backup og meta

วิธีรับมือโรคไตเรื้อรังจากเบาหวาน ทำได้อย่างไร

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 31/03/2022

    วิธีรับมือโรคไตเรื้อรังจากเบาหวาน ทำได้อย่างไร

    โรคไตเรื้อรังจากเบาหวาน เป็นหนึ่งในภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากโรคเบาหวาน โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่ควบคุมอาการของโรคเบาหวานได้ไม่ดี อีกทั้งยังเป็นหนึ่งในสาเหตุของการเสียชีวิตที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ดังนั้น จึงควรเรียนรู้เกี่ยวกับอาการและวิธีรับมือโรคไตเรื้อรังจากเบาหวาน เพื่อให้สามารถป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายนี้ได้อย่างเหมาะสม

    โรคไตเรื้อรังจากเบาหวาน คืออะไร?

    โรคไตเรื้อรังจากเบาหวานเป็นภาวะแทรกซ้อนที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของไต การที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าระดับปกติ จะเข้าไปทำลายเซลล์ไตให้เกิดความเสียหาย การทำงานของไตจะลดลงเรื่อย ๆ  ซึ่งอาจนำไปสู่การมีโปรตีนในปัสสาวะและเกิดภาวะไตวายในที่สุด

    อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าระดับน้ำตาลในเลือดสูงจะเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิด โรคไตเรื้อรัง จากเบาหวานก็ตาม แต่ในปัจจุบัน ยังไม่มีข้อระบุที่แน่ชัดถึงสาเหตุที่แท้จริง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสาเหตุและปัจจัยหลาย ๆ อย่าง เช่น น้ำหนักเกินมาตรฐานหรือภาวะอ้วน สมาชิกในครอบครัวเคยมีประวัติเป็นโรคไตและโรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง สูบบุหรี่ ความดันโลหิตสูง 

    อาการของโรคไตเรื้อรังจากเบาหวาน

    อาการของโรคไตจากผู้ป่วยโรคเบาหวานในระยะแรก จะไม่มีอาการแสดงออกให้เห็นชัดเจน จนกว่าจะเข้าสู่ระยะสุดท้ายของ โรคไตเรื้อรัง โดยมีอาการที่พบบ่อย ดังต่อไปนี้

  • เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย
  • เบื่ออาหาร
  • ปวดศีรษะ
  • ผิวแห้ง และมีอาการคันอย่างต่อเนื่อง
  • คลื่นไส้และอาเจียน
  • อาการบวมที่แขนและขา
  • หายใจถี่
  • อาการมึนงง สับสน
  • วิธีการรักษาโรคไตเรื้อรังจากเบาหวาน

    ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีภาวะไมโครอัลบูมิน (Microalbuminuria) หรือมีโปรตีนในปัสสาวะ แพทย์มักรักษาด้วยการให้ยาลดความดันโลหิตกลุ่มแองจิโอเทนซิน-คอนเวอร์ติง เอนไซม์   (Angiotensin-Converting Enzyme inhibitors หรือ ACE inhibitor) หรือกลุ่มยาต้านตัวรับแองจิโอเทนซิน (Angiotensin Receptor Blockers หรือ ARBs) 

    วิธีการป้องกันเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิด โรคไตเรื้อรัง จากเบาหวาน

    เราสามารถลดภาวะแทรกซ้อนของโรคไตเรื้อรังจากเบาหวานได้ ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด ดังนี้

    • เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงอาหารแปรรูป
    • ควบคุมระดับน้ำตาลในเลืด ด้วยการตรวจสอบวัดระดับน้ำตาลในเลือดอย่างสม่ำเสมอ
    • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
    • ควบคุมน้ำหนัก รักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน 
    • กำจัดปริมาณโซเดียมลดลงเหลือ 1,500-2,000 มก./ดล.
    • ควบคุมระดับคอเลสเตอรอลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    พลอย วงษ์วิไล


    เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 31/03/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา