backup og meta

เจ็บหน้าอก เป็นเพราะโรควิตกกังวล หรือโควิด-19

เจ็บหน้าอก เป็นเพราะโรควิตกกังวล หรือโควิด-19

นอกจากอาการมีไข้ ไอ หายใจลำบาก เหนื่อยหอบ และอ่อนเพลีย อาการเจ็บหน้าอกก็เป็นอีกหนึ่งอาการที่พบได้บ่อยในผู้ที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 นั่นอาจทำให้บางคนที่ เจ็บหน้าอก หรือแน่นหน้าอก คิดว่าติดโควิด-19 แต่อาการเจ็บหน้าอกที่เกิดขึ้นนั้น อาจเป็นผลมาจากความวิตกกังวลก็ได้ การรู้สาเหตุและอาการของการเจ็บหน้าอก อาจช่วยให้รับมือได้เหมาะสมขึ้น

[embed-health-tool-bmi]

เจ็บหน้าอก เพราะวิตกกังวลหรือโควิด-19

แม้การติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 และโรควิตกกังวล จะทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอกได้เหมือนกัน แต่ก็สามารถสังเกตความแตกต่างของอาการเจ็บหน้าอกเพราะวิตกกังวล กับอาการเจ็บหน้าอกเพราะติดโควิด-19 ได้ง่าย ๆ ดังต่อไปนี้

เจ็บหน้าอก เพราะวิตกกังวล

อาจมีอาการเจ็บหน้าอกร่วมกับอาการต่อไปนี้

  • วิตกกังวล ตื่นตระหนก หวาดกลัว และประหม่า
  • คิดมาก หรือคิดไปเรื่อยแบบควบคุมไม่ได้
  • คิดเรื่องเดิมซ้ำ ๆ หรือชอบคิดถึงเหตุการณ์สะเทือนใจ หรือแผลใจที่เกิดขึ้นในอดีต
  • เหงื่อออกมาก โดยเฉพาะที่มือและเท้า หรือมีอาการชาที่มือและเท้า
  • หายใจไม่อิ่ม หายใจหอบถี่ หรือมีภาวะหายใจเกิน หรือภาวะไฮเปอร์เวทิเลชัน (Hyperventilation) คือ แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก อึดอัด หายใจเร็วแรง มึนศีรษะ หน้ามืด
  • สงบสติอารมณ์ไม่ได้
  • ปากแห้ง คลื่นไส้ เวียนศีรษะ
  • กระวนกระวาย อยู่ไม่สุข
  • เหนื่อยง่าย อ่อนเพลียง่าย
  • ไม่มีสมาธิ ขาดสติ
  • กล้ามเนื้อหดเกร็ง
  • มีปัญหาในการนอนหลับ เช่น นอนหลับยาก นอนหลับไม่เต็มอิ่ม
  • ลำไส้แปรปรวน หรือท้องเสีย

เจ็บหน้าอก เพราะโควิด-19

อาจมีอาการเจ็บหน้าอกร่วมกับอาการต่อไปนี้

  • มีไข้
  • หายใจลำบาก
  • เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย
  • ไอแห้ง
  • จาม

ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการไอมีเสมหะ น้ำมูกไหล ปวดกล้ามเนื้อ ท้องเสีย สูญเสียการได้กลิ่นหรือการรับรส ตาแดง หรือมีผื่นขึ้นตามลำตัวคล้ายลมพิษได้ด้วย

อาการเจ็บหน้าอกเพราะวิตกกังวลมักเกิดขึ้นแบบฉับพลัน ต่างจากอาการเจ็บหน้าอกเพราะโควิด-19 ที่มักจะค่อย ๆ รุนแรงหรือมีอาการบ่อยขึ้นในช่วง 2-3 วัน แต่นอกจากอาการเจ็บหน้าอกแล้ว อีกหนึ่งอาการที่ทั้งผู้เป็นโรคโควิด-19 และวิตกกังวลมีเหมือนกัน ก็คือ ปัญหาในการหายใจ เช่น หายใจลำบาก หายใจไม่อิ่ม แต่ก็สามารถสังเกตความแตกต่างได้ คือ หากเป็นอาการหายใจลำบากที่เกิดจากโรควิตกกังวล ส่วนใหญ่มักมีอาการนาน 20-30 นาที โดยอาการจะรุนแรงอยู่ที่ประมาณ 10 นาที แต่หากเป็นเพราะโควิด-19 อาการหายใจลำบากจะคงอยู่นานกว่า

วิธีรับมือหากเจ็บหน้าอกเฉียบพลัน

วิธีรับมือเมื่อเกิดอาการเจ็บหน้าอกเฉียบพลัน อย่างแรกคือ ไม่ควรตื่นตระหนก หรือนั่งวิเคราะห์ว่าเป็นเพราะโควิด-19 หรือโรควิตกกังวล แต่ควรรับมือกับอาการที่เกิดขึ้นในเบื้องต้น ด้วยเทคนิคการหายใจที่ช่วยให้ผ่อนคลาย เช่น เทคนิคหายใจแบบ 4-7-8 หรือ ค่อย ๆ หายใจเข้าทางจมูกลึก ๆ จากนั้นหายใจออกทางปากให้ช้ากว่าตอนหายใจเข้า ทำซ้ำจนกว่าจะรู้สึกสงบ หายใจได้สะดวกขึ้น หรือมีอาการเจ็บหน้าอกน้อยลง แต่หากเกิน 15 นาทีแล้ว อาการเจ็บหน้าอกยังไม่ดีขึ้น ควรรีบโทรเรียกรถพยาบาลหรือรีบไปโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดทันที

อาการที่ควรรีบไปพบคุณหมอ

หากมีอาการเจ็บหน้าอก ร่วมกับอาการดังต่อไปนี้ ควรรีบไปพบคุณหมอทันที

  • อาการเจ็บลามไปที่แขน หลัง คอ หรือขากรรไกร
  • เจ็บแน่นหน้าอกมากจนหายใจไม่ออก
  • รู้สึกหน้ามืด
  • มีเหงื่อเย็น
  • มีอาการรุนแรงนานเกิน 15 นาที

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Chest Pain: COVID-19 or Anxiety?. https://blogs.webmd.com/webmd-doctors/20200408/chest-pain-covid19-or-anxiety. Accessed April 16, 2020

Is It Anxiety, a Panic Attack, or COVID-19?. https://www1.nyc.gov/assets/doh/downloads/pdf/imm/covid-19-anxiety-panic.pdf. Accessed April 16, 2020

Anxiety vs. Coronavirus: How to Tell the Difference. https://www.psychologytoday.com/us/blog/your-emotional-meter/202003/anxiety-vs-coronavirus-how-tell-the-difference. Accessed April 16, 2020

Is My Chest Tightness Anxiety or the Coronavirus?. https://www.thecut.com/2020/03/anxiety-or-coronavirus.html. Accessed April 16, 2020

Chest pain. https://www.nhs.uk/conditions/chest-pain/. Accessed April 16, 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

03/11/2022

เขียนโดย เนตรนภา ปะวะคัง

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย เนตรนภา ปะวะคัง

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

กักตัวอยู่บ้านช่วงโควิด-19 นานจนเครียด อาจส่งผลร้ายต่อผิวของเราไม่รู้ตัว

เทคนิคนอนหลับง่าย ช่วงโควิด-19 ระบาด ใครที่เครียดจนนอนไม่หลับ ทำตามด่วน!


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

เนตรนภา ปะวะคัง


เขียนโดย เนตรนภา ปะวะคัง · แก้ไขล่าสุด 03/11/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา