โรควิตกกังวล

ไม่ว่าใครก็ต้องเคยเกิดอาการวิตกกังวลสักครั้งในชีวิต เช่น เวลาต้องพูดหน้าชั้นเรียน เวลาสอบสัมภาษณ์งาน แต่หากมีอาการนี้บ่อย ๆ อาจเป็นสัญญาณ โรควิตกกังวล ซึ่งเป็นโรคทางจิตเวชที่พบได้บ่อยในคนทุกเพศทุกวัย และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรควิตกกังวล

โรค แพนิค คือ อะไร รักษาให้หายได้ไหม

โรค แพนิค เป็นโรควิตกกังวลชนิดหนึ่ง เมื่อเป็นแล้วจะมีอาการตื่นตระหนกหรือเป็นกังวลโดยไร้สาเหตุ หากสงสัยว่าตนเองอาจเป็นโรค แพนิค ควรรีบไปพบคุณหมอเพื่อรับการรักษา เพราะหากปล่อยไว้นาน อาการของโรคจะยิ่งรุนแรงขึ้น และส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันในหลาย ๆ ด้าน [embed-health-tool-bmr] โรคแพนิคคือ อะไร โรคแพนิค (Panic Disorder) เป็นโรควิตกกังวลชนิดหนึ่ง หากเป็นโรคนี้จะมีอาการตื่นตระหนกหรือวิตกกังวลหลายครั้ง โดยปราศจากสาเหตุที่แน่ชัด ซึ่งแตกต่างจากคนทั่วไปอย่างชัดเจน เพราะโดยปกติ อาการตื่นตระหนกหรือเป็นกังวลจะเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก หรือจะเกิดขึ้นเมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์ตึงเครียดหรืออันตรายเท่านั้น ทั้งนี้ โรคแพนิคเป็นโรคที่ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน แต่ไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต อายุเฉลี่ยที่เริ่มพบอาการของโรคนี้ คือระหว่าง 15-19 ปี โดย 18 เปอร์เซ็นต์ของผู้ใหญ่ที่เป็นโรคแพนิคมักมีอาการของโรคตั้งแต่ก่อนอายุ 10 ปี นอกจากนี้ โรคแพนิคพบได้ในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ในอัตราส่วน 2 ต่อ 1 โรค แพนิค เกิดจากสาเหตุใด ปัจจุบัน ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของโรคแพนิค แต่สันนิษฐานว่าความเสี่ยงต่อการเป็นโรคแพนิคจะสูงขึ้นในกรณีต่อไปนี้ มีคนในครอบครัวเป็นโรควิตกกังวล หรือมีประวัติเป็นโรควิตกกังวล เคยเผชิญกับสถานการณ์ที่ทำให้ใจสลาย เช่น การสูญเสียคนที่รัก เป็นโรคทางจิตเวช เช่น โรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า ติดสุราหรือยาเสพติด โรค แพนิค มีอาการอย่างไร อาการของโรคแพนิคนั้นมีหลายรูปแบบ และจะเกิดขึ้นอย่างฉับพลันโดยไม่มีสัญญาณเตือนใด ๆ […]

สำรวจ โรควิตกกังวล

โรควิตกกังวล

อาการทางกายภาพที่เกิดจากความวิตกกังวล กับสิ่งที่ควรรู้

ทุกคนล้วนมีความวิตกกังวลเป็นครั้งคราว แต่บางครั้ง อาการทางกายภาพที่เกิดจากความวิตกกังวล ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากการวิตกกังวลแบบเรื้อรังนั้นสามารถที่จะรบกวนคุณภาพชีวิตของคุณได้ นอกจากนั้นอาการทางกายภาพดังกล่าว อาจส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสุขภาพร่างกายของคุณได้ ดั้งนั้น ทาง Hello คุณหมอ จึงได้หยิบยกเรื่องนี้มาฝากกัน จะเกิดอะไรขึ้นถ้าเกิดความวิตกกังวลมากเกินไป ความรู้สึกกังวล ไม่สบายใจ หรือกังวลมากเกินไปเกี่ยวกับสถานการณ์ต่างๆ มันสามารถส่งผลไปยังจิตใจและร่างกายของคุณ ท่ามกลางความกังวลที่มากเกินไปคุณอาจจะประสบกับความวิตกกังวลที่สูงขึ้น ส่งผลทำให้เกิดความตื่นตระหนกได้ สำหรับผู้ที่มีความวิตกกังวลแบบเรื้อรังหลายคนบอกว่า การลงโทษ ความกลัวที่ไม่สมจริง และคำวิจารณ์ของผู้อื่น สามารถเพิ่มความกังวลได้เป็นอย่างมาก ทั้งยังส่งผลให้มีความไวต่อสภาพแวดล้อมรอบตัวของพวกเขาเป็นพิเศษ ความวิตกกังวลเรื้อรังอาจส่งผลต่อชีวิตประจำวันของคุณมาก จนอาจส่งผลต่อความอยากอาหาร นิสัยการใช้ชีวิต ความสัมพันธ์ การนอน และการทำงาน ผู้คนจำนวนมากที่กังวลมากเกินไปหรือมีความวิตกกังวลอย่างมาก พวกเขาต้อวการความช่วยเหลือจากนิสัยการใช้ชีวิตที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น การกินมากเกินไป การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ และการใช้ยาเสพติด ความผิดปกติจากความวิตกกังวลมักเกิดขึ้นกับใคร ความวิตกกังวลเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต ตัวอย่างเช่น คุณอาจจะรู้สึกวิตกกังวลก่อนการพูดคุยในการสัมภาษณ์งาน ความวิตกกังวลในระยะสั้นจะเพิ่มอัตราการหายใจ และการเต้นของหัวใจ นอกจากนั้นมันยังส่งผลต่อการไหลเวียนของเลือดไปยังสมองของคุณอีกด้วย ความผิดปกติของความวิตกกังวลสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกช่วงอายุ แต่มันมักจะเริ่มเกิดขึ้นตั้งแต่วัยกลางคน โดยผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะมีโรควิตกกังวลมากกว่าผู้ชาย นอกจากนั้น ประสบการณ์ชีวิตที่เครียดอาจเพิ่มความเสี่ยงของคุณในการเป็นโรควิตกกังวลได้ เช่น อาการอาจเริ่มขึ้นทันทีหรืออาจจะเกิดขึ้นเมื่อผ่านไปหลายปี ความวิตกกังวลที่รุนแรงทางการแพทย์ระบุเอาไว้ว่า มันอาจมีความผิดปกติในการใช้สารเคมีซึ่งอาจทำให้เกิดความวิตกกังวลได้ ซึ่งความวิตกกังวลมีหลายประเภท อาการทางกายภาพที่เกิดจากความวิตกกังวล การตอบสนองทางกายภาพนี้คือสิ่งที่กำลังเตือนคุณว่าควรคุณควรเตรียมความพร้อมเพื่อเผชิญหน้ากับสถานการณ์ที่รุนแรง แต่ถ้ามันรุนแรงเกินไป คุณอาจจะเริ่มรู้สึกมึนงงและคลื่นไส้ ภาวะวิตกกังวลที่มากเกินไปหรือเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง อาจส่งผลต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจของคุณ อาการมึนศีรษะ วิงเวียน คือปฏิกิริยาทางสรีรวิทยาของความวิตกกังวลในระยะยาว อย่างไรก็ตาม ความวิตกกังวลเรื้อรังสามารถนำไปสู่ผลกระทบที่รุนแรงที่อาจเป็นอันตรายต่อร่างกายของคุณ อาการทางกายภาพที่เกิดจากความวิตกกังวล […]


โรควิตกกังวล

ถึงเวลา หยุดความกังวล ก่อนจะส่งผลต่อสุขภาพ

ความกังวล เป็นสิ่งหนึ่งที่มนุษย์ทุกคนต้องเจอ ความกังวลเป็นเรื่องที่สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งแบบเป็นครั้งคราวและเรื้อรัง ความกังวล เป็นสิ่งที่ทำให้เราทุกข์ร้อนใจ แต่ละคนก็จะมีเรื่องให้ต้องกังวลแตกต่างกันออกไป บางคนกังวลเรื่องงาน บางคนกังวลเรื่องเงิน บางคนก็กังวลเรื่องการใช้ชีวิต ความกังวลเป็นสิ่งที่เราคิด จินตนาการไปก่อนล่วงหน้า บางครั้งความกังวลก็ส่งผลต่อสุขภาพของเรา วันนี้ Hello คุณหมอ มีบทความน่าสนใจ เกี่ยวกับความกังวลส่งผลต่อสุขภาพอย่างไรและจะ หยุดความกังวล ได้อย่างไรบ้าง ไปติดตามกันได้เลยค่ะ เมื่อไรที่ต้อง หยุดความกังวล ความกังวลนั้นเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต ที่ทุกคนจะต้องเจอไม่ว่าจะเป็นปัญหาเรื่องค่าใช้จ่าย ปัญหาครอบครัว การสัมภาษณ์งาน อยู่ที่ว่าจะกังวลมากหรือน้อยเท่านั้นเอง ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับวิธีจัดการกับความกังวลของเรา ความกังวลถือเป็นเรื่องปกติที่ทุกคนต้องประสบ แต่อยู่ที่ว่าเรานั้นสามารถควบคุมมันได้หรือไม่ หากไม่สามารถควบคุมความกังวลของตนเองได้ ไม่สามารถลบความกังวลต่าง ๆ ออกจากสมองได้ จนรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันของตนเอง นั่นหมายความว่า คุณกังวลมากไปจนต้องหยุดมันให้ได้แล้ว ความกังวลอย่างต่อเนื่อง จนไม่สามารถจัดการกับความคิดของตัวเองได้ คิดอะไรในแง่ลบไปหมด จินตนาการถึงแต่สิ่งที่เลวร้าย จนส่งผลต่ออารมณ์และสุขภาพร่างกายของตัวเองจนแย่ลง ความกังวลเหล่านี้จะเป็นพลังลบ ๆ ทำให้คุณรู้สึกกระสับกระส่าย หวาดกลัว จนอาจทำให้นอนไม่หลับ ปวดหัว ปวดท้อง กล้ามเนื้อเกิดความตึงตัว ไม่มีสมาธิในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งคุณอาจจะแก้ปัญหาเหล่านี้ด้วยการใช้สารเสพติด แอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นวิธีแก้ที่ผิด แถมยังทำให้ร่างกายของคุณแย่ลงอีกด้วย หากคุณยังไม่สามารถจัดการกับความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นได้มันอาจพัฒนาจนกลายไปเป็น โรควิตกกังวลทั่วไป (GAD) […]


โรควิตกกังวล

ใครที่ไม่ชอบทำฟัน อาจเพราะคุณเป็น โรคกลัวหมอฟัน (Dentophobia) ก็ได้นะ

หลายคนไม่ชอบไปหาหมอ โดยเฉพาะเมื่อเป็นหมอฟัน บางคนอาจไม่ได้ไปหาหมอฟันนานมาก จนจำไม่ได้แล้วด้วยซ้ำว่าไปหาหมอฟันครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่ เวลาคนเราไม่อยากไปหาหมอฟัน ก็มักจะมีข้ออ้างต่าง ๆ นานา เช่น ไม่มีเวลาบ้างล่ะ ค่าทำฟันแพงไปบ้างล่ะ หรือหากจำเป็นต้องไปหาหมอฟันจริง ๆ ก็จะรู้สึกวิตกกังวลมากอย่างบอกไม่ถูก แต่คุณเคยคิดบ้างไหมว่า การที่ตัวเองไม่ชอบทำฟัน ไม่อยากไปหาหมอฟัน จริง ๆ แล้ว อาจเป็นเพราะคุณเป็น โรคกลัวหมอฟัน ก็ได้นะ ดังนั้น บทความนี้ Hello คุณหมอ จึงมีข้อมูลเกี่ยวกับโรคกลัวหมอฟันมาฝากกันค่ะ ทำความรู้จักกับ โรคกลัวหมอฟัน โรคกลัวหมอฟัน คืออะไร โรคกลัวหมอฟัน (Dentophobia) เป็นโรคกลัวที่พบได้ในคนทุกเพศทุกวัย ผู้เชี่ยวชาญเผยว่าคนวัยผู้ใหญ่ 7 ใน 10 เป็นโรคนี้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลมาจากประสบการณ์ฝังใจ หรือบาดแผลทางใจที่เกิดขึ้นในอดีต หรือไม่ก็ความกลัวเจ็บ พอไปทำฟันแล้วได้กลิ่นในคลินิกทำฟันที่ค่อนข้างเป็นกลิ่นเฉพาะตัว หรือได้ยินเสียงเครื่องมือทำฟัน ก็มักจะกระตุ้นให้นึกถึงอดีตที่เคยฝังใจ และรู้สึกกลัวขึ้นมา ในบางครั้งผู้ที่เป็นโรคกลัวหมอฟันก็เป็นโรคกลัวหมอ (Iatrophobia) หรือโรคกลัวเข็ม (Trypanophobia) ด้วย ประเภทของโรคกลัวหมอฟัน โรคกลัวหมอฟันสามารถแบ่งได้เป็นหลายประเภทขึ้นอยู่กับปัจจัยกระตุ้น และคนที่เป็นโรคกลัวหมอฟันส่วนใหญ่ก็มักจะมีปัจจัยกระตุ้นหลายชนิดรวมกัน หรือหากใครที่เป็นโรคกลัวหมอฟันขั้นรุนแรง ก็อาจกลัวทุกปัจจัยที่เกี่ยวกับการทำฟันเลยก็ได้ โดยประเภทของโรคกลัวหมอฟันนั้นแบ่งได้ตามปัจจัยต่อไปนี้ หมอฟัน โรคกลัวหมอฟันของคุณ อาจเกิดจากคุณเคยทำฟันกับหมอฟันบางคน […]


โรควิตกกังวล

คำพูดต้องห้าม ที่ไม่ควรพูดกับคนที่เป็นโรควิตกกังวล

โรควิตกกังวล (Anxiety Disorder) เป็นโรคทางจิตเวชที่เกิดจากสารเคมีในสมองไม่เท่ากัน ผู้ที่เป็นมักมีอาการที่ต่างกันไป แต่สิ่งหนึ่งที่พวกเขาเหมือนกันคือ ต้องการกำลังใจจากคนรอบตัว ไม่ว่าจะเป็นจากการกระทำ หรือคำพูด แต่รู้หรือไม่ว่า ผู้ที่เป็นโรควิตกกังวลนอกจากมักมี ความวิตกกังวล แล้วยังมีความอ่อนไหวต่อคำพูดบางอย่าง แล้ว คำพูดต้องห้าม ที่ไม่ควรพูดกับคนเป็นโรควิตกกังวลมีอะไรบ้าง Hello คุณหมอ นำมาฝากกัน คำพูดต้องห้าม สำหรับผู้ที่เป็นโรควิตกกังวล แม้ผู้ที่เป็นโรควิตกกังวลมักจะต้องการได้กำลังใจจากคนรอบข้าง แต่ก็มีบางคำพูดที่ทำให้พวกเขารู้สึกอึดอัดขึ้นมาได้ ลองมาดูกันว่า คำพูดต้องห้าม เหล่านั้นมีอะไรบ้าง “ทำไมคุณเงียบๆ” แม้คำถามอาจจะดูเหมือนไม่มีอะไร แต่มันไม่สามารถพูดกับผู้ป่วยที่เป็นโรควิตกกังวลได้ เพราะการถามว่า “ทำไมคุณเงียบ” มันเหมือนบ่งบอกว่าคุณกำลังให้ความสนใจไปที่ความกังวลใจของพวกเขา และพวกเขาก็ไม่มีวิธีที่ดีในการตอบคำถามนี้อย่างแน่นอน ดังนั้น ถ้าคุณต้องการเริ่มบทสนทนาจริงๆ ลองใช้คำถามปลายเปิดเกี่ยวกับหัวข้อที่บุคคลนั้นชื่นชอบ หรือพยายามแบ่งปันเรื่องราวตลกๆ จะดีกว่า “ไม่ต้องกังวล” ความกังวลนั้นมีอยู่ด้วยกันหลายแบบตั้งแต่แบบเล็กน้อยไปจนถึงรุนแรง บางความกังวลสามารถส่งผลต่อตัวบุคคลก็มี การพยายามปลอบใจผู้ที่เป็นโรควิตกกังวลจึงไม่ใช่เรื่องที่ดีนัก เพราะพวกเขาไม่สามารถละทิ้งความรู้สึกเหล่านี้ไปได้ หากคุณอยากปลอบใจเขาจริงๆ เพียงคุณบอกว่าคุณมาที่นี่เพื่อพวกเขา แล้วบอกให้พวกเขาได้รู้ว่า ถ้าเขาไม่อยากพูดถึงเรื่องที่เกิดขึ้นก็ไม่เป็นไร โดยไม่ต้องพยายามเสนอวิธีแก้ไขปัญหา หรืออย่าคาดหวังให้พวกเขาเลิกมี ความวิตกกังวล อย่างรวดเร็ว “หยุดนะ” คำว่า “หยุดนะ” จะทำให้ผู้ที่เป็นโรควิตกกังวลรู้สึกเสียขวัญ หรือคิดว่าพวกเขากำลังอยู่ในอันตราย และต้องหาวิธีอยู่รอดเสียมากกว่า เพราะช่วงที่พวกเขากำลังวิตกกังวล มันมักจะทำให้พวกเขาคิดหาทางต่อสู้ หรือการเอาตัวรอด นอกจากนั้น สมองของพวกเขายังไม่สามารถคิดได้อย่างมีเหตุผลอีกด้วย “คุณแค่ต้องคิดในแง่บวก” มันเป็นเรื่องยากที่จะบอกให้คนที่มีอาการป่วยทางจิตคิดในแง่บวกได้ เนื่องจากพวกเขากำลังคิดจะหากทางเอาชนะกับสิ่งที่เกิดขึ้น แม้ว่าคุณคิดว่าคำแนะนำของคุณอาจจะมีประโยชน์ แต่มันก็อาจทำให้เกิดปัญหาตามมาได้ “คุณแค่ต้องเผชิญหน้ากับความกลัว” ความคิดนี้มักจะควบคู่ไปกับการคิดเชิงบวก […]


โรควิตกกังวล

คิดซ้ำไปซ้ำมา ทั้งวัน จนไม่เป็นอันทำอะไร แก้ได้ง่ายๆ ด้วยวิธีเหล่านี้

ครุ่นคิดทั้งวัน คิดซ้ำไปซ้ำมา จนไม่เป็นอันทำอะไร เชื่อว่าหลายๆ คนคงเคยมีเรื่องที่ต้องทำให้คิดไปทั้งวัน คิดเรื่องนี้เพียงเรื่องเดียว โดยส่วนใหญ่แล้วเรื่องที่คิดมักจะเป็นเรื่องที่สร้างความเครียด ความเศร้าให้กับเรา การคิดซ้ำไปซ้ำมาแบบนี้เป็นเรื่องที่สามารถส่งผลกระทบกับสุขภาพจิตได้ ทำให้เกิดภาวะซึมเศร้า ทำให้รู้สึกโดดเดี่ยว ใครที่กำลังคิดว่าตัวเองจมอยู่กับความคิดเหล่านี้ วันนี้ Hello คุณหมอ มี วิธีการหยุดคิดซ้ำไปซ้ำมา มาฝากกันค่ะ เป็นวิธีง่ายๆ ที่ใครก็สามารถทำได้ เชื่อว่าช่วยให้หยุดอาการคิดซ้ำไปซ้ำมาได้อย่างแน่นอน การครุ่นคิด (rumination) คิดซ้ำไปซ้ำมา คือไร มีสาเหตุมาจากอะไร การคิดซ้ำไปซ้ำมา นั้นสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกๆ คน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเราตกอยู่ในช่วงเวลาที่เต็มไปด้วยความกังวล เสียใจ หรืออาจเกิดขึ้นจากความกลัวเหตุการณ์ในอนาคต เช่น การสอบ การสัมภาษณ์งาน นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอื่นๆ ที่อาจทำให้เกิดอาการคิดซ้ำไปซ้ำมา ได้อีกด้วย ขาดความมั่นใจในตนเอง มีความสัมพันธ์ที่ล้มเหลว มีเหตุการณ์กระทบกระเทือนจิตใจ เหตุการณ์ความเครียดในอนาคต เผชิญหน้ากับความกลัว วิธีหยุดการ คิดซ้ำไปซ้ำมา ที่จัดการได้ง่ายๆ เมื่อตกอยู่ในสถานการณ์ที่ทำให้ต้องคิดซ้ำไปซ้ำมานั้น การหาทางออกจากความคิดเหล่านั้นเป็นสิ่งที่ควรทำโดยเร็วที่สุดเพื่อป้องกันไม่ให้มันรุนแรงไปมากกว่านี้ ดังนั้นการหยุดความคิดเหล่านี้ได้ก็จะช่วยให้เครียดได้น้อยลง ซึ่ง วิธีหยุดการคิดซ้ำไปซ้ำมา เหล่านี้อาจช่วยให้ดีขึ้นได้ เบี่ยงเบนความสนใจ การเบี่ยงเบนความสนใจของตัวเอง เป็นหนึ่งวิธีที่จะช่วยให้คุณเลิกคิดเรื่องเดิมๆ ได้ โดยอาจจะเบี่ยงเบนความสนใจของตัวเองไปทำกิจกรรมที่ชอบ เช่น การเล่นโยคะ วาดรูป หรือการดูหนัง การหยุดคิด แล้วเริ่มต้นทำกิจกรรมที่ชอบจะช่วยให้คุณมีสมาธิในการจดจ่ออยู่กับสิ่งที่ทำมากกว่าจะไปคิดเรื่องที่ทำให้กังวล วางแผนในการแก้ปัญหา การคิดเรื่องเดิมๆ ซ้ำไปซ้ำมานั้น ไม่ช่วยให้อะไรดีขึ้นได้ แถมยังช่วยเพิ่มความเครียดให้กับคุณอีกด้วย […]


โรควิตกกังวล

วิตกกังวล มากไป ไม่ใช่แค่ทำให้เครียด แต่ยังส่งผลต่อสุขภาพอีกด้วย

ความวิตกกังวล เป็นความรู้สึกไม่สบายใจอย่างหนึ่ง มักเกิดจากความเครียด คนทุกคนมักจะมีเรื่องให้วิตกกังวลกันอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องงาน ครอบครัว หรือว่าความรัก ซึ่งความวิตกกังวลนี้ถือเป็นเรื่องปกติ ที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกวัน แต่หากมีความกังวลเรื้อรัง ความกังวลเหล่านั้น ไม่เพียงแต่จะส่งผลต่อสุขภาพจิต แต่ อาการวิตกกังวล ส่งผลต่อร่างกาย ได้อีกด้วย วันนี้ Hello คุณหมอ มีจ้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับความวิตกกังวลที่ส่งผลต่อร่างกายมาฝากกันค่ะ อาการวิตกกังวล ส่งผลต่อร่างกาย อย่างไรบ้าง ความวิตกกังวลนั้น ถือเป็นเรื่องปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวันของคนเรา ไม่ว่าจะเป็นเวลาที่ต้องไปสัมภาษณ์งาน การพูดในที่ชุมชน หรือการสอบเข้าเรียน เรื่องต่างๆ เหล่านี้สามารถทำให้เกิดความวิตกกังวลได้ทั้งสิ้น เวลาที่คุณวิตกอยู่ในความวิตกกังวลอัตราการเต้นของหัวใจจะเพิ่มสูงขึ้น หายใจถี่ขึ้น เพราะเมื่อเกิดความวิตกกังวล สมองนั้นจะมีความต้องการเลือดมาก ทำให้หัวใจทำงานหนัก หากมีความวิตกกังวลมากจะส่งผลให้เกิดความมึนงงและคลื่นไส้ บางครั้งอาจส่งผลต่อสุขภาพในด้านอื่นๆ ด้วย เช่น หายใจถี่หอบ อาการหายใจถี่หอบ เป็นภาวะที่ร่างกายต้องการออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายเป็นจำนวนมาก เพื่อที่จะตอบสนองต่อความวิตกกังวล แต่บางครั้งร่างกายอาจเกิดความรู้สึกว่าไม่สามารถรับออกซิเจนได้อย่างเมที่ทำให้เกิดการหายในเฮือก ซึ่งจะส่งผลให้เกิดอาการต่างๆ เหล่านี้ได้ เช่น วิงเวียน เป็นลม รู้สึกอ่อนเพลีย การตอบสนองของระบบหัวใจและหลอดเลือด ความวิตกกังวล เป็นอาการที่ ส่งผลให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น ทำให้เลือดไหลเวียนได้เร็วขึ้น ออกซิเจนและสารอาหารก็จะไหลเวียนไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ได้เร็วตามไปด้วย แต่ในขณะเดียวกัน เมื่อเกิดความวิตกกังวลหลอดเลือดจะตีบลง ทำให้ส่งผลต่ออุณภูมิของร่างกาย ทำให้เรารู้สึกร้อนวูบวาบ ทำให้ร่างกายตอบสนองโดยการขับเหงื่อออกมาเพื่อระบายความร้อน แต่บางครั้งเมื่อร่างกายขับเหงื่อออกมามากเกินไปก็จะทำให้เรารู้สึกหนาวได้ หากร่างกายเกิดความวิตกกังวลเรื้อรัง […]


โรควิตกกังวล

วิธีการรับมือกับความวิตกกังวล ควรทำอย่างไรบ้าง

คนส่วนใหญ่มักรู้สึกวิตกกังวล หรือหวาดกลัวในบางครั้ง ซึ่งบางครั้งมันอาจส่งผลกระทบต่อชีวิตในการทำหลายๆ สิ่งได้ บางครั้งมันอาจจะเป็นไปได้ยากที่จะรับมือกับความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นในทันที แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะมีวิธีรับมืออย่างไร วันนี้ทาง Hello คุณหมอ มีเรื่องเกี่ยวกับ วิธีการรับมือกับความวิตกกังวล มาฝากกัน อาการที่เกิดขึ้นเมื่อเกิดความวิตกกังวล อาการวิตกกังวลและหวาดกลัวอย่างกระทันหัน อาจจะมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วยมากมาย โดยแบ่งเป็น อาการทางกายภาพ อาการทางจิต และการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรม ซึ่งอาการต่างๆ จะแสดงออกดังนี้ อาการทางกายภาพ รู้สึกสูญเสียการควบคุม เหงื่อออก ตัวสั่น หายใจถี่ หรือหายใจเร็วมาก รู้สึกไม่สบาย คลื่นไส้ ปวดหัว รู้สึกมึนและวิงเวียน หัวใจเต้นเร็วขึ้นอย่างผิดปกติ อาการทางจิต รู้สึกเครียด ไม่สามารถผ่อนคลายได้ กังวลเกี่ยวกับอดีตหรืออนาคต น้ำตาไหล ไม่สามารถนอนหลับได้ การเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรม ไม่สามารถเพลิดเพลินกับเวลาว่างได้ ไม่ค่อยดูแลตัวเอง มีปัญหาเกี่ยวกับสมาธิในการทำงาน ดิ้นรนเพื่อสร้างหรือรักษาความสัมพันธ์ต่างๆ กังวลเกี่ยวกับการต้องลองสิ่งใหม่ๆ ซึ่งอาการต่างๆ เหล่านี้มักใช้เวลาประมาณ 5-30 นาที แม้อาการที่เกิดขึ้นจะสร้างความหวาดกลัวให้กับคุณ แต่มันก็ไม่ได้อันตรายแต่อย่างใด วิธีการรับมือกับความวิตกกังวล สามารถทำได้ดังนี้ ความวิตกกังวลของคุณอาจเกิดขึ้นเป็นระยะๆ ซึ่งบางครั้งอาจจะขึ้นอยู่กับสถานการณ์ที่คุณได้พบเจอ ดังนั้น เมื่อเกิดความวิตกกังวล ความกลัว หรือความตื่นตระหนกขึ้น คุณสามารถรับมือได้ด้วยวิธีการเหล่านี้ ลองตั้งคำถามเกี่ยวกับรูปแบบความคิดของคุณ ความคิดเชิงลบ สามารถหยั่งลึกลงไปในจิตใจของคุณได้อย่างไม่น่าเชื่อ นอกจากนั้นมันยังทำให้คุณสามารถบิดเบือนสถานการ์ที่เกิดขึ้นได้ด้วย ดังนั้น วิธีการรับมือที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งก็คือ ลองท้าทายความกลัวของคุณว่าความคิดลบที่เกิดขึ้นในจิตใจนั้นเป็นเรื่องจริงหรือไม่ และดูว่าคุณจะสามารถควบคุมมันได้มากน้อยขนาดไหน ฝึกการหายใจลึกๆ ลองหายใจเข้า 4 ครั้ง แล้วหายใจออก 4 ครั้ง รวม 5 นาที การฝึกหายใจนั้นจะช่วยทำให้อัตราการเต้นของหัวใจลดลง นั่นจึงช่วยทำให้คุณสงบลงได้ด้วย ใช้น้ำมันหอมระเหย การใช้น้ำมันหอมระเหย จะช่วยเปิดการรับรู้บางอย่างในสมองของคุณ ซึ่งอาจทำให้คลายความวิตกกังวลได้ นอกจากน้ำมันหอมระเหยแล้ว การใช้ธูป หรือเทียนที่มีกลิ่มหอมๆ […]


โรควิตกกังวล

เห็นหนังสือแล้วขอลา ไม่ใช่เพราะขี้เกียจ แต่อาจเป็นอาการของ โรคกลัวหนังสือ

“ถ้าจะให้อ่านหนังสือ ฉันขอตายดีกว่า” บางครั้งนั่นอาจไม่ใช่แค่ความรู้สึกขี้เกียจ แต่อาจมีสาเหตุมาจากความผิดปกติบางอย่างที่จำเป็นต้องได้รับการแก้ไข เพราะไม่แน่ว่าคุณอาจกำลังมีอาการของโรคกลัวหนังสืออยู่ก็เป็นได้ วันนี้ Hello คุณหมอ ขอพาคุณผู้อ่านทุกท่านไปรู้จักกับอาการและความกลัวแบบแปลก ๆ อย่าง โรคกลัวหนังสือ กันค่ะ โรคกลัวหนังสือ (Bibliophobia) คืออะไร สภาวะของโรคกลัวหนังสือ หรือก็คืออาการความรู้สึกที่ไม่ปกติต่อหนังสือ อาจมีอาการหวาดกลัว และไม่อยากอยู่ใกล้หนังสือ ไปจนถึงเกลียดที่จะต้องอ่านหนังสือ แต่ไม่ใช่ว่าอาการนี้จะเป็นกับหนังสือทุกเล่ม บางคนมีอาการแค่กับหนังสือบางประเภทเท่านั้น เช่น นิทานสำหรับเด็ก หนังสือประวัติศาสตร์ หรือหนังสือเรียน อาการกลัวหนังสือนั้น อาจทำให้รู้สึกลำบากใจ เหมือนว่ากำลังถูกบังคับให้ต้องอ่านหนังสือ ไม่อยากแม้แต่จะแตะต้องหนังสือ และหากจะต้องเข้าไปอยู่ในห้องสมุด ก็จะรู้สึกวิตกกังวลขึ้นมาเสียอย่างนั้น อาการของ โรคกลัวหนังสือ เป็นอย่างไร อาการของโรคกลัวหนังสือนั้น คล้ายกับอาการกลัวต่อสิ่งต่าง ๆ อย่าง กลัวผี กลัวงู หรือโรคกลัวรู คือ มีอาการตัวสั่น เหงื่อออกมากผิดปกติ รู้สึกอึดอัด ไม่สบายตัว และวิตกกังวลกับสภาพแวดล้อมตรงหน้า ทำไมคนเราถึงเป็นโรคกลัวหนังสือ โรคกลัวหนังสือมีการกล่าวถึง และปรากฏขึ้นในหนังสือเมื่อศตวรรษที่ 18 ซึ่งในสมัยนั้นเป็นที่เชื่อกันว่าความกลัวประเภทนี้มีที่มาจากข้อจำกัดในการอ่านหนังสือ ความเชื่อเกี่ยวกับโชคลาง ความอิจฉาริษยา และความหวาดกลัว แต่ในปัจจุบัน มีการสันนิษฐานว่าความกลัวหนังสือ น่าจะมีที่มาและสาเหตุจากปัจจัยต่าง ๆ […]


โรควิตกกังวล

วิตกกังวลมากไป อาจเป็นเหตุให้คุณเกิด อาการแน่นหน้าอก

บ่อยครั้งที่จู่ ๆ คนเราก็มี อาการแน่นหน้าอก ขึ้นมา อาจเป็นในช่วงหลังรับประทานอาหาร หรือจากการออกกำลังกายมาอย่างหนัก แต่รู้หรือไม่ว่า หลายครั้งความวิตกกังวลต่อสถานการณ์ที่กดดันต่าง ๆ ของคุณ ก็สามารถทำให้เกิดอาการแน่นหน้าอกได้ด้วยเช่นกัน ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น มาหาคำตอบกันได้กับบทความนี้จาก Hello คุณหมอ [embed-health-tool-heart-rate] อาการแน่นหน้าอก คืออะไร สภาวะของอาการแน่นหน้าอก คือ ความรู้สึกอึดอัด ไม่สบาย มีอาการปวดหรือเจ็บ แสบร้อนกลางอก รู้สึกถึงความดันอัดแน่น บริเวณหน้าท้องส่วนบนและบริเวณคอส่วนล่าง อาการแน่นหน้าอกนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย และอาจเป็นความเสี่ยงที่มาจากโรคร้ายอย่าง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดหัวใจ หรืออาจนำไปสู่ภาวะหัวใจวายได้ นอกจากนี้อาการแน่นหน้าอกยังอาจมาจากอาการกรดไหลย้อน หลอดลมอักเสบเฉียบพลัน หลอดลมฝอยอักเสบ อาการหอบหืด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) เส้นเลือดอุดตันที่ปอด โรคปอดบวม เป็นต้น ถือได้ว่าอาการแน่นหน้าอกนั้น เป็นทั้งความเสี่ยงของโรคร้าย  และมีสาเหตุมาจากโรคภัยไข้เจ็บที่อันตรายอีกด้วย ภาวะวิตกกังวลส่งผลต่อ อาการแน่นหน้าอก อย่างไร อีกหนึ่งสาเหตุของอาการแน่นหน้าอกที่หลายคนกำลังเป็นอยู่นั้น อาจมาจากปัญหาในเรื่องของอาการวิตกกังวล เมื่อความเครียด หรือความกลัว ถูกสะสมไว้มากจนแสดงออกว่ามีความรู้สึกวิตกกังวล ประหม่า หวาดกลัว อาจเป็นผลทำให้เกิดอาการ ดังนี้ หายใจเร็ว หายใจลำบาก หัวใจเต้นรัว วิงเวียนศีรษะ […]


โรควิตกกังวล

คิดมาก หวาดระแวง เป็นปัญหาสุขภาพจิตหรือเปล่า

ความ หวาดระแวง (Paranoia) เป็นความคิดและความรู้สึกเสมือนกับว่าคุณถูกคุกคาม แม้ว่าความจริงจะไม่เป็นเช่นนั้นก็ตาม ในทางการแพทย์ ความคิดหวาดระแวงยังสามารถอาจอธิบายได้ว่าเป็นภาวะการหลงผิด โดยผู้ป่วยที่มีอาการนี้มักเป็นกังวลต่อเหตุการณ์หลายอย่าง ที่ทำให้พวกเขารู้สึกถูกคุกคาม ผู้ที่อยู่ในภาวะหวาดระแวงขั้นรุนแรง ความกลัวของผู้ป่วยจะเพิ่มระดับขึ้น และทุกคนที่ผุู้ป่วยพบเจอจะถูกดึงไปสู่สารระบบของความกลัวภายในใจ โดยผู้ป่วยก็จะรู้สึกว่าเขาอยู่ตรงกลางของจักรวาลที่คุกคามและเป็นอันตรายอยู่ตลอดเวลา Hello คุณหมอจะพาทุกคนไปรู้จักกับ การหวาดระแวง ว่าเป็นสุขภาพจิตหรือไม่กันค่ะ มีอะไรบ้างที่สามารถทำให้คุณเกิดความ หวาดระแวง ทุกคนล้วนประสบภาวะหวาดระแวงแตกต่างกันออกไป ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างส่วนหนึ่งของภาวะความคิดหวาดระแวงที่มักพบบ่อยในคนส่วนใหญ่ มีคนหรือองค์กรแอบพูดถึงคุณลับหลัง คนอื่น ๆ กำลังพยายามกีดกันคุณ หรือทำให้คุณดูแย่ การกระทำหรือความคิดของคุณถูกคนอื่น ๆ แทรกแซง คุณถูกควบคุม หรือรัฐบาลกำลังเพ่งเล็งคุณ คุณตกอยู่ในอันตราย หรืออาจถูกทำร้ายร่างกายหรือถูกฆ่า มีคนกำลังพยายามทำให้คุณหงุดหงิดหรือขุ่นเคืองโดยตั้งใจ บางคนอาจมีความคิดเหล่านี้เป็นจริงเป็นจังตลอดเวลา หรือเพียงแค่บางโอกาสเมื่ออยู่ในสถานการณ์ตึงเครียด หรือในบางครั้งก็อาจทำให้เกิดอาการซึมเศร้าได้ด้วย ความหวาดระแวงเป็นปัญหาสุขภาพจิตหรือไม่ ความหวาดระแวงเป็นอาการหนึ่งของความผิดปกติทางจิตบางประเภท แต่ไม่สามารถใช้เป็นการวินิจฉัยโรคได้ ความคิดหวาดระแวงอาจมีตั้งแต่ระดับไม่รุนแรงไปจนถึงรุนแรงมาก และประสบการณ์เหล่านี้อาจค่อนข้างแตกต่างออกไป ขึ้นอยู่กับว่าคุณมีความยึดติดกับความคิดหวาดระแวงอยู่ในระดับใด คุณเชื่อในความคิดหวาดระแวงของคุณเป็นเรื่องจริง คุณคิดเกี่ยวกับความคิดหวาดระแวงของคุณอยู่ตลอดเวลา ความคิดหวาดระแวงทำให้คุณรู้สึกหงุดหงิด ความคิดหวาดระแวงส่งผลกับการใช้ชีวิตประจำวันของคุณ บุคคลจำนวนมาก ซึ่งอาจมากถึงหนึ่งในสาม เกิดภาวะหวาดระแวงแบบไม่รุนแรงในบางช่วงเวลาของชีวิต มักเป็นที่รู้จักว่าเป็นภาวะหวาดระแวงที่พบได้ในชีวิตประจำวัน (Non-clinical paranoia) แต่ความหวาดระแวงนั้นจะเปลี่ยนแปลงตามเวลา สำหรับคนปกติ มักคิดได้ว่าความคิดเหล่านั้นไม่มีเหตุผล และสามารถหยุดความคิดเหล่านั้นได้ โดยไม่มีผลกระทบทางจิตใจใด ๆ ตามมา แต่หากเป็นภาวะหวาดระแวงขั้นรุนแรงมาก หรือที่เรียกว่า อาการหลงผิดว่ามีคนปองร้ายตลอดเวลา (Persecutory delusions) ก็จำเป็นต้องได้รับการรักษา โดยอาจต้องพิจารณารับการรักษาและบำบัด หากมีอาการรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ความหวาดระแวงอาจเป็นหนึ่งในอาการของปัญหาทางสุขภาพจิตดังต่อไปนี้ โรคจิตเภทแบบหวาดระแวง (Paranoid Schizophrenia) โรคจิตหลงผิด (Delusional […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน