backup og meta

เทเลเฮลธ์ ช่วยให้คุณใกล้หมอ แบบไม่ต้องไปรอที่โรงพยาบาลในช่วงโควิด-19

เทเลเฮลธ์ ช่วยให้คุณใกล้หมอ แบบไม่ต้องไปรอที่โรงพยาบาลในช่วงโควิด-19

แม้บางประเทศจะเริ่มประกาศให้สถานที่ต่างๆ เปิดทำการได้แล้ว แต่ก็ยังมีคนจำนวนไม่น้อยที่ยังต้องกักตัวอยู่บ้าน หรือบางคนอาจจะยังรู้สึกวิตกกังวลที่จะต้องออกไปข้างนอก เพื่อทำกิจกรรมต่างๆ ตามปกติ บางคนอาจจะยังรู้สึกไม่กล้าไปโรงพยาบาล เนื่องจากเหตุผลหลายๆ ประการ ดังนั้น การใช้ เทเลเฮลธ์ เพื่อติดต่อสื่อสารกับคุณหมอ ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่สามารถทำได้ ในช่วงที่โรคโควิด-19 ยังคงระบาดอยู่ ซึ่งทาง Hello คุณหมอ มีเรื่องนี้มาฝากกัน

ทำความรู้จักกับ เทเลเฮลธ์ (Telehealth)

เทเลเฮลธ์ (Telehealth) เป็นการใช้เทคโนโลยีในการติดต่อสื่อสารและให้ข้อมูล เพื่อเข้าถึงบริการดูแลสุขภาพจากระยะไกล รวมถึงการดูแลสุขภาพผ่านคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์พกพา อย่างเช่น สมาร์ทโฟน ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถใช้งานได้จากที่บ้าน ทั้งยังทำให้แพทย์ใช้ในการให้บริการด้านการดูแลสุขาพได้ด้วย

เทเลเฮลธ์ถือว่าเหมาะกับสถานการณ์โรคระบาด อย่างโควิด-19 เป็นอย่างมาก เพราะการใช้เทเลเฮล์นี้ นอกจากจะไม่ต้องออกไปนอกบ้านที่อาจเพิ่มความเสี่ยงในการรับเชื้อแล้ว ระบบเทเลเฮลธ์ยังสามารถใช้งานได้หลากหลายมากกว่าแค่การติดต่อสื่อสารกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอีกด้วย

ประโยชน์ที่จะได้จากการใช้ เทเลเฮลธ์

สำหรับประโยชน์ที่จะได้จากการใช้เทเลเฮลธ์ที่มากกว่าการติดต่อสื่อสารกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ มีดังนี้

  • สามารถใช้งานได้ทุกที่ ทุกเวลา ในพื้นที่ที่ปลอดภัย
  • อัปโหลดบันทึกอาหาร ยา และข้อมูลต่างๆ เพื่อใช้สำหรับตรวจสอบโดยพยาบาลผ่านทางเทเลเฮลธ์
  • ดูวิดีโอเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพได้ด้วยตัวเอง รวมถึงดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่นไปยังโทรศัพท์ได้
  • ใช้ประเมินอาหาร และระดับการออกกำลังกาย
  • แพทย์สามารถดูผลการทดสอบของคุณ เมื่อถึงเวลากำหนดนัดหมาย
  • ใช้ในการขอยาเพิ่มเติม หรือส่งอีเมลถึงแพทย์
  • สั่งสื่ออุปกรณ์แพทย์ และยาแบบออนไลน์
  • รับข้อมูลในการดูแลและป้องกันตัวเอง ผ่านทางอีเมล ข้อความ และสมาร์ทโฟน

ต้องเตรียมอะไรบ้างเมื่อต้องใช้บริการเทเลเฮลธ์

ก่อนที่จะใช้งานเทเลเฮลธ์ จำเป็นจะต้องเตรียมความพร้อม ดังนี้

เตรียมระบบ

การเตรียมระบบให้พร้อมนั้น ก็คือการดูว่าแพทย์ของคุณใช้แพลตฟอร์มวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ (Video conference) อะไร เพื่อจะได้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปลอดภัย และเพื่อความอุ่นใจของตัวเอง บางครั้งแพทย์บางคนอาจจะเสนอให้ใช้โทรศัพท์แทนการใช้วิดีโอก็ได้

หลังจากดาวน์โหลดซอฟต์แวร์ในการใช้เทเลเฮลธ์มาแล้ว ควรจะต้องมีการทดสอบการใช้งานเสียก่อน เพื่อให้แน่ใจว่าสามารถใช้งานได้จริงเมื่อถึงเวลานัด จากนั้นควรจะต้องแน่ใจว่าคุณมีข้อมูลติดต่อแพทย์ที่จะทำการรักษา และตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณจะเป็นผู้ติดต่อไปยังแพทย์ หรือแพทย์จะเป็นผู้ติดต่อมาหาคุณ

การใช้เทเลเฮลธ์นั้นมีแนวโน้มที่จะใช้การประมลผลจำนวนมากในเครื่องคอมพิวเตอร์ ดังนั้นอาจจะทำให้เกิดความล่าช้า และรบกวนคุณภาพของวิดีโอ ดังนั้นเมื่อจำเป็นจะต้องใช้เทเลเฮลธ์ ควรจะปิดโปรแกรมที่ไม่จำเป็น เพื่อลดปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น และทำให้ใช้งานได้ราบรื่นขึ้น นอกจากนั้นควรใช้หูฟังของตัวเอง เพื่อความเป็นส่วนตัว และคุณภาพเสียงที่ดี

เตรียมสถานที่

หากไม่มีพื้นที่เฉพาะสำหรับใช้งานเทเลเฮลธ์ พยายามค้นหาสถานที่ในบ้านที่รู้สึกว่ามีความเป็นส่วนตัวมากที่สุด พร้อมตรวจสอบให้แน่ใจว่าสถานที่ที่เลือกนั้นมีที่นั่งที่สุดสะดวกสบาย เหมาะแก่การนั่งเป็นระยะเวลานาน ตั้งกล้องให้อยู่บริเวณใบหน้าของคุณ เพื่อคุณหมอจะได้มองเห็นใบหน้าของคุณได้อย่างชัดเจน พยายามวางหน้าจอให้อยู่บนพื้นผิวที่มั่นคง เพื่อไม่ให้เกิดการเคลื่อนไหว

ที่สำคัญอย่าลืมปิดอีเมลหรือการแจ้งเตือนต่างๆ ที่อาจจะทำให้เสียสมาธิระหว่างที่กำลังพูดคุยกับแพทย์ การปิดการแจ้งเตือนจะทำให้คุณสนใจกับการพุดคุยกับแพทย์ได้ดียิ่งขึ้น

เตรียมความพร้อมของตนเอง

นอกจากการเตรียมระบบ และเตรียมสถานที่ให้พร้อมแล้ว การเตรียมตัวเองก็เป็นอีกเรื่องที่ควรทำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพูดที่จะต้องใช้เทเลเฮลธ์ในการบำบัดทางจิต (Therapy) ในบางครั้งคุณอาจจะมีความรู้สึกวิตกกังวลเกิดขึ้น ดังนั้น ก่อนที่จะทำการใช้เทเลเฮลธ์ในการบำบัดควรจะต้องหายใจเพื่อเพิ่มความผ่อนคลายให้กับตัวเองสัก 10 นาที หลังจากนั้นจึงค่อยๆ เริ่มประมวลความคิดและอารมณ์ของตัวเอง

แน่นอนว่าการดูแลตัวเองในขณะที่เชื้อโคโรนาไวรัสยังระบาดอยู่ ถือเป็นเรื่องที่จำเป็น แต่หากคุณเจ็บป่วยอย่างหนัก การไปโรงพยาบาลเพื่อพบคุณหมอก็ยังสามารถทำได้ แต่ก็อย่าลืมสวมหน้ากากอนามัย และล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง เพื่อป้องกันตัวเองจากเชื้อโคโรนาไวรัส และเชื้อโรคอื่นๆ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัย หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Telemedicine & Health IT. https://www.who.int/goe/policies/countries/usa_support_tele.pdf. Accessed May 18, 2020

How to Make the Most of Online Therapy During COVID-19. https://blogs.webmd.com/mental-health/20200323/how-to-make-the-most-of-online-therapy-during-covid-19. Accessed May 18, 2020

7 Tips for Making the Most of Online Therapy During the COVID-19 Outbreak. https://www.healthline.com/health/mental-health/7-essential-tips-for-making-the-most-of-online-therapy-during-covid-19. Accessed May 18, 2020

Telehealth: Technology meets health care. https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/consumer-health/in-depth/telehealth/art-20044878. Accessed May 18, 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

25/05/2020

เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

เครื่องปรับอากาศกับโรคโควิด-19 และ ข้อเท็จจริงที่คุณควรรู้

โควิด-19 สาเหตุของ โรคหลอดเลือดตีบตันเฉียบพลันในคนหนุ่มสาว


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 25/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา