backup og meta

โปรเจสเตอโรน (Progesterone)

โปรเจสเตอโรน (Progesterone)

ข้อบ่งใช้

ยา โปรเจสเตอโรน ใช้สำหรับ

ยาโปรเจสเตอโรน (Progesterone) คือฮอร์โมนเพศหญิง ที่มีความสำคัญต่อการควบคุมการตกไข่ และการมีประจำเดือน

ยาโปรเจสเตอโรนใช้เพื่อทำให้เกิดการมีประจำเดือน ในผู้หญิงที่ยังไม่ถึงวัยหมดประจำเดือน (menopause) แต่ไม่มีประจำเดือน เนื่องจากขาดฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนภายในร่างกาย ยานี้ยังใช้เพื่อป้องกันเนื้องอกในเยื่อบุโพรงมดลูก สำหรับผู้หญิงที่รับการรักษาทดแทนฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen hormone replacement therapy)

ยาโปรเจสเตอโรนยังอาจใช้สำหรับจุดประสงค์อื่น นอกเหนือจากที่มีอยู่ในแนวทางการใช้ยาได้อีกด้วย

วิธีการใช้ยา โปรเจสเตอโรน

ยาโปรเจสเตอโรนนั้นบางครั้งจะใช้ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ เช่น 6-12 วัน ในช่วงขณะรอบการมีประจำเดือนแต่ละครั้ง ควรรับประทานยาตามตาราง เพื่อให้ยามีประสิทธิภาพ พยายามอย่าข้ามมื้อยาใดๆ

ยานี้มาพร้อมกับผู้มือแนะนำวิธีการใช้สำหรับผู้ป่วย เพื่อการใช้ยาอย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ สอบถามแพทย์หรือเภสัชกร หากคุณมีข้อสงสัยใดๆ

รับประทานยาโปรเจสเตอโรนพร้อมกับน้ำเต็มแก้ว

ทายาโปรเจสเตอโรนแบบครีมลงบนผิวตามที่แพทย์สั่ง

ยาโปรเจสเตอโรนแบบฉีดเป็นช็อต (shot) เข้าในกล้ามเนื้อ แพทย์ พยาบาล หรือผู้ดุแลสุขภาพจะเป็นผู้ฉีดยาให้ คุณอาจต้องเรียนรู้วิธีการฉีดยาที่บ้าน อย่าใช้ยานี้เองที่บ้าน หากคุณยังไม่เข้าใจวิธีการฉีดยาและการกำจัดอุปกรณ์ฉีดยาอย่างเหมาะสม

ยานี้สามารถทำให้เกิดความผิดปกติกับผลการทดสอบทางการแพทย์บางชนิดได้ แจ้งให้แพทย์ทราบว่าคุณกำลังใช้ยาโปรเจสเตอโรน

แพทย์อาจจำเป็นต้องนัดตรวจคุณเป็นประจำ ขณะที่กำลังใช้ยานี้ ควรไปตามนัดของแพทย์ทุกครั้ง

การเก็บรักษายา โปรเจสเตอโรน

ยาโปรเจสเตอโรนควรเก็บในอุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงแสงหรือความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเกิดความเสียหาย ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง ยาโปรเจสเตอโรนบางยี่ห้ออาจจะต้องเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงควรตรวจสอบฉลากยาหรือสอบถามเภสัชกรเสมอ เพื่อความปลอดภัย โปรดเก็บยาให้ห่างจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง

ไม่ควรทิ้งยาโปรเจสเตอโรนลงในชักโครก หรือเทยาลงในท่อระบายน้ำ เว้นเสียแต่จะได้รับคำแนะนำให้ทำ ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้องเมื่อยาหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้งาน โปรดสอบถามเภสัชกรเพิ่มเติม เกี่ยวกับวิธีการกำจัดยาที่ถูกต้อง

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ยาโปรเจสเตอโรน

ระหว่างที่กำลังพิจารณาเลือกใช้ยา แพทย์จะพิจารณาความเสี่ยงของการใช้ยาต่อประโยชน์ของยาเสียก่อน สำหรับยานี้ควรพิจารณาดังต่อไปนี้

โรคภูมิแพ้

แจ้งให้แพทย์ทราบ หากคุณเคยมีอาการที่ผิดปกติ หรืออาการแพ้ต่อยานี้ นอกจากนี้ยังควรแจ้งให้แพทย์ทราบ เกี่ยวกับโรคภูมิแพ้อื่นๆ ที่คุณเป็น เช่น แพ้อาหาร สีย้อม สารกันบูด หรือสัตว์ สำหรับยาที่หาซื้อเอง ควรอ่านฉลากยา หรือส่วนประกอบของยาอย่างละเอียด

เด็ก

ไม่มีการบ่งชี้การใช้ยาโปรเจสเตอโรนในผู้ป่วยเด็ก ยังไม่มีการพิสูจน์ความความปลอดภัยและประสิทธิภาพ

ผู้สูงอายุ

แม้ว่าในปัจจุบันจะยังไม่มีงานวิจัย ที่เกี่ยวกับเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างอายุต่อประสิทธิภาพของการใช้ยาโปรเจสเตอโรนในผู้สูงอายุ ยังไม่มีการศึกษาปัญหาเกี่ยวกับผู้สูงอายุโดยเฉพาะ แต่ผู้ป่วยสูงอายุมักจะมีโอกาสเป็นโรคมะเร็งเต้านม โรคหลอดเลือดสมอง หรือภาวะสมองเสื่อม (Dementia) ดังนั้น จึงควรระมัดระวังในการใช้ยาโปรเจสเตอโรน

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีที่ใช้ยานี้ในช่วงการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อหาประโยชน์และความเสี่ยงก่อนการใช้ยานี้

ยาโปรเจสเตอโรนจัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์ หมวด B โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)

การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกามีดังนี้

  • A= ไม่มีความเสี่ยง
  • B= ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
  • C= อาจจะมีความเสี่ยง
  • D= มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
  • X= ห้ามใช้
  • N= ไม่ทราบแน่ชัด

การให้นมบุตร

งานวิจัยในผู้หญิงนั้นแสดงให้เห็นว่า ยานี้มีความเสี่ยงในระดับน้อยที่สุดต่อเด็กทารก เมื่อใช้ยาขณะให้นมบุตร

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้ยาโปรเจสเตอโรน

รับการรักษาในทันทีหากคุณมีสัญญาณของอาการแพ้ดังนี้ ได้แก่ ลมพิษ หายใจติดขัด บวมที่ใบหน้า ริมฝีปาก ลิ้น หรือลำคอ

หยุดใช้ยาและแจ้งให้แพทย์ทราบในทันที หากคุณมีผลข้างเคียงที่รุนแรง เช่น

  • มีอาการชาหรืออ่อนแรงฉับพลัน โดยเฉพาะที่ด้านหนึ่งของร่างกาย
  • มีอาการปวดหัวฉับพลัน สับสน ปวดด้านหลังดวงตา มีปัญหากับการมองเห็น การพูด หรือการทรงตัว
  • หัวใจเต้นเร็วหรือรัว
  • ปวดหน้าอกหรือรู้สึกหนัก มีอาการปวดที่แพร่กระจายไปยังแขนหรือไหล่ คลื่นไส้ เหงื่อออก รู้สึกป่วยทั่วๆ ไป
  • มีเลือดออกในช่องคลอดที่ผิดปกติหรือไม่คาดคิด
  • ปวดหัวไมเกรน
  • คลื่นไส้ ปวดท้อง เป็นไข้ต่ำ เบื่ออาหาร ปัสสาวะสีเข้ม อุจจาระสีคล้ายดินเหนียว ดีซ่าน (ดวงตาหรือผิวเป็นสีเหลือง)
  • มีอาการบวมที่แขน ข้อมือ หรือเท้า
  • เป็นไข้ หนาวสั่น ปวดตัว มีอาการของไข้หวัดใหญ่
  • มีก้อนในเต้านม
  • มีอาการของโรคซึมเศร้า (เช่น ปัญหากับการนอนหลับ อ่อนแรง อารมณ์เปลี่ยนแปลง)

ผลข้างเคียงที่รุนแรงน้อยกว่ามีดังต่อไปนี้

  • มีอาการคลื่นไส้ ท้องร่วง ท้องอืด ปวดท้องในระดับเบา
  • วิงเวียน รู้สึกโลกหมุน
  • ร้อนวูบวาบ
  • ปวดหัวในระดับเบา
  • ปวดข้อต่อ
  • มีอาการปวดหรือกดเจ็บที่เต้านม
  • ไอ
  • มีสิวหรือมีขนมากขึ้น
  • น้ำหนักเปลี่ยนแปลง
  • มีอาการคัน แห้ง หรือสารคัดหลั่งที่ช่องคลอด

ไม่ใช่ทุกคนจะเจอกับผลข้างเคียงเหล่านี้ และอาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

ยาโปรเจสเตอโรนอาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรจะบอกแพทย์หรือเภสัชกรของคุณว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง (ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง และสมุนไพรต่างๆ) เพื่อความปลอดภัย โปรดอย่าเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาใดๆ โดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

โดยปกติแล้ว ไม่แนะนำให้ใช้ยากลุ่มนี้กับยาดังต่อไปนี้ แต่อาจจำเป็นในบางกรณี หากคุณได้รับใบสั่งยาทั้งคู่ร่วมกัน แพทย์อาจจะต้องเปลี่ยนขนาดยา หรือความถี่ในการใช้ยา ตัวหนึ่งหรือทั้งคู่

  • ดาบราเฟนิบ (Dabrafenib)
  • เอสลิคาร์เบเซฟีน แอซิเตต (Eslicarbazepine Acetate)

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

ยาโปรเจสเตอโรนอาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

ยาบางชนิดไม่ควรใช้ในช่วงที่กำลังรับประทานอาหาร หรือรับประทานอาหารบางชนิด เนื่องจากอาจเกิดปฏิกิริยาขึ้น การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือสูบบุหรี่ พร้อมกับใช้ยาบางชนิด ก็อาจทำให้เกิดปฏิกิริยาเช่นกัน โปรดสอบถามแพทย์ หากคุณใช้ยาพร้อมกับรับประทานอาหาร ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือสูบบุหรี่

ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

ยาโปรเจสเตอโรนอาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงสภาวะโรคของคุณก่อนใช้ยาเสมอ

ปัญหาทางการแพทย์อาจส่งผลกระทบต่อการใช้ยานี้ได้ ควรแจ้งให้แพทย์ทราบเกี่ยวกับปัญหาทางการแพทย์อื่นๆ ที่คุณเป็น โดยเฉพาะ

  • อาการเลือดออกทางช่องคลอดที่ผิดปกติ
  • โรคภูมิแพ้ต่อถั่วลิสงหรือน้ำมันถั่วลิสง
  • เป็นหรือเคยเป็นโรคลิ่มเลือด เช่น ภาวะหลอดเลือดดำอุดตัน (deep vein thrombosis) โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด (pulmonary embolism)
  • โรคมะเร็งเต้านม (Breast cancer) รู้ว่าเป็นโรค สงสัย หรือว่าเคยเป็นโรค
  • เป็นหรือเคยเป็นโรคหัวใจขาดเลือดฉับพลัน
  • โรคตับ
  • เป็นหรือเคยเป็นโรคหลอดเลือดสมอง ไม่ควรใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่มีอาการนี้
  • โรคหอบหืด
  • โรคเบาหวาน
  • โรคบวมน้ำ (Edema)
  • เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis)
  • โรคลมชัก (Epilepsy) หรืออาการชัก (seizures)
  • โรคหัวใจ (Heart disease)
  • ภาวะแคลเซียมในเลือดสูง (Hypercalcemia)
  • ภาวะไขมันในเลือดสูง (Hypercholesterolemia)
  • ภาวะความดันโลหิตสูง (Hypertension)
  • โรคไต
  • โรคปวดหัวไมเกรน (Migraine headache)
  • โรคแพ้ภูมิตัวเอง (Systemic lupus erythematosus)
  • ปัญหาเกี่ยวกับไทรอยด์ (Thyroid problems) ควรใช้ด้วยความระมัดระวัง อาจทำให้อาการนี้แย่ลง

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้ง เพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดยาโปรเจสเตอโรนสำหรับผู้ใหญ่

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาภาวะขาดประจำเดือน (Amenorrhea)

  • 5-10 มก. ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ เป็นเวลา 6-8 วันติดต่อกัน
  • 400 มก. รับประทานเป็นเวลา 10 วัน ในตอนเย็น

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาภาวะเลือดออกจากโพรงมดลูก (Uterine Bleeding):

  • 5-10 มก. ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ รับประทานทุกวัน 6 ครั้ง

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่สำหรับภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัวผิดปกติ (Endometrial Hyperplasia) ป้องกัน

  • 200 มก. รับประทานเป็นเวลา 12 วันติดต่อกัน ต่อรอบ 28 วัน ในตอนเย็น

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาภาวะขาดโปรเจสเตอโรน (Progesterone Insufficiency)

เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ – เจล

  • 90 มก. ของเจล 8% ทาวันละครั้งภายในช่องคลอด สำหรับผู้หญิงที่ต้องการการเสริมฮอร์โมน
  • 90 มก. ของเจล 8% ทาวันละสองครั้งภายในช่องคลอด สำหรับผู้หญิงที่มีภาวะรังไข่ล้มเหลวบางส่วนหรือทั้งหมดและต้องการการทดแทน
  • หากตั้งครรภ์ สามารถใช้การรักษาด้วยการทายาภายในช่องคลอดได้จนกระทั่งสายรกหลุด (placental autonomy) นานถึง 10-12 สัปดาห์

เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ – ยาสอดช่องคลอด

  • 100 มก. สอดเข้าทางช่องคลอด 2 หรือ 3 ครั้งต่อวัน เริ่มตั้งแต่การเก็บไข่ (Oocyte retrieval) และดำเนินต่อไปเป็นเวลา 10 สัปดาห์
  • ยังไม่มีการพิสูจน์ประสิทธิภาพในผู้หญิงที่อายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป ยังไม่มีการบ่งชี้ขนาดยาที่เหมาะสมกับคนในกลุ่มอายุนี้

ภาวะขาดโปรเจสเตอโรนที่เกี่ยวข้องกับวัยหมดประจำเดือนและระยะก่อนหมดประจำเดือน (perimenopause)

  • ครีมยาโปรเจสเตอโรนเฉพาะที่ 1.7% : ทายา 1/4 ถึง 1/2 ช้อนโต๊ะ ลงบนฝ่ามือ ฝ่าเท้าหรือบริเวณผิวที่อ่อนนุ่มอื่นๆ วันละ 1 หรือ 2 ครั้ง

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่สำหรับการคลอดก่อนกำหนด (Premature Labor) :

  • งานวิจัย – สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติและการพัฒนามนุษย์ สหรัฐฯ – เพื่อป้องกันไม่ให้คลอดก่อนกำหนดซ้ำสำหรับผู้หญิงที่มีความเสี่ยง 17 อัลฟ่า ไฮดรอกซีโปรเจสเตอโรนแคโพรเอต (17-alpha-hydroxyprogesterone caproate) 250 มก. ฉีดเข้ากล้ามเนื้อสัปดาห์ละครั้ง เริ่มในสัปดาห์ที่ 21 ของการตั้งครรภ์หรือสัปดาห์ที่ 36 ของการตั้งครรภ์
  • งานวิจัย – เพื่อลดความเสี่ยงของการคลอดก่อนกำหนดโดยธรรมชาติสำหรับผู้หญิงที่มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น ยาสอดช่องคลอด100 มก. ต่อวัน ในช่วงระหว่างสัปดาห์ที่ 24 และ 34 ของการตั้งครรภ์

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาอาการชัก (Seizures) :

โรคลมชักที่สัมพันธ์กับรอบประจำเดือน (Catamenial epilepsy) ภาวะชักเฉพาะที่และมีการรู้สึกตัวไม่ดี (complex partial seizures) หรือภาวะชักเฉพาะที่แล้วชักกระจายไปทั่วทั้งตัวตามมาและหมดสติ (secondary generalized motor seizures)

  • ยาอม 200 มก. วันละ 3 ครั้ง ให้ยาโดยมีความเกี่ยวข้องกับรูปแบบของการกำเริบของอาการชักในช่วงหลังไข่ตก (luteal phase) ของรอบการมีประจำเดือน
  • สำหรับผู้ป่วยระยะก่อนหมดประจำเดือน ให้ยาในวันที่ 23 ถึงวันที่ 25 ของรอบการมีประจำเดือน
  • สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการชักกำเริบในช่วงหลังการตกไข่ทั้งหมด จะให้ยาในวันที่ 15-25 ของรอบการมีประจำเดือนแต่ละครั้ง ระดับของเซรั่มโปรเจสเตอโรนที่ต้องการคืออยู่ระหว่าง 5 และ 25 มก./มล. 4 ชั่วโมงหลังจากรับประทานยาอม ผู้ป่วยควรใช้ยาต้านชัก (antiseizure) ที่ได้ผลดีที่สุดอย่างต่อเนื่อง

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาอาการของระยะก่อนหมดประจำเดือน (Perimenopausal Symptoms)

ภาวะขาดโปรเจสเตอโรนที่เกี่ยวข้องกับวัยหมดประจำเดือนและระยะก่อนหมดประจำเดือน (perimenopause)

  • ครีมยาโปรเจสเตอโรนเฉพาะที่ 1.7% : ทายา 1/4 ถึง 1/2 ช้อนโต๊ะ ลงบนฝ่ามือ ฝ่าเท้าหรือบริเวณผิวที่อ่อนนุ่มอื่นๆ วันละ 1 หรือ 2 ครั้ง

ขนาดยาโปรเจสเตอโรนสำหรับเด็ก

ยังไม่มีการพิสูจน์ความความปลอดภัยและประสิทธิภาพของขนาดยานี้สำหรับผู้ป่วยเด็ก (อายุต่ำกว่า 18 ปี)

รูปแบบของยา

ความแรงและรูปแบบของยามีดังนี้

  • ยาแคปซูล 100 มก.

กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉิน หรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที

กรณีลืมใช้ยา

หากคุณลืมใช้ยาควรรีบใช้ในทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยา

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Progesterone. https://www.drugs.com/progesterone.html. Accessed July 26, 2016

PROGESTERONE. https://www.webmd.com/vitamins/ai/ingredientmono-760/progesterone. Accessed November 19, 2019

Progesterone. https://medlineplus.gov/druginfo/meds/a604017.html. Accessed November 19, 2019

 

 

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

เป็นประจําเดือน อารมณ์แปรปรวน รับมือได้อย่างไร

ท้องอืดก่อนเป็นเมน รับมือได้อย่างไร


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ

ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา