้วยการรับประทานยาตามคำสั่งของคุณหมออย่างเคร่งครัด และดูแลตัวเองอย่างสม่ำเสมอ นอกจากการใช้ยารักษาแล้ว ผู้ป่วยเบาหวานบางคนอาจใช้ สมุนไพรลดเบาหวาน เป็นอาหารเสริม เพื่อช่วยลดระกับน้ำตาลในเลือด รวมถึงช่วยควบคุมภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น โรคไต ระบบประสาทเสื่อม โรคหลอดเลือดสมอง อย่างไรก็ตาม ก่อนรับประทานสมุนไพรลดเบาหวานทุกชนิด ควรปรึกษาคุณหมอก่อนเสมอ เนื่องจากสมุนไพรบางชนิดอาจส่งผลกระทบต่อฤทธิ์ของยาเบาหวานได้ [embed-health-tool-bmr] เบาหวาน เกิดจากอะไร เบาหวาน คือ โรคเรื้อรังที่จะวินิจฉัยเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงตั้งแต่ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตรขึ้นไป ซึ่งเป็นผลจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หากปล่อยไว้นานอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ได้ เช่น โรคไต ระบบประสาทเสื่อม โรคหลอดเลือดสมอง สำหรับชนิดของเบาหวาน อาจแบ่งได้ ดังนี้ เบาหวานชนิดที่ 1 เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายบกพร่อง ทำให้ตับอ่อนที่ทำหน้าที่ผลิตอินซูลินไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย นำไปสู่ภาวะน้ำตาลสะสมในเลือดสูงขึ้น อาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย ปัสสาวะบ่อย เบาหวานชนิดที่ 2 เกิดจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หรือเซลล์ในร่างกายไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ หากปล่อยไว้นานอาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการหิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย และน้ำหนักลดได้ เบาหวานขณะตั้งครรภ์ เกิดขึ้นในขณะตั้งครรภส่งผลให้ร่างกายมีปัญหาเกี่ยวกับระดับน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งไม่เพียงแต่จะส่งผลต่อสุขภาพของคุณแม่เท่านั้น แต่ยังมีผลข้างเคียงต่อสุขภาพของทารกในครรภ์ด้วย อย่างไรก็ตาม ภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์มักหายไปเองหลังจากคลอดลูก […]


โรคเบาหวาน

อาหารสําหรับคนเป็นเบาหวาน ที่ควรรับประทานมีอะไรบ้าง

โรคเบาหวาน เป็นโรคที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดตั้งแต่ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตรขึ้นไป และอาหารก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลโดยตรงต่อระดับน้ำตาลในกระแสเลือด ผู้ป่วยจึงจำเป็นต้องใส่ใจอาหารที่รับประทาน เพื่อไม่ให้ระดับน้ำตาลสูงเกินไปจนทำให้หลอดเลือดและระบบร่างกายผิดปกติ ซึ่ง อาหารสําหรับคนเป็นเบาหวาน ควรเป็นอาหารที่มีใยอาหารสูง และมีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน ทำให้อิ่มได้นานและไม่หิวบ่อย รวมทั้งควรเป็นอาหารที่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นอย่างช้า ๆ และคงที่ [embed-health-tool-bmr] อาหารสําหรับคนเป็นเบาหวาน มีอะไรบ้าง อาหารสำหรับคนเป็นเบาหวานที่รับประทานในปริมาณที่เหมาะสมแล้วไม่ทำให้ระดับน้ำตาลสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และมีประโยชน์ต่อสุขภาพ อาจมีดังนี้ โปรตีน อาหารสำหรับคนเป็นเบาหวานประเภทโปรตีนเหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ได้แก่ เนื้อสัตว์ไม่ติดมันและหนัง ไข่ นมวัวและผลิตภัณฑ์จากนมวัว พืชตระกูลถั่ว (เช่น ถั่วฝักยาว ถั่วพู ถั่วแดง ถั่วเหลือง) โดยผู้ป่วยเบาหวานสามารถรับประทานได้ในปริมาณที่ไม่ต่างจากคนทั่วไป แต่สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนหลังจากเป็นโรคเบาหวานมาเป็นเวลาหลายปี เช่น โรคไตเรื้องรัง คุณหมออาจแนะนำให้จำกัดการรับประทานโปรตีน เพราะการรับประทานโปรตีนที่มากเกินไปอาจทำให้ความดันภายในไตเพิ่มขึ้น และอาจทำให้ไตทำงานหนักขึ้นเพื่อกรองของเสีย ทั้งยังอาจทำให้เนื้อไตเสียหายจนทำให้อาการแย่ลงได้ ผักและผลไม้ ผักและผลไม้อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุ เช่น วิตามินเอ วิตามินบี วิตามินซี แคลเซียม โพแทสเซียม แมกนีเซียม ทั้งยังมีเส้นใยอาหารสูง จึงเหมาะกับผู้ป่วยเบาหวาน อย่างไรก็ตาม ควรเลือกรับประทานผักและผลไม้สดที่มีค่าดัชนีน้ำตาล (Glycemic Index หรือ GI) ต่ำ เพราะจะถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายและเปลี่ยนเป็นน้ำตาลในกระแสเลือดได้ช้าและคงที่กว่าผักและผลไม้ที่มีดัชนีน้ำตาลสูง โดยผักและผลไม้ชนิดที่เหมาะกับผู้ป่วยเบาหวาน ได้แก่ […]


โรคเบาหวาน

เบาหวาน สาเหตุ อาการ ภาวะแทรกซ้อน และการรักษา

เบาหวาน เป็นภาวะที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ ซึ่งเกิดจากร่างกายจัดการอินซูลินและน้ำตาลได้ไม่ดีพอ เกิดจากการขาดฮอร์โมนอินซูลิน หรือตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ซึ่ง สาเหตุ ของเบาหวานอาจเกิดจากพันธุกรรม อายุ พฤติกรรมการรับประทานอาหาร การติดเชื้อ และโรคอ้วน ดังนั้น การสังเกตตัวเองอย่างสม่ำเสมอและปรับพฤติกรรมประจำวันบางอย่าง อาจช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติและป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ [embed-health-tool-bmr] เบาหวาน มี สาเหตุ จากอะไร โดยทั่วไปร่างกายจะมีฮอร์โมนอินซูลินซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ผลิตและหลั่งมาจากเบต้าเซลล์ (Beta Cell) ของตับอ่อนคอยทำหน้าที่เผาผลาญคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน จากนั้นจะนำน้ำตาลเข้าสู่เซลล์ต่าง ๆ เพื่อใช้เป็นพลังงาน ทั้งยังช่วยนำน้ำตาลบางส่วนไปเก็บไว้ที่ตับในรูปของไกลโคเจน (Glycogen) เพื่อรอนำไปใช้เป็นพลังงานในช่วงที่ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง ฮอร์โมนอินซูลินมีบทบาทสำคัญในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้สมดุล ไม่สูงหรือต่ำจนเกินไป แต่หากอินซูลินไม่สามารถลำเลียงน้ำตาลไปยังเซลล์ได้ตามปกติอย่างต่อเนื่อง จะทำให้มีน้ำตาลสะสมอยู่ในกระแสเลือดมากขึ้นเรื่อย ๆ จนนำไปสู่ภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูงเรื้อรังและเกิดเป็นเบาหวานได้ในที่สุด สาเหตุ ของ เบาหวาน อาจแบ่งตามชนิดของโรคได้ ดังนี้ เบาหวานชนิดที่ 1 (Type 1 Diabetes) เกิดจากร่างกายขาดอินซูลินเนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำลายเบต้าเซลล์ในตับอ่อน จนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินไปใช้เผาผลาญน้ำตาลเป็นพลังงานให้กับร่างกายได้ตามปกติ ทำให้มีน้ำตาลปริมาณมากสะสมอยู่ในกระแสเลือดอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเรื้อรัง ดังนั้น ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 จึงต้องฉีดยาอินซูลินเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด โดยทั่วไปต้องฉีดยาอินซูลินทุกวัน เบาหวานชนิดที่ […]


โรคเบาหวาน

วิธีลดน้ำตาลในเลือด มีอะไรบ้างที่ควรทำ

วิธีลดน้ำตาลในเลือด อาจทำได้หลายวิธี เช่น ควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย ลดน้ำหนัก หลีกเลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาลสูง วัตถุประสงค์ของการลดระดับน้ำตาลในเลือดเพื่อช่วยจัดการกับภาวะก่อนเป็นเบาหวานหรือเบาหวาน ซึ่งถือเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก เพราะหากปล่อยให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเรื้อรังอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนและอันตรายถึงชีวิตได้ [embed-health-tool-bmi] ระดับน้ำตาลในเลือด คืออะไร กลูโคสเป็นน้ำตาลที่ไหลเวียนอยู่ในเลือด ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานหลักของร่างกาย หากร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไปจะเป็นสัญญาณของโรคเบาหวาน เนื่องจากเกิดความผิดปกติของร่างกายที่ไม่สามารถเปลี่ยนกลูโคสให้เป็นพลังงานได้ จึงทำให้กลูโคสยังคงสะสมอยู่ในเลือดและเพิ่มขึ้น จนพัฒนากลายเป็นโรคเบาหวาน ระดับน้ำตาลก่อนมื้ออาหาร ค่าปกติควรอยู่ระหว่าง 60-100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร และเพิ่มขึ้นเป็น 140 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หลังจากมื้ออาหาร หากน้อยกว่าจะเรียกว่า ภาวะระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ หรือหากมากกว่าเรียกว่า ภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งทั้ง 2 ภาวะนี้มักเกี่ยวข้องกับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ดังนี้ ภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูง มักส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์และอื่น ๆ ซึ่งอาจส่งผลทำให้เกิดปัญหาสุขภาพและภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น ภาวะขาดน้ำอย่างรุนแรง เพราะร่างกายพยายามกำจัดน้ำตาลส่วนเกินทำให้ร่างกายอาจสูญเสียน้ำจำนวนมาก และภาวะร่างกายสลายไขมันเป็นแหล่งพลังงาน ซึ่งอาจนำไปสู่อาการโคม่าจากเบาหวานได้ ภาวะระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ มักส่งผลกระทบกับผู้ป่วยโรคเบาหวานที่รักษาด้วยยา โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ต้องรักษาด้วยอินซูลิน อาจเป็นอันตรายได้หากไม่ได้รับการรักษาอย่างรวดเร็วและอาจทำให้มีอาการ วิงเวียนศีรษะ หัวใจเต้นแรง ผิวซีด ร่างกายอ่อนแอ และมองเห็นภาพซ้อน สัญญาณของน้ำตาลในเลือดสูง การมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงอาจทำให้รู้สึกไม่สบาย ซึ่งสัญญาณชองน้ำตาลในเลือดสูง อาจมีดังนี้ […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

เบาหวาน ขึ้น ตา อาการ เป็นอย่างไร ควรดูแลตัวเองอย่างไร

ภาวะเบาหวานขึ้นตา (Diabetic Retinopathy) เป็นภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานที่เกิดจากระดับน้ำตาลในเลือดสูงสะสมเป็นระยะเวลานานและส่งผลให้หลอดเลือดและเนื้อเยื่อประสาทในจอประสาทตาเสียหาย เบาหวาน ขึ้น ตา อาการ ได้แก่ สายตาพร่ามัว ปวดตา ตาแดง การมองเห็นแย่ลงเรื่อย ๆ หากปล่อยทิ้งไว้และไม่ได้รับการวินิจฉัยหรือรักษาอย่างเหมาะสมอาจทำให้ตาบอดได้ [embed-health-tool-bmi] เบาหวาน ขึ้น ตา เกิดจาก อะไร เบาหวานขึ้นตาเกิดจากน้ำตาลในเลือดสูงเนื่องจากโรคเบาหวาน โดยเฉพาะผู้ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม เมื่อปล่อยทิ้งให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานานอาจทำให้จอประสาทตาหรือเรตินา (Retina) เสียหาย ซึ่งเกิดจากเส้นเลือดในดวงตาอุดตันทำให้เลือดไม่สามารถไหลเวียนได้ตามปกติ ส่งผลให้มีการสร้างเส้นเลือดใหม่ขึ้นมาทดแทน แต่เส้นเลือดใหม่มักจะเปราะบางและแตกง่าย ทำให้มีเลือด ของเหลว หรือไขมันรั่วซึม เกิดเป็นพังผืดดึงรั้งจอตาจนหลุดลอกออก ส่งผลให้จอตาบวมน้ำบริเวณจุดภาพชัด อาจทำให้มีอาการตามัว จนการมองเห็นแย่ลง นอกจากนี้ จอประสาทตามักเสื่อมลงเรื่อย ๆ ในกรณีที่รุนแรง หากมีเส้นเลือดฝอยอุดตัน อาจเกิดภาวะจุดภาพชัดขาดเลือดและอาจทำให้สูญเสียการมองเห็นถาวร เบาหวาน ขึ้น ตา อาการ เป็นอย่างไร ในระยะแรก เบาหวานขึ้นตามักยังไม่แสดงอาการที่สังเกตเห็นได้ชัดเจน บางรายอาจสังเกตว่าตัวเองมีภาวะการมองเห็นที่ผิดปกติ โดยอาการอาจเป็น ๆ หาย ๆ ขึ้นอยู่กับระดับของน้ำตาลในเลือดในขณะนั้น หากมีน้ำตาลในเลือดสูงก็อาจมีอาการที่สังเกตได้ชัดเจนกว่า เบาหวาน ขึ้น ตา อาการอาจมีดังนี้ สายตาพร่ามัว […]

โฆษณา
คำถามที่พบบ่อย
โฆษณา

คุณกำลังเป็นเบาหวานอยู่ใช่หรือไม่?

คุณไม่ได้อยู่ตัวคนเดียว เข้าร่วมชุมชนเบาหวานและแลกเปลี่ยนเรื่องราวและประสบการณ์ของคุณ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!


โฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม