เป็นแผลในกระเพาะอาหาร มีวิธีป้องกันและรักษาได้อย่างไรบ้าง
หนึ่งในอาการทางสุขภาพที่เกี่ยวกับกระเพาะอาหารที่เรามักจะพบกันได้บ่อย ๆ ก็คือ แผลในกระเพาะอาหาร ซึ่งเป็นปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นได้หากมีพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เสี่ยงต่อระบบทางเดินอาหาร แต่ถ้าจู่ ๆ เราก็เป็นแผลในกระเพาะอาหารขึ้นมาล่ะ จะมีวิธีรับมืออย่างไรได้บ้าง หากสงสัยกันล่ะก็ วันนี้ Hello คณหมอ มีสาระน่ารู้และวิธีการรับมือเมื่อ เป็นแผลในกระเพาะอาหาร มาฝากค่ะ แผลในกระเพาะอาหารคืออะไร แผลในกระเพาะอาหาร (Peptic ulcer) เกิดจากการที่เยื่อบุในกระเพาะอาหารถูกทำลายจากกรดและน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร หรือบางครั้งอาจเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียเอชไพโลไร (Helicobacter Pylori) การรับประทานยาแอสไพริน การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ ความเครียด หรือแม้แต่การรับประทานอาหารที่มีรสเผ็ดจัด ก็สามารถก่อให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารได้เช่นเดียวกัน แผลในกระเพาะ อาหารสามารถแบ่งได้ 2 ประเภท คือ แผลในกระเพาะอาหารที่เกิดขึ้นด้านในของกระเพาะอาหาร (Gastric ulcers) แผลในกระเพาะอาหารที่เกิดบนเยื่อบุลำไส้เล็ก (Duodenal ulcer) อาการของแผลในกระเพาะอาหารเป็นอย่างไร ผู้ที่เป็น แผลในกระเพาะอาหาร มักจะมีอาการดังต่อไปนี้ ปวดแสบปวดร้อนในท้อง ไม่สบายท้อง ท้องอืด เรอ แน่นหรือเจ็บหน้าอก คลื่นไส้และอาเจียน ไม่อยากอาหารหรือไม่กระหายน้ำ น้ำหนักลด อุจจาระมีสีคล้ำหรือมีเลือดปนออกมา อาการปวดของ แผลในกระเพาะอาหาร สามารถบรรเทาได้ด้วยการรับประทานยาแก้ปวด แต่เมื่อหมดฤทธิ์ยา อาการปวดก็อาจกลับมาได้อีกครั้ง หรืออาจทำให้มีอาการปวดท้องในตอนกลางคืน เป็นแผลในกระเพาะอาหาร จะรักษาได้อย่างไร แผลในกระเพาะอาหาร สามารถหายเองได้ แต่ก็สามารถที่จะกลับมาเป็นอีกครั้งได้เช่นกัน แพทย์จำเป็นต้องตรวจหาสาเหตุเพื่อที่จะได้ทำการรักษาได้อย่างตรงจุด โดยอาจใช้วิธีการรักษาดังต่อไปนี้ หากสาเหตุในการเกิด แผลในกระเพาะอาหาร มาจากติดเชื้อแบคทีเรีย แพทย์ก็จะทำการรักษาด้วยการใช้ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย รักษาโดยการให้รับประทานยาลดกรดในกระเพาะอาหาร รักษาโดยการให้รับประทานยาเคลือบแผลในกระเพาะอาหาร รักษาโดยการให้รับประทานยาป้องกันเยื่อบุกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กอักเสบ อย่างไรก็ตาม แผลในกระเพาะอาหาร อาจรักษาไม่หาย ถ้าหาก ไม่รับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง เชื้อแบคทีเรียเอชไพโลไรเกิดการดื้อยา สูบบุหรี่เป็นประจำ หากเป็นแผลที่เกิดจากการใช้ยาแก้ปวดในกลุ่มสเตียรอยด์เป็นประจำ มีการผลิตกรดในกระเพาะอาหารมากจนเกินไป หากเป็นแผลที่เกิดจากติดเชื้อแบคทีเรียชนิดอื่นที่ไม่ใช่เชื้อเอชไพโลไร เป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร มีอาการทางสุขภาพอื่น ๆ […]