backup og meta

ผมร่วงหลังคลอด เกิดจาก อะไร และวิธีดูแลผมหลังคลอด

ผมร่วงหลังคลอด เกิดจาก อะไร และวิธีดูแลผมหลังคลอด

อีกหนึ่งการเปลี่ยนแปลงด้านสุขภาพที่พบหลังคลอดบุตร คือ ภาวะ ผมร่วงหลังคลอด เกิดจาก การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนภายในร่างกาย ทั้งนี้ อาการผมร่วงจะเกิดขึ้นประมาณ 2-3 เดือนเท่านั้นหลังคลอดบุตรแล้ว และไม่ได้เป็นสัญญาณอันตรายต่อปัญหาสุขภาพใด ๆ อย่างไรก็ตาม หลังคลอดบุตร คุณแม่สามารถดูแลตนเองเพื่อให้ผมมีสุขภาพดีและลดโอกาสผมร่วงหลังคลอดซึ่งอาจทำให้รู้สึกกังวลใจได้

[embed-health-tool-due-date]

ผมร่วงหลังคลอด เกิดจาก อะไร

ผมร่วงหลังคลอด เกิดจาก การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) และ ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ที่เพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้ หลังคลอดบุตรแล้ว เมื่อระดับฮอร์โมนลดลง อาการผมร่วงจะหายไป และร่างกายจะกลับเข้าสู่สภาวะปกติ ทั้งนี้ ไม่มีวิตามินหรืออาหารเสริมตัวใดที่จะช่วยแก้ปัญหานี้ได้ คุณแม่ทำได้เพียงอดทนและรอเวลาเท่านั้น อย่างไรก็ตาม หากภายในระยะเวลา 1 ปี คุณแม่ยังมีอาการผมร่วงอยู่ ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อหารับคำแนะนำหาแนวทางการแก้ไข 

เคล็ดลับการดูแล อาการผมร่วงหลังคลอด

อาการผมร่วงหลังคลอด เป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แต่หากคุณแม่มีความกังวลใจ สามารถรับมือกับปัญหาดังกล่าวได้ด้วยเคล็ดลับดังต่อไปนี้ 

  • เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่เพียงพอ เน้นรับประทานอาหารที่อุดมด้วยโปรตีน เพื่อช่วยเสริมสร้างกระบวนการเจริญเติบโตของเส้นผม
  • ใช้หวีซี่ห่าง เพื่อลดแรงเสียดทานขณะหวีผม ช่วยแก้ปัญหาผมพันกัน ลดปัญหาผมขาดหลุดร่วง
  • ใช้ผ้าคาดผมหรือปิ่นปักผมแทนการใช้ยางรัดผม และควรหลีกเลี่ยงการดึงผมเป็นหางม้ารวบตึง
  • หลีกเลี่ยงการใช้ความร้อนกับเส้นผม เช่น ใช้ไดร์เป่าผม เครื่องม้วนผม รวมถึงการทำทรีตเมนต์ที่เป็นสารเคมี
  • สระผมอย่างถูกวิธี ไม่ควรสระผมบ่อยเกินไป เพราะอาจทำให้ผมเปราะบาง ขาดร่วงได้ง่าย
  • อาจเลือกเปลี่ยนทรงผม หรือตัดผมสั้นเพื่อง่ายต่อการดูแลรักษา และลดอัตราการล่วงของเส้นผม
  • เลือกใช้ยาสระผมที่ช่วยให้ผมดูมีน้ำหนัก เพื่อวอลลุ่มทรงผมไม่ให้แลดูผมบางจนเกินไป

ข้อควรระวังสำหรับคุณแม่ในการเลี้ยงลูกน้อย

สิ่งที่คุณแม่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษขณะที่มีอาการผมร่วงอยู่นั้น คือ ต้องคอยสังเกต อาการผมร่วงหลังคลอดของตนเองเพื่อไม่ให้เส้นผมไปพันหรือเสียดสีตามผิวและอวัยวะต่าง ๆ ของลูกน้อย โดยเฉพาะบริเวณข้อพับ เช่น ข้อมือ ข้อเท้า ข้อพับบริเวณศอก ขาหนีบ  สะดือ รวมถึงบริเวณจุดซ่อนเร้น

เพราะอาจทำให้เกิดภาวะสุขภาพที่เรียกว่า Hair Tourniquet หรือที่เรียกว่า Toe-Tourniquet Syndrome ส่งผลให้ลูกน้อยเกิดการระคายเคือง และอาจมีอาการร้องไห้โดยไม่ทราบสาเหตุได้ด้วย  

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

What to Do if You Have Postpartum Hair Loss. https://www.webmd.com/parenting/what-to-do-if-you-have-postpartum-hair-loss. Accessed May 9, 2022.

How to Deal With Hair Loss After Pregnancy. https://health.clevelandclinic.org/how-to-deal-with-hair-loss-after-pregnancy/. Accessed May 9, 2022.

Postpartum hair loss. https://www.babycenter.com/baby/postpartum-health/postpartum-hair-loss_11721. Accessed May 9, 2022.

HAIR LOSS IN NEW MOMS. https://www.aad.org/public/diseases/hair-loss/insider/new-moms. Accessed May 9, 2022.

Postpartum Hair Loss. https://www.whattoexpect.com/first-year/postpartum-health-and-care/postpartum-hair-loss/. Accessed May 9, 2022.

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

28/11/2022

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย เนตรนภา ปะวะคัง

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

ผ้ารัดหน้าท้องหลังคลอด ประโยชน์และวิธีใช้งาน

ท้องลายหลังคลอด เกิดจากอะไร และควรดูแลอย่างไร


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

เนตรนภา ปะวะคัง


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 28/11/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา