คำจำกัดความ
ข้อเสื่อม คืออะไร
ข้อเสื่อม (Osteoarthritis) เป็นโรคเกี่ยวกับการอักเสบของข้อที่พบบ่อยที่สุด โรคนี้เกิดขึ้นเมื่อกระดูกอ่อน หรือหมอนรองระหว่างข้อต่อหัก นำไปสู่อาการเจ็บปวด ฝืด และบวม โรคข้อเสื่อมเกิดขึ้นได้ที่ข้อต่อทุกส่วนของร่างกาย แต่มักจะเกิดที่ข้อต่อมือ เข่า สะโพก และกระดูกสันหลัง
ข้อเสื่อมพบบ่อยแค่ไหน
ข้อเสื่อมจัดว่า เป็นโรคที่พบได้ค่อนข้างบ่อย จากข้อมูลของสำนักโรคข้อต่อ ระบบกระดูก กล้ามเนื้อและผิวหนังแห่งสหรัฐอเมริกาพบว่า ก่อนอายุ 45 ปี โรคข้อเสื่อมเกิดขึ้นในเพศชายได้มากกว่าเพศหญิง และหลังอายุ 45 ปี โรคข้อเสื่อมเกิดในเพศหญิงมากกว่า
อย่างไรก็ตาม โรคข้อเสื่อมสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกวัย แต่มักพบบ่อยในผู้ป่วยอายุมากกว่า 65 ปี โรคข้อเสื่อมสามารถรักษาได้โดยการลดปัจจัยเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
อาการ
อาการของโรคข้อเสื่อม
อาการทั่วไปของโรคข้อเสื่อม มีดังนี้
- อาการปวดและข้อฝืดแข็ง มักเกิดในช่วงเช้าหรือหลังจากการพักผ่อน
- อาการปวดบริเวณข้อดีขึ้นเมื่อบีบนวดเบาๆ
- สูญเสียความยืดหยุ่น การเคลื่อนไหวของข้อต่อของคุณอาจถูกจำกัด
- เกิดเสียงหรือมีอาการเสียวที่ข้อต่อ
- ข้อต่อบวม
สำหรับผู้ป่วยบางราย อาจมีอาการอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น หากมีข้อสงสัยใดๆ โปรดปรึกษาแพทย์
ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด
หากคุณมีสัญญาณหรืออาการที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถามเกี่ยวกับอาการของโรคโปรดปรึกษาแพทย์
ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดควรปรึกษาแพทย์ เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ
สาเหตุ
สาเหตุของโรคข้อเสื่อม
โรคข้อเสื่อมเกิดจากการที่กระดูกอ่อนที่พยุงข้อต่อถูกทำลาย กระดูกอ่อนเป็นเนื้อเยื่อที่แข็งแรงแต่ยืดหยุ่น ซึ่งทำหน้าที่ป้องกันส่วนปลาย ของกระดูก ปกป้องข้อต่อต่างๆ และทำให้กระดูกสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างเป็นปกติ หากเป็นโรคข้อเสื่อม พื้นผิวที่ลื่นของกระดูกอ่อนจะสากขึ้น และเสียดสีกัน
โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
ปัจจัยเสี่ยง
ปัจจัยเสี่ยงของข้อเสื่อม
ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคข้อเสื่อม มีดังนี้
- อายุที่มากขึ้น ข้อเสื่อมเป็นโรคที่มาพร้อมกับอายุที่เพิ่มขึ้น
- น้ำหนักตัวที่มากเกินไป ทำให้สะโพกและเข่ารับน้ำหนักมากขึ้น นอกจากนี้ เนื่อเยื่อที่มีไขมันมากเกินไปยังส่งผลให้เกิดสารเคมีที่ทำให้เกิดการอักเสบและทำลายข้อต่อได้
- การบาดเจ็บและการใช้ข้อต่อมากเกินไป อาการบาดเจ็บที่เกิดจากการเล่นกีฬาหรือจากอุบัติเหตุ อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคข้อเสื่อม การทำงานที่ต้องยืนนานๆ ก้มเงยบ่อยๆ ยกของหนัก หรือเคลื่อนไหวอย่างหนัก อาจนำไปสู่การเป็นโรคข้อเสื่อมได้
- ลักษณะทางพันธุกรรม สามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคข้อเสื่อมได้ ความน่าจะเป็นหนึ่งคือ ความบกพร่องในการผลิตคอลลาเจนในร่างกาย ซึ่งเป็นตัวสร้างกระดูกอ่อน
การวินิจฉัยและการรักษาโรค
ข้อมูลที่นำเสนอไม่สามารถใช้แทนข้อแนะนำทางการแพทย์ได้ โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
การวินิจฉัยข้อเสื่อม
ในการตรวจวินิจฉัยโรคข้อเสื่อม แพทย์จะซักประวัติเกี่ยวกับอาการและทำการทดสอบทางกายภาพ วิธีในการตรวจวินิจฉัย เช่น
- การเอ็กซเรย์ ผลการตรวจจะแสดงถึงความเสียหายหรือการเปลี่ยนแปลงอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับโรคข้อเสื่อม
- การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) วิธีนี้อาจไม่จำเป็นเสมอไป แต่อาจช่วยให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในกรณีที่มีความซับซ้อน
- การตรวจเลือด ช่วยให้สามารถตัดสาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้เกิดอาการปวดข้อต่อได้ เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
- การตรวจน้ำไขข้อ สามารถระบุว่ามีการอักเสบหรือไม่ และเกิดโรคอื่น เช่น เกาต์ หรือการติดเชื้อหรือไม่
การรักษาข้อเสื่อม
โรคข้อเสื่อมยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถบรรเทาและควบคุมอาการได้ด้วยวิธีเหล่านี้
การเปลี่ยนพฤติกรรม
- หลายคนอาจคิดว่า การออกกำลังกายในขณะที่ปวดข้อเป็นเรื่องยาก แต่การเคลื่อนไหวร่างกายก็เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของการรักษา การออกกำลังกายสม่ำเสมอ จะทำให้คุณตื่นตัว ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อ และทำให้ข้อต่อแข็งแรง เพื่อช่วยในการเยียวยาอาการของโรค แพทย์จะแนะนำวิธีการออกกำลังกายเพื่อให้คุณทำที่บ้าน เพราะการออกกำลังมากหรือเร็วเกินไป อาจทำให้ข้อต่อเสียหายได้
- การควบคุมน้ำหนัก การลดน้ำหนักสามารถช่วยบรรเทาความเจ็บปวด และลดปัญหาที่เกิดขึ้นกับข้อต่อเพราะโรคข้อเสื่อมได้ โดยคุณสามารถสอบถามวิธีลดน้ำหนักอย่างช้าๆ และปลอดภัยได้จากแพทย์
การใช้ยา
- ยาแก้ปวด ยาอะเซตามิโนเฟน สารโอปิออยด์ (opioid) และสารโอปิออยด์ชนิดพิเศษ เรียกว่า ทรามาดอล (tramadol) โดยยาเหล่านี้มีทั้งแบบที่สามารถหาซื้อได้ขายตามร้านขายยาทั่วไป และแพทย์ที่ต้องสั่งจ่ายโดยแพทย์เท่านั้น
- ยาต้านการอักเสบชนิดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAID) เช่น แอสไพริน ยาไอบูโพรเฟน (ibuprofen) ยานาพรอกเซน (naproxen) ยาเซเลโคซิบ (celecoxib) ยาเหล่านี้เป็นยาทั่วไปที่ใช้รักษาอาการปวดและลดอาการบวมที่ข้อต่อ ยาต้านการอักเสบชนิดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์บางชนิดอยู่ในรูปแบบของครีม (ยาทาเฉพาะที่) ที่สามารถใช้ทาบริเวณข้อต่อที่มีอาการ
- คุณไม่ควรฉีดยาคอร์ติคอสเตียรอยด์เกินกว่าสามครั้งต่อปี และต้องเว้นช่วงฉีดอย่างน้อย 3 เดือน เพราะยาสามารถทำให้ข้อต่อเสื่อมลงได้เมื่อเวลาผ่านไป
- การฉีดกรดไฮยาลูรอนิคซึ่งเป็นสารพบได้ในน้ำไขข้อในข้อต่อ และทำหน้าที่เป็นสารหล่อลื่นและลดการกระแทก เพื่อช่วยเพิ่มการรองรับในกระดูกหัวเข่าของคุณ
การผ่าตัด
การผ่าตัดข้อต่อช่วยซ่อมแซม หรือเปลี่ยนข้อต่อที่ถูกทำลายอย่างรุนแรง โดยเฉพาะบริเวณสะโพกและหัวเข่า การผ่าตัดเพื่อรักษาโรคข้อเสื่อมทำให้อาการดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ทั้งยังช่วยปรับปรุงการเคลื่อนไหวและคุณภาพชีวิตของคุณได้อีกด้วย
การรักษาโดยแพทย์ทางเลือก
- การศึกษาบางชิ้นพบว่า การฝังเข็มช่วยลดความเจ็บปวด และช่วยให้เข่าทำงานได้ดีขึ้น ในผู้ป่วยที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม
- งานวิจัยบางชิ้นพบว่า อาหารเสริม เช่น กลูโคซามีน (glucosamine) คอนดรอยติน (chondroitin) มีประโยชน์ต่อผู้ป่วยโรคข้อเสื่อม แต่การศึกษาส่วนใหญ่พบว่า อาหารเสริมเหล่านี้ให้ผลไม่แตกต่างจากยาหลอก
การบำบัด
- กายภาพบำบัดและกิจกรรมบำบัด
- การฝึกไทชิและโยคะ
การเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเอง
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองที่ช่วยจัดการกับข้อเสื่อม
การเปลี่ยนพฤติกรรมหรือการเยียวยาตนเอง ที่อาจช่วยรับมือโรคข้อเสื่อมเบื้องต้นด้วยตนเอง มีดังนี้
- การออกกำลังกาย ถือหนึ่งในวิธีที่มีประโยชน์ที่สุดในการรักษาโรคข้อเสื่อม แพทย์สามารถแนะนำการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับคุณได้
- ลดน้ำหนัก การลดน้ำหนักสามารถช่วยลดความเจ็บปวดและบรรเทาปัญหาที่เกิดกับข้อต่อของผู้เป็นโรคข้อเสื่อมได้ คุณควรปรึกษาแพทย์และนักโภชนาการถึงวิธีการลดน้ำหนักที่ถูกต้อง
- รักษาด้วยความร้อนและความเย็น ความร้อนและความเย็นช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดที่ข้อต่อได้ ความร้อนจะช่วยบรรเทาอาการฝืด ส่วนความเย็นรักษาอาการปวดและหดเกร็งของกล้ามเนื้อ
- การใช้เครื่องมืออำนวยความสะดวก เครื่องมือต่างๆ สามารถช่วยให้คุณทำงานและเคลื่อนไหวได้สะดวกขึ้น เช่น สกู๊ตเตอร์ ไม้เท้า อุปกรณ์ช่วยเดิน อุปกรณ์ใช้พยุง อุปกรณ์เสริมที่เท้า
หากมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อให้เข้าใจวิธีการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด