backup og meta

แม่ตั้งครรภ์สามารถใช้ ยาฟีนิลเอฟรีน ได้หรือไม่?

แม่ตั้งครรภ์สามารถใช้ ยาฟีนิลเอฟรีน ได้หรือไม่?

ยาฟีนิลเอฟรีน (Phenylephrine) เป็นยาหดหลอดเลือดที่ใช้เพื่อช่วยบรรเทาอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล และหายใจไม่ออก นอกจากนี้ ยังอาจช่วยเป็นยาเหน็บรักษาโรคริดสีดวงทวาร หรือใช้เพื่อขยายรูม่านตา อย่างไรก็ตาม คุณแม่ตั้งครรภ์ควรระมัดระวังการใช้ยาฟีนิลเอฟรีนเนื่องจากอาจส่งผลกระทบต่อพัฒนาการของทารกในครรภ์ ทำให้ทารกได้รับออกซิเจนลดลง และอาจเพิ่มความเสี่ยงของการแท้งบุตรได้

[embed-health-tool-pregnancy-weight-gain]

ยาฟีนิลเอฟรีนคืออะไร

ยาฟีนิลเอฟรี มีคุณสมบัติเป็นยาบรรเทาอาการคัดจมูก น้ำมูกมาก และหายใจไม่ออก ช่วยเพิ่มความดันโลหิตในผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตต่ำ ลดอาการบวมของหลอดเลือดภายในโพรงจมูก เป็นยาเหน็บรักษาโรคริดสีดวงทวาร เป็นยาใช้ขยายรูม่านตา และอื่น ๆ อีกมากมาย ยาฟีนิลเอฟรีนถูกนำมาใช้ในหลายรูปแบบที่แตกต่างกัน เช่น ยาเม็ด หรือยาน้ำสำหรับรับประทาน ยาหยอดหรือสเปรย์ทางจมูก ยาหยอดตา ยาเหน็บทวาร ยาฉีด

ความปลอดภัยของยาฟีนิลเอฟรีนต่อแม่ตั้งครรภ์

อย่างที่รู้กันว่าคุณแม่ตั้งครรภ์ไม่ควรใช้ยาเองโดยไม่ผ่านการปรึกษาคุณหมอก่อน เนื่องจากยาหลาย ๆ ชนิดอาจส่งผลกระทบต่อร่างกายของคุณแม่และทารกในครรภ์ได้ ยาฟีนิสเอฟรีน ก็เป็นอีกหนึ่งยาที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรระวังเป็นอย่างมาก เนื่องากเป็นยาที่ออกฤทธิ์หดหลอดเลือด 

หากคุณแม่ตั้งครรภ์รับประทานยานี้โดยไม่ระวัง ยานี้อาจผลต่อหลอดเลือดในมดลูก และเป็นอุปสรรคต่อการไหลเวียนของเลือดไปยังทารกในครรภ์ ทำให้ทารกในครรภ์ ได้รับปริมาณออกซิเจนที่น้อยลง ส่งผลให้หัวใจของเด็กในครรภ์เต้นช้า และอาจเกิดปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ในทารกตามมาด้วย

แม้จะยังไม่มีการศึกษาวิจัยที่ชี้ชัดว่า ยาฟีนิลเอฟรีนมีผลทำให้แม่ตั้งครรภ์แท้งบุตร หรือเกิดความผิดปกติในมดลูก แต่การใช้ยาฟีนิลเอฟรีน ก็ยังมีความเสี่ยง ที่จะเกิดผลข้างเคียงต่างๆ หลายประการอยู่ดี เช่น  วิงเวียนศีรษะ ความเครียด หรือเกิดความวิตกกังวลระหว่างตั้งครรภ์ นอนหลับยาก คลื่นไส้ อาเจียน  เป็นไข้ หัวใจเต้นผิดจังหวะ ปวดศีรษะ ปัสสาวะขัด เจ็บหน้าอก

ดังนั้น คุณแม่ตั้งครรภ์จึงไม่ควรใช้ยาฟีนิลเอฟรีน หรือหากจะใช้ก็ควรเป็นการใช้ตามคำสั่งของคุณหมอ โดยควรทำตามคำแนะนำของคุณหมออย่างเคร่งครัด ไม่ควรซื้อยาชนิดนี้มารับประทานเอง อย่าลืมว่า… ยาไม่ใช่ของวิเศษ แต่ก็เป็นเหมือนทุกสิ่งบนโลก ที่ให้ทั้งคุณและให้โทษได้ จึงต้องระมัดระวังการใช้ยาทุกชนิดเสมอ

สุดท้ายนี้


ไม่เพียงแต่ยาฟีนิลเอฟรีนเท่านั้น ก่อนการใช้ยา ไม่ว่าจะเป็นยาอะไรก็ตาม คุณแม่ควรปรึกษาคุณหมอหรือเภสัชกรทุกครั้งก่อนใช้ยา และใช้ยาทุกชนิดตามคำสั่งของคุณหมอเท่านั้น ไม่ควรปรับเปลี่ยนขนาดยาเอง เพื่อความปลอดภัยของทั้งคุณแม่และทารกในครรภ์

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Phenylephrine
https://mothertobaby.org/fact-sheets/phenylephrine/
Accessed 4 November 2019

Acetaminophen / phenylephrine Pregnancy and Breastfeeding Warnings
https://www.drugs.com/pregnancy/acetaminophen-phenylephrine.html
Accessed 4 November 2019

Phenylephrine. https://medlineplus.gov/druginfo/meds/a606008.html#precautions. Accessed June 27, 2021.

Treating the common cold during pregnancy. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2377219/. Accessed June 27, 2021.

Is it safe to take cold medications during pregnancy?. https://www.babycenter.com/pregnancy/health-and-safety/is-it-safe-to-take-cold-medications-during-pregnancy_2299. Accessed June 27, 2021.

เวอร์ชันปัจจุบัน

16/03/2022

เขียนโดย ภัทราพร สงครามยศ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

3 หมอนคนท้อง ยี่ห้อไหนดี

คลอดลูกง่าย เป็นไปได้จริงหรือ มีเคล็ดลับอะไรที่คุณแม่ควรรู้


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ภัทราพร สงครามยศ · แก้ไขล่าสุด 16/03/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา