backup og meta

โรคเบาหวาน เกิดจากฮอร์โมนชนิดใดทำงานผิดปกติ และการควบคุมอาการ

โรคเบาหวาน เกิดจากฮอร์โมนชนิดใดทำงานผิดปกติ และการควบคุมอาการ

โรคเบาหวาน เกิดจากฮอร์โมนชนิดใดทำงานผิดปกติ อาจเป็นคำถามที่หลายคนสงสัย เพื่อต้องการทราบถึงสาเหตุที่ชัดเจนและรับการรักษาได้อย่างตรงจุด ซึ่งโรคเบาหวานนี้นับเป็นโรคเรื้อรังที่เกิดขึ้นเมื่อร่างหายระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินกว่า 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หากทำการตรวจหลังจากงดอาหารมาอย่างน้อย 8 ชั่วโมง โรคเบาหวานนี้ โดยทั่วไปเเล้วไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถดูเเลตนเองให้ดีได้ โดยการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไต เส้นประสาทเสื่อม จอประสาทตาเสื่อม ต้อกระจก ต้อหิน ตาบอด 

[embed-health-tool-bmi]

โรคเบาหวาน เกิดจากฮอร์โมนชนิดใดทำงานผิดปกติ

โรคเบาหวาน คือ ภาวะที่ระดับน้ำตาลในร่างกายสูงกว่าปกติ เนื่องจากตับอ่อนผลิตฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอ ซึ่งเป็นสาเหตุของ โรคเบาหวานชนิดที่ 1 หรือเซลลในร่างกายตอบสนองต่ออินซูลินบกพร่อง เรียกว่ามีภาวะดื้ออินซูลิน จนส่งผลให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเเละเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ตามมา

อาการของโรคเบาหวาน

อาการของโรคเบาหวาน คือ อาการเเสดงจากการปล่อยให้ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นระยะเวลานาน ซึ่งมีตัวอย่างดังต่อไปนี้

  1. หิวบ่อยและรู้สึกเหนื่อยล้า เนื่องจากเมื่อมีน้ำตาลในเลือดสูงถึงระดับหนึ่ง ร่างกายจะไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้เปลี่ยนเป็นพลังงานได้อย่างเพียงพอ จึงส่งผลให้มีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยล้าได้ง่าย และรู้สึกอยากอาหารมากกว่าปกติ
  2. กระหายน้ำมากและปัสสาวะบ่อย เมื่อมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงไตจะขับน้ำตาลส่วนเกินออกในรูปแบบของปัสสาวะ จึงทำให้มีอาการปัสสาวะบ่อยขึ้น ทั้งนี้การที่ปัสสาวะบ่อยขึ้นทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำมากขึ้น สมองจึงกระตุ้นให้รู้สึกกระหายน้ำ เพื่อดื่มน้ำมาทดเเทนส่วนที่เสียไป
  3. ปากแห้งและผิวแห้ง เกิดจากร่างกายขาดน้ำเนื่องจากสาเหตุที่กล่าวด้านบน เเล้วไม่สามารถดื่มน้ำทดเเทนได้เพียงพอ ส่งผลให้เซลล์อื่น ๆ ในร่างกาย รวมไปถึงเซลล์ผิวหนังเเละริมฝีปากขาดขาดความชุ่มชื้นไปด้วย นำไปสู่อาการคันตามผิวหนัง ผิวแห้งแลปากแห้ง
  4. ปลายมือเเละเท้าชา เกิดจากหากมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นระยะเวลานานจะทำให้เส้นประสาทเสียหาย โดยมักเกิดกับเส้นประสาทส่วนปลายก่อนตำเเหน่งอื่น ๆ ส่งผลให้เกิดอาการชาหรือเสียวซ่าบริเวณปลายมือปลายเท้าได้ 
  5. น้ำหนักลดลงกระทันหัน ดังที่อธิบายในข้างต้นว่าเมื่อมีน้ำตาลในเลือดสูงถึงระดับหนึ่ง หากร่างกายจะไม่สามารถนำน้ำตาลซึ่งเป็นเเหล่งพลังงานหลักไปเผาผลาญพลังงาน ทำให้จำเป็นต้องเปลี่ยนไปเผาผลาญกล้ามเนื้อและไขมันมาใช้เป็นพลังงานแทน ส่งผลให้สูญเสียมวลกล้ามเนื้อเเละไขมัน จึงทำน้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว หากปล่อยทิ้งไว้อาจนำไปสู่ภาวะเลือดเป็นกรดซึ่งเป็นภาวะเเทรกซ้อนฉุกเฉินที่ร้ายเเรง เนื่องจากสารคีโตน (Ketones) ซึ่งได้ในกระบวนการเผาผลาญไขมัน มีคุณสมบัติเป็นกรด หากมีคีโตนสะสมในเลือดมาก จึงทำให้เลือดมีฤทธิ์เป็นกรดด้วย ซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย และอาจอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
  6. ปัญหาด้านการมองเห็น หากผู้ป่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ดีและปล่อยให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงอย่างต่อเนื่อง ก็อาจส่งผลให้หลอดเลือดของจอประสาทตาเสียหาย จอประสาทตาเสื่อม ทำให้มองเห็นภาพเบลอไม่ชัดเจน เพิ่มความเสี่ยงของโรคต้อกระจก ต้อหิน และอาจทำให้ตาบอดได้
  7. แผลหายช้า ระดับน้ำตาลในเลือดสูงที่เป็นเวลานานส่งผลทให้หลอดเลือดตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเสื่อมลง เเละ เสี่ยงต่อการตีบตัน กระทบต่อการไหลเวียนเลือด อีกทั้งยังทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของเซลลล์เม็ดเลือขาวลดลง ส่งผลต่อกระบวนการสมานแผล จึงทำให้แผลหายช้า

การควบคุมอาการของโรคเบาหวาน

การควบคุมอาการของโรคเบาหวาน หมายถึงการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์เป้าหมาย ซึ่งอาจทำได้ดังนี้

  1. การฉีดอินซูลิน เพื่อเพิ่มปริมาณของอินซูลินในร่างกาย ซึ่งอินซูลินสังเคราะห์นี้จะออกฤทธิ์เสมือนกับอินซูลินของมนุษย์ จึงสามารถช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ การใช้ยาฉีดอินซูลินควรต้องได้รับจากคุณหมอเท่านั้น เนื่องจากต้องคำนึงถึงปริมาณที่ใช้ ชนิดเเละวิธีการฉีด ที่ต่างกันไปตามชนิดของอินซูลิน รวมถึงคุณหมอจะพิจารณาให้เหมาะสมกับผู้ป่วยเเต่ละรายที่อีกด้วย ในเบื้องต้นเเล้ว วิธีการ อินซูลินอาจเเบ่งตามการออกฤทธิ์ได้ ดังนี้ อินซูลินชนิดออกฤทธิ์เร็ว อินซูลินชนิดออกฤทธิ์เร็วและสั้น อินซูลินชนิดออกฤทธิ์ปานกลาง เเละ อินซูลินชนิดออกฤทธิ์นาน
  2. ยารักษาโรคเบาหวาน หรือ ยาลดระดับน้ำตาลในเลือดชนิดรับประทาน ในปัจจจุบันมียาชนิดรับประทานหลายกลุ่มที่ออกฤทธิ์เพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือดผ่านกลไกที่หลากหลาย เช่น เมตฟอร์มิน (Metformin) ไกลเบนคลาไมด์ (Glibencamide) ไกลคาไซด์ (Gliclazide) ไกลพิไซด์ (Glipizide) ยาในกลุ่มเอสจีแอลทีทู อินฮิบิเตอร์ (SGLT2 Inhibitor) หรือยาในกลุ่มดีพีพีโฟร์ อินฮิบิเตอร์ (DPP-4 Inhibitor) ไพโอกลิทาโซน (Pioglitazone) ซึ่งสามารถใช้ยาหลายชนิดร่วมกันเพื่อให้สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ได้ตามเป้าหมายได้มากที่สุด 
  3. รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ควรเน้นเลือกรับประทานอาหารที่มีเเป้งเเละน้ำตาลต่ำ มีแคลอรี่ไม่สูง มีส่วนประกอบของไขมันดี รวมถึงมีใยอาหารสูง เช่น ปลาแซลมอน ปลาทูน่า อัลมอนด์ อะโวคาโด บลูเบอร์รี่ สตรอว์เบอร์รี่ ส้ม สับปะรด มะเขือเทศ ผักคะน้า กะหล่ำ ผักกาดขาว น้ำมันมะกอก ควบคุมระดับน้ำตาลเเละไขมันในเลือด นอกจากนี้ อาหารที่มีใยอาหารสูงยังอาจช่วยชะลอการดูดซึมน้ำตาลและไขมัน อีกทั้งยังทำให้รู้สึกอิ่มได้นานขึ้น จึงช่วยควบคุมน้ำหนักได้อีกด้วย
  4. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลและแป้งสูง เช่น อาหารทอด อาหารแปรรูป ขนมหวาน ข้าวขาว ขนมปังขาว มันฝรั่ง เผือก ข้าวโพด เครื่องดื่มที่มีน้ำตาลทุกชนิด น้ำอัดลม น้ำผลไม้และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อป้องกันไม่ให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งจะส่งผลให้อาการเบาหวานแย่ลงได้
  5. ออกกำลังกายเป็นประจำ เนะนำเป็นการออกกำลังกายเเบบเเอโรบิกที่ควาเหนื่อยระดับปานกลางเช่น วิ่งเหยาะ เดินเร็ว ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน วิ่งบนลู่วิ่ง ระยะเวลานาน ครั้งละอย่างน้อย 30 นาที เป็นเวลา 5 วัน/สัปดาห์ หรือ 150 นาที/สัปดาห์ หรือ อาจเพิ่มกิจกรรมที่ได้ขยับร่างายในชีวิตประจำวัน เช่น การทำงานบ้านหรือพาสัตว์เลี้ยงออกไปเดินเล่น การเดินขึ้นบันไดเเทนกากใช้ลิฟท์ สามารถช่วยกระตุ้นการผลิตอินซูลิน เเละ ช่วยให้เซลล์ตอบสนองต่ออินซูลินได้ดีขึ้น นำไปสู่การเผาผลาญเเละจัดการน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้น จึงช่วยควบคุมโรคเบาหวานได้
  6. เลิกสูบบุหรี่ การสูบบุหรี่จะเพิ่มความเสี่ยงให้ร่างกายเกิดภาวะดื้อต่ออินซูลินเพิ่มขึ้น ทส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นกว่าที่ควร และทำให้อาการเบาหวานแย่ลงได้ อีกทั้งยังเพิ่มความเสี่ยงของโรคร้ายแรงอื่น ๆ เช่น โรคมะเร็งปอด ถุงลมโป่งพอง โรคหัวใจ โรคอัมพฤกษ์/อัมพาต
  7. หมั่นตรวจน้ำตาลในเลือดเป็นประจำ การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเป็นประจำสามารถตรวจได้ด้วยตัวเองที่บ้านโดยใช้เครื่องตรวจนำ้ตาลปลายนิ้ว และจดบันทึกค่าน้ำตาลในเลือดรวมถึงช่วงเวลาที่ตรวจแต่ละครั้ง เพื่อให้ทราบถึงระดับน้ำตาลในเลือดที่เเท้จริงของตนในขณะนั้น ๆ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้ดียิ่งขึ้น อีกทั้งยังเป็นข้อมูลให้คุณหมอในการพิจารณาเลือกหรือปรับการรักษาให้เหมาะสมกับตัวผู้ป่วยได้ดีขึ้นอีกด้วย

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Early Signs and Symptoms of Diabetes. https://www.webmd.com/diabetes/guide/understanding-diabetes-symptoms.Accessed January 11, 2023

Diabetes. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/diabetes/symptoms-causes/syc-20371444.Accessed January 11, 2023

รู้ลึก รู้จริง “อินซูลิน” https://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=778.Accessed January 11, 2023

Diabetes treatment: Using insulin to manage blood sugar. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/diabetes/in-depth/diabetes-treatment/art-20044084.Accessed January 11, 2023

Insulin. https://www.diabetes.co.uk/body/insulin.html.Accessed January 11, 2023 

Pancreas and Diabetes https://www.diabetes.co.uk/body/pancreas-and-diabetes.html.Accessed January 11, 2023

Diabetes prevention: 5 tips for taking control. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/type-2-diabetes/in-depth/diabetes-prevention/art-20047639.Accessed January 11, 2023

เวอร์ชันปัจจุบัน

28/02/2023

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงบุรัสกร ทวีบูรณ์

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

ภาวะแทรกซ้อนเบาหวาน เกิดจากอะไร และควรป้องกันอย่างไร

ง่วงนอนตลอดเวลา เบาหวาน มีสาเหตุมาจากอะไร


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงบุรัสกร ทวีบูรณ์

โรคเบาหวาน · SRK BMI Center


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 28/02/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา