backup og meta

ร่างกายหลังคลอด คุณแม่มือใหม่ดูแลตนเองอย่างไรดี

ร่างกายหลังคลอด คุณแม่มือใหม่ดูแลตนเองอย่างไรดี

ร่างกายหลังคลอด หมายถึง สุขภาพด้านร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไปหลังจากตั้งครรภ์และคลอดทารก ซึ่งในเบื้องต้นร่างกายจะค่อยๆ กลับคืนสู่ภาวะก่อนตั้งครรภ์ ทั้งระดับฮอร์โมนต่าง ๆ และรูปร่างภายนอก สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตใจด้วย คุณแม่มือใหม่ควรรู้จักวิธีรับมือกับร่างกายหลังคลอดเพื่อจะได้เข้าใจสภาวะดังกล่าวและมีความสุขมากขึ้น

เข้าใจกับการเปลี่ยนแปลงของ ร่างกายหลังคลอด 

หลังคลอดทารก ร่างกายจะค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงกลับสู่ภาวะก่อนตั้งครรภ์ ซึ่งทำให้เกิดอาการต่างๆ ดังนี้

  • บาดเจ็บกล้ามเนื้อ เป็นอาการที่พบโดยทั่วไปภายหลังการคลอดบุตร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บริเวณแขน ต้นคอ และกราม
  • ภาวะเลือดออกหรือมีของเหลวออกมาทางช่องคลอด อาจมีอาการตั้งแต่ 2 ถึง 4 สัปดาห์ และอาการจะค่อย ๆ หายไปภายใน 2 เดือน
  • มดลูกหดตัว อาจใช้เวลาประมาณ 8 สัปดาห์ที่มดลูกจะกลับเข้าสู่สภาวะเดิมก่อนการคลอด
  • อาการเจ็บในช่องคลอด คุณแม่หลังคลอดอาจรู้สึกระคายเคือง ชา หรือเจ็บในช่องคลอด หรือหากผ่าคลอด ฝีเย็บอาจเกิดการปริแตกได้ หรือหากมีการตัดขยายปากช่องคลอด อาจมีอาการเจ็บปวดรุนแรงได้ในบางขณะที่เคลื่อนไหวร่างกาย
  • เจ็บบริเวณท้องน้อย ในกรณีที่ผ่าท้องคลอด อาจมีอาการเจ็บปวดบริเวณแผล โดยแพทย์อาจจ่ายยาบางชนิดเพื่อบรรเทาอาการเหล่านี้ และอาจเจ็บนานประมาณ 1-2 สัปดาห์
  • เต้านมคัด เต้านมคัดเป็นอาการที่พบได้เป็นปกติในหญิงที่ให้นมบุตร เนื่องจากเต้านมจะเต็มไปด้วยน้ำนม 3-4 วันหลังการคลอดบุตร ซึ่งเป็นกระบวนการตามธรรมชาติ สามารถบรรเทาอาการได้ด้วยการประคบน้ำแข็ง หรือประคบร้อนบริเวณเต้านม หรือจะอาบน้ำอุ่นก็ได้เช่นกัน
  • น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น มักเกิดขึ้นในผู้หญิงหลายคน และมักเกิดขึ้นร่วมกับความเปลี่ยนแปลงด้านอารมณ์ด้วย

วิธีดูแลตัวเองหลังการคลอดบุตร 

เพื่อช่วยให้ร่างกายกลับสู่การทำงานตามปกติ คุณแม่หลังคลอดอาจต้องมุ่งเป้าไปที่การเยียวยาและดูแลร่างกายตนเอง ซึ่งสามารถปฏิบัติตามข้อแนะนำต่าง ๆ ได้ดังนี้

รับประทานอาหารที่มีประโยชน์

หลังการคลอดบุตร ร่างกายจำเป็นต้องได้รับอาหารที่มีประโยชน์เพื่อเสริมสร้างระบบฟื้นฟูในร่างกาย ควรเพิ่มการรับประทานผัก ผลไม้ โปรตีน และธัญพืช ให้มากขึ้น

ปรึกษาคุณหมอก่อนตัดสินใจออกกำลังกาย

คุณหมอจะแจ้งให้ทราบว่าเมื่อใดที่ร่างกายของคุณแม่หลังคลอดพร้อมจะออกกำลังกายได้อย่างปลอดภัย และท่าทางแบบไหนที่เหมาะกับสภาพร่างกาย

ใช้ยาบรรเทาปวด

เพื่อลดอาการปวดท้อง อาจต้องรับประทานยาไอบูโพรเฟน หรือในกรณีที่คุณหมอสั่งจ่ายยาชนิดอื่น ๆ มาให้ ควรรับประทานยาที่คุณหมอสั่ง และหากต้องการรับประทานยาตัวอื่น ควรปรึกษาคุณหมอหรือเภสัชกราใกล้บ้าน ไม่ควรซื้อยารับประทานยาเอง

ประคบเย็นบริเวณช่องคลอด

เมื่อมีอาการเจ็บหรือบวมรอบบริเวณช่องคลอด อาจใช้น้ำแข็งประคบบริเวณที่มีอาการประมาณ 10-20 นาที และควรใช้ผ้าห่อน้ำแข็งเพื่อป้องกันผิวจากการสัมผัสน้ำแข็งโดยตรง

ทำความสะอาดร่างกายด้วยน้ำอุ่น

ควรอาบน้ำหรือทำความสะอาดร่างกายด้วยน้ำอุ่น และอาจนั่งแช่ในน้ำอุ่นสามครั้งต่อวัน หรือหลังจากถ่ายอุจจาระ

บรรเทาอาการริดสีดวงทวาร

ผู้หญิงหลังคลอดเกือบทุกคนจะมีอาการเจ็บปวดจากโรคริดสีดวงทวาร (hemorrhoids) หรือบริเวณระหว่างช่องคลอดและลำไส้ใหญ่ เพื่อบรรเทาอาการนี้ อาจใช้น้ำแข็งประคบหรือใช้แผ่นแปะที่ประกอบด้วยสารสกัดจากต้นวิชฮาเซล

บรรเทาอาการท้องผูก

ควรดื่มน้ำและของเหลวมาก ๆ รวมทั้งรับประทานอาหารที่มีกากใยสูง หรือในบางรายคุณหมออาจจ่ายยาเพื่อให้ถ่ายสะดวกขึ้น

ระมัดระวังแผลผ่าตัด

ผู้ที่ผ่าคลอดควรงดกิจกรรมที่ใช้แรงอย่างน้อย 6 สัปดาห์หรือมากกว่า และควรใช้หมอนวางบนแผลผ่าตัดหากมีอาการไอ หรือใช้ขณะนอนหลับเพื่อบรรเทาอาการปวดแผล

กิจกรรมที่ควรหลีกเลี่ยงหลังการคลอดบุตรมีอะไรบ้าง

ควรงดเว้นกิจกรรมทางเพศประมาณ 4-6 สัปดาห์หลังการคลอดบุตร หรือจนกว่าจะหายดี  ในกรณีที่ต้องเดินทางโดยรถยนต์เป็นระยะเวลานาน ๆ ควรหยุดพักรถบ่อย ๆ เพื่อเปลี่ยนอิริยาบถ แต่ถ้าเป็นไปได้ควรงดเดินทางประมาณ 5-6 สัปดาห์

[embed-health-tool-ovulation]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

The New Mother: Taking Care of Yourself After Birth. https://www.stanfordchildrens.org/en/topic/default?id=the-new-mother-taking-care-of-yourself-after-birth-90-P02693. Accessed April 7, 2022.

Vaginal Delivery Recovery.https://www.webmd.com/parenting/baby/recovery-vaginal-delivery#1 . Accessed April 7, 2022.

Caring for Your Health After Delivery. https://my.clevelandclinic.org/health/articles/9679-postpartum-care. Accessed April 7, 2022.

เวอร์ชันปัจจุบัน

07/04/2022

เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet


บทความที่เกี่ยวข้อง

ผมร่วงหลังคลอด สาเหตุและวิธีดูแลตัวเอง

โรคซึมเศร้าหลังคลอด ภัยเงียบที่คุณแม่มือใหม่ควรรู้


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

Duangkamon Junnet


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 07/04/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา