backup og meta

อาการคนท้องไตรมาสแรก สัญญาณที่บอกว่ากำลังตั้งครรภ์

อาการคนท้องไตรมาสแรก สัญญาณที่บอกว่ากำลังตั้งครรภ์

อาการคนท้องไตรมาสแรก เป็นสัญญาณที่บอกว่ากำลังตั้งครรภ์ โดยแต่ละอาการอาจเกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้นก็ได้ เพื่อให้แน่ใจถึง อาการคนท้องไตรมาสแรก อาจลองสังเกตสัญญาณของอาการเหล่านี้ที่อาจกำลังเกิดขึ้นกับตัวเอง เพื่อจะรู้ตัวทันและดูแลเจ้าตัวน้อยได้อย่างดีที่สุด

[embed-health-tool-due-date]

อาการคนท้องไตรมาสแรก เป็นอย่างไร

แม้ว่า อาการคนท้อง อาจจะไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคน แต่สัญญาณแรกที่บอกว่าผู้หญิงกำลังตั้งครรภ์ คือ รอบประจำเดือนที่ขาดหายไป โดยในช่วง 2 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์อาจมีเลือดออกเป็นจุดเล็ก ๆ หรือเรียกว่า เลือดล้างหน้าเด็ก (Implantation Bleeding) นอกจากนี้ อาการคนท้อง ช่วงไตรมาสแรก ยังอาจมีดังต่อไปนี้

เต้านมบวมและกดเจ็บ

ในช่วง ไตรมาสแรก เมื่อไข่ได้รับการปฏิสนธิ ฮอร์โมนในร่างกายจะเกิดการเปลี่ยนแปลง ทำให้หน้าอกของคุณไวต่อความรู้สึกมากเป็นพิเศษ นอกจากนี้ยังอาจมีอาการเจ็บ หรือรู้สึกไม่สบายตัวในบริเวณเต้านมอีกด้วย อาการเหล่านี้จะลดลงเมื่อผ่านไป 2-3 สัปดาห์ เนื่องจากร่างกายมีการปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน

รู้สึกคลื่นไส้

เมื่อตั้งครรภ์เป็นระยะเวลาหนึ่ง ฮอร์โมนที่เพิ่มขึ้นอาจทำให้เกิดอาการแพ้ท้องตามมา ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาไม่ว่าจะเป็นเวลากลางวันหรือกลางคืน โดยอาจสามารถจัดการกับ อาการคนท้อง เหล่านี้ได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้

  • อย่าปล่อยให้ท้องว่าง
  • กินช้า ๆ ในปริมาณน้อย ๆ ทุก 1-2 ชั่วโมง
  • เลือกอาหารที่มีไขมันต่ำ
  • หลีกเลี่ยงอาหารหรือกลิ่นที่ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้
  • ดื่มน้ำปริมาณมาก ๆ
  • เลือกรับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบขิง อาจช่วยให้อาการคลื่นไส้ดีขึ้น

ปัสสาวะบ่อยครั้ง

ปริมาณเลือดในร่างกายเพิ่มขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์ ทำให้ไตนำของเหลวส่วนเกินทั้งหมดเปลี่ยนเป็นปัสสาวะ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้คุณปัสสาวะบ่อยขึ้น และจะปัสสาวะบ่อยขึ้นตามอายุครรภ์ที่มากขึ้นได้ เนื่องจากมดลูกที่ขนาดโตขึ้นไปกดเบียดกระเพาะปัสสาวะที่อยู่ด้านหน้าได้

ความเหนื่อยล้า

ระดับของฮอร์โมนโปนเจสเตอโรน (Hormone Progesterone) พุ่งสูงขึ้นในช่วง ไตรมาสแรก ของการตั้งครรภ์ ทำให้คุณมีอาการง่วงบ่อย นอนหลับง่ายขึ้น การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และการออกกำลังกายอาจช่วยเพิ่มพลังงานให้กับร่างกายได้

ความอยากอาหารลดลง

เมื่อคุณตั้งครรภ์อาจทำให้คุณไวต่อการรับกลิ่นมากขึ้น และการรับรสอาจเปลี่ยนไปด้วยเช่นกัน จึงส่งผลกระทบต่อความชอบและความอยากอาหาร

อาการเสียดท้องช่วง ไตรมาสแรก

การตั้งครรภ์อาจส่งผลกระทบต่อการเปิดปิดของกระเพาะอาหาร จนอาจทำให้กรดในกระเพาะอาหารไหลเข้าสู่หลอดอาหารได้ง่ายขึ้น ทำให้เกิดอาการเสียดท้อง เพื่อป้องกันอาการเสียดท้องควรรับประทานอาหารมื้อเล็ก ๆ บ่อยครั้ง หลีกเลี่ยงอาหารทอด ผลไม้รสเปรี้ยว ช็อคโกแลต อาหารรสเผ็ดหรือทอด

ท้องผูก

ฮอร์โมนโปนเจสเตอโรน (Progesterone) ที่เพิ่มสูงขึ้นสามารถชะลอการเคลื่อนไหวของอาหารผ่านระบบย่อยอาหาร ทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์อาจมีอาการท้องผูกได้ เพื่อป้องกันและบรรเทาอาการท้องผูกให้รับประทานอาหารที่มีกากใย ดื่มน้ำมาก ๆ และออกกำลังกายเป็นประจำ

อารมณ์แปรปรวนในช่วง ไตรมาสแรก

คนท้องในช่วง ไตรมาสแรก อาจมีความเปลี่ยนแปลงของอารมณ์มากมาย ทั้งรู้สึกมีความสุข กระวนกระวายใจ โกรธ หรือหมดเรี่ยวแรง เนื่องจากความเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในช่วงตั้งครรภ์ บวกกับความความกังวลเกี่ยวกับสุขภาพของทารก การเริ่มปรับตัวเพื่อเป็นพ่อแม่ หรือความต้องการทางการเงินในการเลี้ยงดูลูก อาจส่งผลให้คุณแม่ตั้งครรภ์เกิดความเครียดมากขึ้น และทำให้อารมณ์แปรปรวนได้

หากอาการเหล่านี้กำลังเกิดขึ้นกับตัวเองและมีอาการที่รุนแรงมากขึ้น ควรรีบพบคุณหมอเพื่อรับคำแนะนำและตรวจสอบอาการของตัวเองในทันที

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Pregnancy week by week. https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/pregnancy-week-by-week/in-depth/pregnancy/art-20047208. Accessed July 15, 2021

Is implantation bleeding normal in early pregnancy?. https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/pregnancy-week-by-week/expert-answers/implantation-bleeding/faq-20058257. Accessed July 15, 2021

1 to 12 weeks pregnant. https://www.nhs.uk/pregnancy/week-by-week/1-to-12/. Accessed July 15, 2021

Body changes and discomforts. https://www.womenshealth.gov/pregnancy/youre-pregnant-now-what/body-changes-and-discomforts. Accessed July 15, 2021

Pregnancy Week by Week (First, Second, and Third Trimester). https://www.medicinenet.com/pregnancy/article.htm. Accessed July 15, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

18/09/2022

เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงรัชตภา นาเวศภูติกร

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

คนท้องทำงานบ้าน อันตรายหรือไม่ และควรหลีกเลี่ยงอะไรบ้าง

อาหารคนท้อง ที่จำเป็นต่อสุขภาพคุณแม่และทารกในครรภ์


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงรัชตภา นาเวศภูติกร

สูตินรีเวชวิทยา · โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 18/09/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา