สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ หรือครอบครัวที่เตรียมมีลูก เชื่อว่าสิ่งหนึ่งที่ว่าที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ต้องอยากรู้แน่นอนก็คือ พัฒนาการของทารกในครรภ์ในแต่ละช่วงเวลา นี่คือสิ่งที่คุณแม่ควรรู้เกี่ยวกับ พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 35
พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 35
ลูกจะเติบโตอย่างไร
สำหรับพัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 35 นี้ ลูกน้อยของคุณมีขนาดตัวเท่ากับแตงโมลูกเล็ก โดยมีน้ำหนักตัวประมาณ 2.3 กิโลกรัม และสูงประมาณ 46 เซนติเมตร โดยวัดจากศีรษะถึงปลายเท้า
ตัวของทารกน้อยในครรภ์โตขึ้นเรื่อยๆ พื้นที่ในการเคลื่อนไหวจึงน้อยลง คุณแม่จึงอาจรู้สึกว่าลูกเคลื่อนไหวรุนแรงขึ้น แต่ความถี่ของการเคลื่อนไหวอาจน้อยลง หากลูกน้อยอยู่ในท่าเอาศีรษะลง ศีรษะของเขาจะอยู่กระดูกหัวหน่าวของคุณแม่ ซึ่งเป็นท่าเตรียมพร้อมรอคลอด
ความเปลี่ยนแปลงของร่างกายและรูปแบบการใช้ชีวิต
ร่างกายจะเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง
ตอนนี้มดลูกที่มีกระดูกเชิงกรานปกป้องเอาไว้ จะขยายใหญ่ขึ้นจนถึงระดับใต้ซี่โครงของคุณ ลูกน้อยในครรภ์มีขนาดตัวใหญ่ขึ้นจนกินเนื้อที่ในมดลูกมากกว่าน้ำคร่ำ มดลูกที่ขยายใหญ่ขึ้นกำลังเบียดหรือกดทับอวัยวะอื่นๆ ซึ่งนั่นคือเหตุผลว่าทำไมคุณถึงปวดปัสสาวะบ่อย มีอาการแสบร้อนกลางอก หรือระบบทางเดินอาหารทำงานได้ไม่ปกติ ซึ่งอาการเหล่านี้ถือเป็นอาการที่คุณแม่ตั้งครรภ์ส่วนใหญ่ต้องพบเจอ ไม่ใช่เรื่องผิดปกติอะไร
ควรระมัดระวังอะไรบ้าง
หลายคนอาจคิดว่าทารกน้อยร้องไห้ครั้งแรกเมื่อลืมตาดูโลก แต่มีงานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่า ทารกในครรภ์มีการแสดงพฤติกรรมที่คล้ายคลึงกับการร้องไห้ เช่น คางสั่น อ้าปากกว้าง หายใจเข้าถี่ๆ หลายครั้งก่อนจะหายใจออก คล้ายสะอื้น จึงสันนิษฐานได้ว่า ทารกอาจร้องไห้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์แล้วก็เป็นได้
การพบคุณหมอ
ควรปรึกษาแพทย์อย่างไรบ้าง
ส่วนใหญ่แล้วทารกน้อยจะคลอดในช่วงอายุครรภ์ 37-41 สัปดาห์ แต่หากทารกอยู่ในครรภ์ตั้งแต่ 42 สัปดาห์ หรือ 294 วันขึ้นไป ถือว่าเป็น “การตั้งครรภ์เกินกำหนด’ ซึ่งมีความเสี่ยงกับทั้งคุณแม่และทารกในครรภ์ หากเกิดกรณีนี้ คุณแม่ควรรีบปรึกษาคุณหมอทันที เพื่อจะได้ตรวจหาสาเหตุและวิธีรับมือต่อไป
การทดสอบที่ควรรู้
ในช่วงเนี้ คุณแม่ตั้งครรภ์อาจต้องเข้าพบคุณหมอบ่อยขึ้น และต้องตรวจสอบร่างกายหลายรายการเป็นพิเศษ เนื่องจากคุณหมอต้องประเมินขนาดของทารกในครรภ์ รวมไปถึงคำนวณวันคลอด โดยการตรวจ หรือทดสอบร่างกายที่อาจเกิดขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ 34 นี้ ได้แก่
- ชั่งน้ำหนัก โดยส่วนใหญ่น้ำหนักตัวของคุณแม่จะคงที่หรือลดลง
- วัดความดันโลหิต ซึ่งความดันโลหิตอาจสูงกว่าในช่วงไตรมาสที่ 2
- ตรวจปัสสาวะเพื่อหาค่าน้ำตาลและโปรตีน
- ตรวจหาเส้นเลือดขอดที่ขา รวมทั้งอาการบวมที่มือและเท้า
- วัดขนาดมดลูก โดยการตรวจภายใน เพื่อตรวจเช็คความหนาของผนังมดลูก และดูว่าปากมดลูกเริ่มเปิดหรือยัง
- วัดความสูงของยอดมดลูก
- วัดอัตราการเต้นของหัวใจ
- วัดขนาดทารก ตรวจสอบท่าทางก่อนคลอด ว่าทารกในครรภ์อยู่ในท่าเอาหัวลงหรือเอาก้นลง และก้มหน้าหรือเงยหน้าขึ้น)
คุณแม่ตั้งครรภ์บางรายอาจต้องมีการตรวจร่างกายนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น หากคุณมีข้อสงสัยใดๆ ไม่ว่าจะเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ในช่วงสัปดาห์ที่เหลือ หรือการคลอดบุตร เช่น การเจ็บท้องคลอด ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องและชัดเจนที่สุด
สุขภาพและความปลอดภัย
ควรทำอย่างไรเพื่อให้สุขภาพดีและปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์
- ท่านอนที่เหมาะสม
ในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ คุณยังสามารถนอนหงายได้เนื่องจากน้ำหนักลูกน้อยยังไม่เยอะ แต่ในช่วงไตรมาสที่สามของการตั้งครรภ์ เมื่อลูกน้อยในครรภ์ตัวหนักขึ้น คุณควรนอนตะแคงซ้ายดีที่สุด และไม่ควรนอนคว่ำ เนื่องจากท้องจะกดดันหน้าอก และช่องคลอดที่ขยายใหญ่ขึ้น ซึ่งอาจเป็นอันตรายกับตัวคุณและลูกในครรภ์ได้
ทางที่ดีคุณแม่ตั้งครรภ์ควรฝึกนอนตะแคงให้ชินตั้งแต่ช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ โดยท่าที่เหมาะสมกับคุณแม่ตั้งครรภ์ คือ ท่านอนตะแคงซ้าย งอเข่าเวลานอน เพื่อไม่ให้หัวใจทำงานหนักเกินไป
แล้วมาดูกันว่า ในสัปดาห์ต่อไป คุณแม่ต้องปฏิบัติตัวอย่างไร และทารกในครรภ์จะมีพัฒนาการอย่างไรบ้าง
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด
[embed-health-tool-pregnancy-weight-gain]