- การเอ็กซเรย์ เพื่อตรวจสอบโครงสร้างภายในอย่างละเอียดว่ามีกระดูกส่วนใดแตกหัก หรือไม่ รวมไปถึงดูความเสียหายภายในของเส้นเอ็นช่วงหัวไหล่ที่อาจมีการฉีกขาดอีกด้วย
- อัลตร้าซาวด์ การทดสอบด้วยเทคนิคนี้เป็นการใช้คลื่นเสียง เพื่อสร้างภาพโครงสร้างภายในร่างกายของคุณออกมา โดยเฉพาะบริเวณกล้ามเนื้อ และเส้นเอ็น อีกทั้งยังเป็นการเปรียบเทียบได้อย่างรวดเร็วระหว่างไหล่ของผู้ป่วยที่ประสบกับปัญหา และไหล่ที่มีสุขภาพดีแต่เดิม เพื่อให้ผู้ป่วยได้เห็นความแตกต่างได้อย่างชัดเจน
- การถ่ายภาพด้วยคลื่นสนามแม่เหล็ก (MRI) เทคโนโลยีนี้เป็นการใช้คลื่นแม่เหล็กแรงสูง เพื่อเผยภาพที่แสดงถึงโครงสร้างทั้งหมดของไหล่ ซึ่งเป็นเทคนิคที่เผยปัญหาภายในได้อย่างละเอียด และง่ายต่อการหาวิธีรักษามากขึ้น
การรักษาเอ็นหัวไหล่ฉีกขาด
การรักษาแต่ละวิธีนั้น ขึ้นอยู่กับการเลือกเทคนิคของทางแพทย์ผู้เชี่ยวชาญว่า อาการที่คุณประสบนั้นเหมาะกับการรักษาแบบใด ซึ่งแบ่งออกตามเกณฑ์ของอาการตั้งแต่ระดับเบา จนถึงระดับรุนแรง ดังต่อไปนี้
แพทย์อาจแนะนำให้ฉีดสเตียรอยด์เข้าที่ข้อไหล่ของคุณ เพื่อลดอาการเจ็บปวดลง ถึงแม้วิธีนี้จะเป็นการระงับอาการเพียงชั่วคราว แต่ก็ควรมีการระมัดระวังไม่แพ้กัน เพราะเนื่องจากอาจทำให้เส้นเอ็นมีประสิทธิภาพเสื่อมถอยลง ดังนั้นเพื่อความปลอดภัย และอยากหายจากอาการเจ็บปวดจากภาวะเส้นเอ็นหัวไหล่ฉีกขาดระยะยาว อาจจำเป็นต้องเลือกการผ่าตัดทดแทน
การทำกายภาพบำบัดอาจเป็นวิธีรักษาแรกที่แพทย์อาจแนะนำ แต่ควรได้รับการบำบัดอย่างเหมาะสมตามอาการบาดเจ็บของผู้ป่วยแต่ละบุคคล ซึ่งการใช้เทคนิคนี้ในการรักษาอาจทำให้เป็นการช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นของแขน และหัวไหล่ให้มีการใช้งานได้ดีมากขึ้น
มีการผ่าตัดแบ่งออกเป็น 4 ประเภทหลัก ๆ ด้วยกัน ดังต่อไปนี้ ตามลักษณะอาการของแต่ละบุคคลที่ประสบ
- การซ่อมแซมเส้นเอ็นที่อักเสบ (Arthroscopic) ศัลยแพทย์อาจทำการสอดกล้องขนาดเล็ก (arthroscope) และเครื่องมือผ่านรอยบากเล็ก ๆ เพื่อเข้าไปยึดติดเอ็นที่ฉีกขาดให้เข้ากับกระดูก
- ซ่อมแซมเส้นเอ็นแบบแผลเปิด (Open) บางกรณีแพทย์อาจใช้เทคนิคการซ่อมแซมเส้นเอ็นแบบเปิด เพราะเนื่องจากอาจเป็นทางเลือกที่เหมาะสมกว่า ซึ่งในการผ่าตัดประเภทนี้ศัลยแพทย์ของคุณจะทำการผ่าตัดเปิดแผลขนาดใหญ่ เพื่อทำการยึดติดเอ็นที่เสียหายให้เข้ากับกระดูก
- การถ่ายโอนเส้นเอ็น (Tendon transfer) เมื่อเส้นเอ็นที่ฉีกขาดได้รับความเสียหายเกินกว่าที่จะนำกลับไปยึดติดเข้ากับกระดูก ศัลยแพทย์อาจตัดสินใจใช้เส้นเอ็นที่อยู่ใกล้เคียงบริเวณแขน หรือหัวไหล่นั้นเข้ามาทดแทนเส้นเอ็นเดิม
- ผ่าตัดเปลี่ยนข้อไหล่ (Shoulder replacement) หากเป็นการบาดเจ็บในกรณีรุนแรง หรือได้รับความเสียหายมาก แพทย์อาจจำเป็นต้องทำการผ่าตัดจำนวนมากอาจต้องผ่าตัดเปลี่ยนข้อไหล่ โดยอาจใส่เป็นอุปกรณ์ข้อไหล่เทียมเข้าไป พร้อมทำกายภาพบำบัดร่วม เพื่อให้เกิดการเคลื่อนไหวที่ดีขึ้น