backup og meta

ปัสสาวะไม่ออกหลังคลอด ควรรับมืออย่างไร

ปัสสาวะไม่ออกหลังคลอด ควรรับมืออย่างไร

ปัสสาวะไม่ออกหลังคลอด อาจเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในคุณแม่ที่เพิ่งคลอดลูก นอกจากนี้ ยังมีอารการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ปัสสาวะรั่ว ปัสสาวะเล็ด ปัสสาวะไม่สุด ปัสสาวะติด ๆ ขัด ๆ ปัสสาวะแล้วแสบ ซึ่งอาการดังกล่าวมีที่มาจากหลายสาเหตุมาก ดังนั้น การดูแลตัวเองหลังคลอด จึงเป็นสิ่งที่คุณแม่หลังคลอดควรศึกษาเพิ่มเติมเพื่อจะได้ดูแลตัวเองได้อย่างถูกวิธี

[embed-health-tool-ovulation]

ปัสสาวะไม่ออกหลังคลอด เกิดจากอะไร

อาการปัสสาวะไม่ออก  (Urinary Retention หรือ UR) อาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้

  • ระหว่างการคลอด ศีรษะของทารกได้ไปกดกระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะไว้ ส่งผลทำให้ท่อปัสสาวะบวมหรือบอบช้ำ จนทำงานได้ไม่เต็มที่ จึงส่งผลให้คุณแม่เกิดอาการปัสสาวะลำบากหรือปัสสาวะไม่ออก
  • อาจเกิดจากความเจ็บปวดบริเวณแผลฝีเย็บตอนที่คลอดลูกออกทางช่องคลอด จึงส่งผลให้คุณแม่ปัสสาวะได้ไม่คล่อง
  • ปัสสาวะแล้วมีอาการแสบขัด อาจเกิดจาปกกระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cystitis) หรือท่อปัสสาวะอักเสบ (Urethritis) ซึ่งควรไปพบคุณหมอเพื่อรับการรักษา
  • สำหรับการคลอดของคุณแม่บางราย คุณหมออาจช่วยคลอดโดยใช้คีม (Foreceps Extraction) หรือการช่วยคลอดด้วยเครื่องดูดสุญญากาศ (Vacuum Extraction) เพื่อดึงศีรษะเด็กออกมา จึงอาจทำให้กระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะบอบช้ำ ส่งผลให้กระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะบวมแดง และทำให้คุณแม่พบกับภาวะปัสสาวะไม่ออกได้

วิธีรับมือกับอาการ ปัสสาวะไม่ออกหลังคลอด

หากคุณแม่หลังคลอดมีอาการปัสสาวะไม่ออกที่ไม่ได้มีผลมาจากอาการติดเชื้อหรืออักเสบควรไปพบคุณหมอ แต่สำหรับวิธีรับมือกับอาการปัสสาวะไม่ออกหลังคลอด อาจลองปฏิบัติตัวตามคำแนะนำดังนี้

  • ดื่มน้ำให้มาก ๆ โดยควรเป็นน้ำเปล่าที่มีอุณหภูมิปกติ หรือน้ำอุ่น
  • ไม่ควรกลั้นปัสสาวะ หากปัสสาวะค้างในกระเพาะปัสสาวะหรือท่อปัสสาวะมากเกินไปอาจทำให้แบคทีเรียสะสมมากขึ้น เกิดความเสี่ยงติดเชื้อและเกิดอาการอักเสบ ดังนั้น เมื่อปวดปัสสาวะควรรีบเข้าห้องน้ำ
  • รักษาความสะอาดของช่องคลอด และไม่ควรทาแป้งบริเวณช่องคลอดโดยตรง เพราะเสี่ยงต่อการหมักหมมที่อาจก่อให้เกิดการติดเชื้อต่าง ๆ
  • หลังคลอดควรเคลื่อนไหวร่างกาย คุณแม่ไม่ควรนอนเฉย ๆ แต่ควรออกกำลังกายบ้าง เช่น เดิน ทำงานบ้านเล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อให้โลหิตไหลเวียนได้ดี
  • งดการมีเพศสัมพันธ์ช่วงหลังคลอด ประมาณ 6 สัปดาห์ เพื่อให้แผลฝีเย็บช่องคลอดหายดีก่อน
  • หลีกเลี่ยงการยกของหนักเกิน 5 กิโลกรัม เพราะอาจกดทับกระเพาะปัสสาวะ หรือทำให้แผลผ่าคลอดหรือแผลเย็บคลอดปริได้

ทั้งนี้ ควรหมั่นสังเกตอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย หากมีไข้ ปวดหลัง หรือหนาวสั่นสะท้าน อาจหมายถึงร่างกายเกิดการอักเสบจากการติดเชื้อ ควรรีบไปพบหมอ เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น กรวยไตอักเสบ (Pyelonephritis)

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Loss of Bladder Control Postpartum http://www.whattoexpect.com/pregnancy/symptoms-and-solutions/postpartum-urinary-incontinence.aspx. Accessed October 27, 2022.

Caring for your Bladder During and
after Delivery. https://www.med.umich.edu/1libr/Gyn/BirthCenterPostpartum/BladderPostpartum.pdf. Accessed October 27, 2022.

After A Baby. https://www.bladderandbowel.org/bladder/bladder-resources/after-a-baby/. Accessed October 27, 2022.

Urinary Incontinence and Pregnancy. https://www.webmd.com/urinary-incontinence-oab/pregnancy. Accessed October 27, 2022.

Bladder Care Postpartum and Management of Urinary Retention. https://www.nationalwomenshealth.adhb.govt.nz/assets/Womens-health/Documents/Policies-and-guidelines/Bladder-Care-Postpartum-and-Management-of-Urinary-Retention-.pdf. Accessed October 27, 2022.

เวอร์ชันปัจจุบัน

30/06/2024

เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

อยู่ไฟ การดูแลสุขภาพหลังคลอดแบบไทยๆ คืออะไร

สาเหตุของปัสสาวะเล็ด หลังคลอด และการดูแลตัวเอง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

Duangkamon Junnet


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 30/06/2024

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา