backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

ตรวจวัดปริมาณไขมันดี (HDL Cholesterol Test)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์ · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ตรวจวัดปริมาณไขมันดี (HDL Cholesterol Test)

ตรวจวัดปริมาณไขมันดี (HDL Cholesterol Test) เป็นการวัดระดับของคอเลสเตอรอลดีในเลือด แพทย์อาจสั่งให้มีการตรวจวัดไขมันดี เพื่อเป็นการติดตามผล จากการตรวจวัดระดับคอเลสเตอรอลที่อยู่ในระดับสูง

ข้อมูลพื้นฐาน

การ ตรวจวัดปริมาณไขมันดี คืออะไร

ตรวจวัดปริมาณไขมันดี (HDL Cholesterol Test) เป็นการวัดระดับของคอเลสเตอรอลดีในเลือด

ไขมันดี (HDL) คือ คอเลสเตอรอลไลโปโปรตีนความหนาแน่นสูง ไลโปโปรตีนประกอบด้วยโปรตีนและไขมัน ไขมันเอชดีแอล รู้จักกันในชื่อ คอเลสเตอรอลดี เนื่องจากไขมันชนิดนี้ดักเอาคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี ไลโปโปรตีนที่มีความหนาแน่นต่ำ (LDL) ไตรกลีเซอไรด์ และไขมันที่เป็นอันตรายและส่งไปที่ตับเข้าสู่กระบวนการ เมื่อไขมันดีเข้าสู่ตับ จากนั้นตับจะทำการย่อยไขมันไม่ดีให้อยู่ในรูปของน้ำดีและขับออกจากร่างกาย

งานวิจัยเผยว่า ผู้ที่ระดับไขมันดีอยู่ในระดับที่เหมาะสม มีความเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอยู่ในระดับต่ำ

ความจำเป็นในตรวจวัดปริมาณไขมันดี

แพทย์อาจสั่งให้มีการตรวจวัดไขมันดี เพื่อเป็นการติดตามผลจากการวัดระดับคอเลสเตอรอลที่อยู่ในระดับสูง การตรวจวัดไขมันดีมักทำควบคู่ไปกับการวัดระดับอื่น ๆ ด้วย เช่น คอเลสเตอรอลโดยรวม ไขมันเลว และไตรกลีเซอไรด์ ซึ่งเป็นองค์ประกอบของการตรวจวัดค่าลิปิดโปรไฟล์ (lipid profile) ที่เป็นการตรวจสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ ปัจจัยเสี่ยงหลัก ๆ มีดังนี้

  • การสูบบุหรี่
  • อายุ (ชาย 45 ปีขึ้นไป หรือหญิงอายุ 55 ปีขึ้นไป)
  • ความดันโลหิตสูง (ระดับค่า 140/90 หรืออยู่ระหว่างการใช้ยารักษาอาการความดันโลหิตสูง)
  • ประวัติครอบครัวที่เป็นโรคเกี่ยวกับหัวใจก่อนวัย (สมาชิกในครอบครัวเป็นโรคหัวใจ ในชายอายุต่ำกว่า 55 หรือหญิงอายุต่ำกว่า 65)
  • ผู้ที่มีเคยเกิดอาการเกี่ยวกับโรคหัวใจ หรือผู้ที่เคยเกิดอาการหัวใจ
  • โรคเบาหวาน
  • แพทย์แนะนำให้มีการตรวจวัดด้วยค่าลิปิดโปรไฟล์ในเด็กเช่นเดียวกับในผู้ใหญ่ เด็กที่เข้ารับการตรวจวัด ควรมีอายุระหว่าง 9 ถึง 11 ปี และในช่วงอายุ 17 ถึง 21 สำหรับผู้ใหญ่ แพทย์อาจสั่งให้มีการตรวจเพิ่มเติมในวัยรุ่นที่มีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ หรือผลการตรวจเบื้องต้นระบุว่า ค่าอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ ปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ได้แก่ ประวัติครอบครัวเกี่ยวกับโรคหัวใจ หรือโรคอื่น ๆ เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือโรคอ้วน แพทย์จะสั่งให้มีการตรวจค่าลิปิดโปรไฟล์ในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 9 ปี หากพ่อแม่มีระดับคอเลสเตอรอลสูง

    แพทย์อาจสั่งให้มีการตรวจวัดไขมันดี ในระหว่างการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตเพื่อประเมินผล เช่น การลดน้ำหนัก และการออกกำลังกาย หรือการเลิกบุหรี่ ที่มีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มระดับไขมันดีในร่างกาย

    ข้อควรรู้ก่อนตรวจ

    ข้อควรรู้ก่อนการตรวจวัดปริมาณไขมันดี

    การตรวจวัดไขมันดีนั้นควรทำในขณะที่ไม่มีอาการป่วย เนื่องจากระดับคอเลสเตอรอลอาจอยู่ในระดับต่ำชั่วคราวเมื่อมีอาการป่วยเฉียบพลัน หรือเป็นผลมาจากอาการหัวใจวาย หรือในช่วงร่างกายมีอาการเครียด (เช่น จากการผ่าตัดหรืออุบัติเหตุ) คุณควรรออย่างน้อย 6 สัปดาห์หลังจากอาการป่วยดีขึ้น จึงค่อยทำการตรวจวัดไขมันดี

    ในผู้หญิง ระดับไขมันดีอาจเปลี่ยนแปลงในขณะตั้งครรภ์ ควรตรวจวัดไขมันดี 6 สัปดาห์หลังการคลอด 

    ขั้นตอนการตรวจ

    การเตรียมตัวสำหรับการตรวจวัดปริมาณไขมันดี

    แพทย์จะทำการอธิบายขั้นตอนการเตรียมตัวก่อนการตรวจ รวมถึงการหยุดใช้ยาระยะหนึ่ง และงดอาหารก่อนการตรวจ 12 ชั่วโมง

    ขั้นตอนระหว่างการตรวจวัดไขมันดี

    การตรวจวัดไขมันดีใช้เวลาน้อยและค่อนข้างไม่เจ็บปวด แพทย์เพียงใช้เข็มเพื่อเจาะเอาตัวอย่างเลือด อาจรู้สึกเจ็บเพียงขณะเจาะเลือดเท่านั้น ในการตรวจบางชนิด เช่น การตรวจวัดด้วยตนเอง สิ่งที่ต้องการสำหรับการตรวจคือ เลือด โดยใช้เข็มขนาดเล็กเพื่อเจาะ (lancet)

    เมื่อได้ปริมาณของเลือดตามที่ต้องการแล้ว ทำการส่งตัวอย่างเลือดไปตรวจที่ห้องปฏิบัติการ

    หลังการตรวจวัดปริมาณไขมันดี

    แพทย์จะทำการนัดเพื่อแจ้งผล และอธิบายผลการตรวจให้คุณทราบ คุณควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์

    ผลการตรวจ

    ทำความเข้าใจกับผลการตรวจวัดปริมาณไขมันดี

  • ระดับไขมันดีที่เหมาะสมไม่ควรเกิน 40 มิลลิกรัม/เดซิลิตรสำหรับผู้ชาย และไม่เกิน 50 มิลลิกรัม/เดซิลิตรสำหรับผู้หญิง
  • ระดับไขมันดีทั่วไปสำหรับผู้หญิง (50 ถึง 59 มิลลิกรัม/เดซิลิตร) และผู้ชาย (40 ถึง 50 มิลลิกรัม/เดซิลิตร) อาจทำให้เกิดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ ระดับค่าที่ต่ำหมายถึงความเสี่ยงในการเกิดโรคที่สูงขึ้น
  • การตรวจวัดไขมันดีอาจแตกต่างกันขึ้นอยู่กับห้องปฏิบัติการและโรงพยาบาล ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับผลตรวจ
  • หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับการตรวจระดับไขมันดี ควรปรึกษาแพทย์เพื่อความเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนการตรวจ
  • Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์ · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา