backup og meta

ครรภ์เป็นพิษ และผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อแม่และทารกในครรภ์

ครรภ์เป็นพิษ และผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อแม่และทารกในครรภ์

ครรภ์เป็นพิษ (Preeclampsia) เป็นหนึ่งในสาเหตุของการเสียชีวิตหลักของหญิงตั้งครรภ์ ทั้งในประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนา อีกทั้งยังเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของทารก ที่เรียกว่า การตายปริกำเนิด (perinatal mortality) และยังเกี่ยวข้องกับการเกิดภาวะทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์อีกด้วย

[embed-health-tool-due-date]

ผลกระทบต่อมารดา

ผู้หญิงที่มีหรือเริ่มมีความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ ล้วนมีความเสี่ยงสูงขึ้นในการเกิดปัญหานี้ ทั้งก่อนคลอด ระหว่างคลอด และหลังคลอด ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นนี้ มีผลทั้งต่อผู้เป็นแม่และทารกในครรภ์

หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง สามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ ผู้ที่มีความดันโลหิตปกติที่เกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ ซึ่งมีอาการบ่งชี้คือ ความดันโลหิตสูง โปรตีนรั่วในปัสสาวะ และอาการบวมน้ำ กลุ่มที่สองได้แก่ หญิงตั้งครรภ์ที่มีความดันโลหิตสูงอยู่ก่อน และมีความเสี่ยงที่สูงกว่าในการเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษที่อาจมีอาการแทรกซ้อนได้

ภาวะครรภ์เป็นพิษถือเป็นอาการแทรกซ้อนที่รุนแรงที่สุด ของภาวะความดันโลหิตสูงในระหว่างตั้งครรภ์ แต่นี่ไม่ใช่โรคที่เกิดจากความดันโลหิตสูงเป็นหลัก แต่เป็นความผิดปกติที่เกิดจากปัญหาเกี่ยวกับรก โดยภาวะครรภ์เป็นพิษจะเริ่มจากความผิดปกติในการเกาะตัวของรก ที่ทำให้เกิดภาวะรกเกาะต่ำ การหลั่งของสารไซโตไคน์และสารพิษอื่นๆ เกิดภาวะเส้นเลือดตีบ และการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด ดังนั้น ภาวะครรภ์เป็นพิษจึงเป็นโรคที่เกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของเซลล์บุหนังหลอดเลือด และอาการแทรกซ้อนก็สัมพันธ์กับปัญหาของระบบหลอดเลือด

โดยพื้นฐานแล้ว อาการแทรกซ้อนเหล่านี้ ประกอบด้วย

(1) การแข็งตัวของเลือด และการมีเลือดออกภายในหลอดเลือด ซึ่งมีความสัมพันธ์กันระหว่างการลดลงของระดับของสารแอนติธรอมบิน III (antithrombin III/ ATIII) และความรุนแรงของสภาวะทางสุขภาพของผู้ป่วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีอายุครรภ์ได้ 30-32 สัปดาห์

ความเข้นข้นของเลือด จากการตรวจนับเซลล์เม็ดเลือดแดงและพลาสมา จะลดลง และมีส่วนที่ทำให้เกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ

(2) อวัยวะทำงานล้มเหลว เช่น ตับและไต ตามด้วยการที่เลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ไม่เพียงพอ โดยในหญิงตั้งครรภ์ที่มีความดันโลหิตสูง ยังมีข้อถกเถียงกันเกี่ยวกับระดับโปรตีนในปัสสาวะ ที่อาจเป็นสาเหตุของการเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษได้

จากการสังเกตการณ์พบว่า ภาวะครรภ์เป็นพิษส่งผลกระทบเป็นพิเศษต่อการทำงานของไต และภาวะนี้จะรุนแรงขึ้นเมื่อเกิดอาการชัก หรือโรคครรภ์เป็นพิษระยะชัก (eclampsia) อันตรายที่รุนแรงที่สุดจะเกิดขึ้นเมื่อมีโรคแทรกซ้อนที่เรียกว่า กลุ่มอาการเฮลป์ซินโดรม (HELLP syndrome) ซึ่งจะเกิดการแตกตัวของเม็ดเลือดแดง (hemolysis) เอนไซม์จากตับสูงขึ้น และภาวะเกล็ดเลือดต่ำ อาการของกลุ่มอาการเฮลป์ซินโดรมนี้ เป็นสาเหตุที่พบมากที่สุดของการเสียชีวิตในหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง

การรักษาภาวะความดันโลหิตขณะตั้งครรภ์หรือก่อนตั้งครรภ์ ไม่สามารถป้องกันภาวะครรภ์เป็นพิษได้ แต่สามารถป้องกันความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นกับระบบไหลเวียนโลหิตของมารดา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระหว่างเจ็บท้องและขณะคลอดได้ ความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์จะเพิ่มขึ้น เนื่องจากการเจริญเติบโตล่าช้า (growth retardation) และภาวะเนื้อเยื่อพร่องออกซิเจน (hypoxia) ที่มาจากความเสียหายของรก

ผู้ป่วยที่มีภาวะความดันโลหิตสูงเรื้อรังไม่รุนแรงส่วนใหญ่ สามารถตั้งครรภ์และคลอดได้ตามปกติ การเสียชีวิตของทารกก่อนคลอด (ภาวะการตายปริกำเนิด) ส่วนมากมาจากภาวะของภาวะครรภ์เป็นพิษที่มีอาการแทรกซ้อนรุนแรง ซึ่งการรักษาความดันโลหิตไม่ปรากฏว่า ส่งผลมากนักต่อผลของการตั้งครรภ์ หรือการเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษที่มีอาการแทรกซ้อนรุนแรง ในผู้ที่มีความดันโลหิตสูงชนิดไม่รุนแรง แต่ความเสี่ยงที่เกิดกับมารดาและทารกจะถือว่าสูงมาก ในผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงเรื้อรังและรุนแรง และในผู้ป่วยที่มีโรคเกี่ยวกับอวัยวะบางอย่าง ผู้ปวยเหล่านี้ควรได้รับคำแนะนำถึงความเสี่ยงต่างๆ ก่อนการตั้งครรภ์

ผลกระทบต่อทารก

ผลของการคลอดได้รับอิทธิพลโดยตรงจากอายุครรภ์ และความรุนแรงของภาวะความดันโลหิตสูง ที่พิจารณาได้จากความต้องการในการรักษาภาวะความดันโลหิตสูง โดยไม่เกี่ยวข้องกับอาการของโรคที่ไม่แสดงออกอื่น ๆ ภาวะครรภ์เป็นพิษขั้นรุนแรงนั้นสัมพันธ์กับอันตรายที่เกิดขึ้นกับทารกในครรภ์ในหลายระดับด้วยกัน

ผลกระทบหลักที่มีต่อทารกในครรภ์ก็คือ การได้รับสารอาหารที่ไม่เพียงพอ ซึ่งเป็นผลจากรกได้รับเลือดไม่เพียงพอ ทำให้เกิดภาวะการเติบโตช้าในทารก

ผลกระทบที่เกิดขึ้นมีทั้งระยะยาวและสั้น ผลที่เกิดขึ้นทันทีก็คือ ผลกระทบต่อการเติบโตของทารก สุขภาพของทารกรวมทั้งน้ำหนักและส่วนสูงจะลดน้อยลง นำไปสู่อันตรายต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับตัวทารก ซึ่งอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้

การศึกษาที่มีการติดตามผลในระยะยาวแสดงให้เห็นว่า ทารกที่มีภาวะเจริญเติบโตช้าในมดลูก มีแนวโน้มที่จะมีภาวะความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ และเบาหวาน เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ ทั้งยังมีหลักฐานที่เพิ่มขึ้นที่ชี้ว่า รูปแบบของการเติบโตในช่วงต้น และปัจจัยอื่นๆ ในช่วงชีวิต มีผลต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด แต่ความเข้าใจเกี่ยวกับผลกระทบที่เชื่อมโยงกันเหล่านี้ยังมีอยู่จำกัด

ปัญหาเกี่ยวกับการคลอดที่ไม่ปกติ ได้แก่ ภาวะเลือดขาดออกซิเจน (anoxia) หรือการหลั่งสารแคททีโคลามีน (catecholamine) ในมารดา ในทารกในครรภ์ หรือในทารกแรกคลอด อาจนำไปสู่การเป็นโรคเลือดแดงในหัวใจแข็งในวัยผู้ใหญ่

ทารกในครรภ์หลายรายต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพที่มีปริมาณสารอาหารที่จำกัด โดยการเปลี่ยนโครงสร้างและระบบเผาผลาญ ซึ่งการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเหล่านี้ อาจเป็นต้นเหตุของโรคที่เกิดขึ้นในระยะต่อมาของชีวิต เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจและโรคอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ โรคหลอดเลือดสมอง เบาหวาน และความดันโลหิตสูง

ทารกที่มีขนาดตัวเล็ก หรือไม่ได้สัดส่วนในช่วงแรกเกิด หรือมีขนาดรกที่ใหญ่ขึ้น มีความเสี่ยงสูงในการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ ความดันโลหิตสูง และเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลินเมื่อโตขึ้น ภาวะที่เกี่ยวข้องเหล่านี้เป็นผลมาจากการปรับสภาพของทารกเมื่ออยู่ในครรภ์ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่สำคัญและเปราะบางที่สุดของชีวิต และส่งผลถาวรต่อสภาพของร่างกาย และระบบการเผาผลาญ งานวิจัยปัจจุบันพบว่า ทารกอ่อนไหวต่อปริมาณสารอาหารที่ได้จากมารดาผ่านทางรก มากกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ โรคเกี่ยวกับระบบไหลเวียนโลหิตในวัยผู้ใหญ่ อาจเป็นผลจากการปรับตัวในช่วงที่เป็นทารกในครรภ์ ที่ได้รับการกระตุ้นจากปริมาณสารอาหารที่ไม่เพียงพอจากมารดา

ภาวะการเจริญเติบโตช้าในมดลูก ซึ่งได้แก่ภาวะที่ทารกมีน้ำหนักตัวเมื่อแรกเกิดต่ำกว่าร้อยละ 10 ทำให้เกิดการลดลงของจำนวนหน่วยไต ภาวะนี้นำไปสู่ความเสี่ยงในการเกิดความดันโลหิตสูงจากโรคไตเมื่อโตขึ้น รวมถึงโรคอื่น ๆ เกี่ยวกับไตเนื่องจากความเสียหายของไต

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Preeclampsia. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/preeclampsia/symptoms-causes/syc-20355745. Accessed July 27, 2023.

Pregnancy – preeclampsia. https://www.betterhealth.vic.gov.au/health/healthyliving/pregnancy-preeclampsia. Accessed July 27, 2023.

Preeclampsia. https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/17952-preeclampsia.  Accessed July 27, 2023.

Preeclampsia. https://www.webmd.com/baby/what-is-preeclampsia. Accessed July 27, 2023.

Pre-eclampsia. https://www.nhs.uk/conditions/pre-eclampsia/.  Accessed July 27, 2023.

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

27/07/2023

เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet


บทความที่เกี่ยวข้อง

ตรวจน้ำตาลคนท้อง เพื่อการคัดกรองเบาหวานขณะตั้งครรภ์ สำคัญอย่างไร

วิธีบรรเทาอาการ ปวดหลังขณะตั้งครรภ์


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

Duangkamon Junnet


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 27/07/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา