backup og meta

ภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอด หรือ Baby Blues ควรรับมืออย่างไร

ภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอด หรือ Baby Blues ควรรับมืออย่างไร

วิธีรับมือภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอด เป็นการจัดการกับภาวะทางอารมณ์ซึ่งส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นกับคุณแม่ที่เพิ่งคลอดลูก เนื่องจากเกิดความเปลี่ยนแปลงในหลาย ๆ ด้านทั้งร่างกาย จิตใจ ระดับฮอร์โมน รวมทั้งสถานะและหน้าที่ความรับผิดชอบ อาจสร้างความกดดันหรือความคาดหวังให้คุณแม่จนเกิดเป็นภาวะเศร้าหลังคลอด ทั้งนี้ คุณแม่ควรศึกษาเกี่ยวกับภาวะหลังคลอดและหมั่นสังเกตตนเองเพื่อหาวิธีรับมือและกลับมาเป็นปกติเพื่อตักตวงช่วงเวลาแห่งความสุขกับลูกน้อยให้ได้มากที่สุด

[embed-health-tool-due-date]

ภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอด คืออะไร

ภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอด หรือ Baby Blue เป็นอาการของหญิงคลอดบุตรที่ไม่สามารถจัดการกับสภาพจิตใจหลังจากคลอดบุตรไปแล้วได้ โดยส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นในช่วงเวลา 2-3 วัน หลังคลอดหรือเมื่อกลับมาอยู่บ้าน หรืออาจนานกว่านั้นขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ปกติ เนื่องจากเกิดการเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนหลังจากคลอดบุตร รวมทั้งภาวะนอนน้อย อดนอน เนื่องจากต้องตื่นขึ้นมาดูแลลูก รวมไปถึงให้นม จึงทำให้เกิดความเครียด อารมณ์เปลี่ยนแปลงได้ง่าย

ภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอด มีอาการอย่างไร

คุณแม่หลังคลอดบุตร อาจสังเกตตนเองว่ามีภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอดหรือไม่ เพื่อเตรียมรับมือและหาวิธีดูแลตนเอง

  • อารมณ์แปรปรวน
  • เบื่ออาหาร หรือมีความอยากรับประทานอาหารมากขึ้น (ขึ้นอยู่แต่ละบุคคล)
  • นอนไม่หลับ
  • กลัวการเป็นแม่ที่ไม่ดี กลัวว่าทำหน้าที่เลี้ยงลูกได้ไม่ดีพอ
  • รู้สึกผูกพันกับลูกลดลง
  • มีความวิตกกังวลตลอดเวลา
  • ไม่สามารถมีความสุขกับช่วงเวลาที่ได้เป็นแม่

สาเหตุภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอด

ภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอดอาจเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ หลายประการ ดังนี้

  • การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน หลังจากคลอดลูก ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน และฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนลดลง อย่างรวดเร็ว ทำให้ร่างกายและจิตใจอาจปรับตัวไม่ทันจนเกิดอารมณ์แปรปรวน
  • การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ หลังจากคลอดลูกแล้ว ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง ทั้งความเจ็บปวดระหว่างคลอดลูกแบบคลอดธรรมชาติและแผลจากการฉีกขาดของช่องคลอด หรือหลังการผ่าคลอด ซึ่งต้องใช้เวลาในการพักรักษาตัว จึงทำให้คุณแม่อาจหงุดหงิด ไม่สบายตัว เจ็บปวดแผล และอารมณ์ขึ้น ๆ ลง ๆ ได้
  • ความเครียด ส่วนใหญ๋คุณแม่มักจะนอนไม่เพียงพอ เนื่องจากต้องตื่นขึ้นมาให้นมลูก หรือบางครั้งอาจเกิดความกังวลว่าตนเองจะสามารถเลี้ยงลูกน้อยได้ดีเพียงพอหรือไม่

วิธีรับมือภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอดมีอะไรบ้าง

ภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอดมีโอกาสเกิดขึ้นได้กับคุณแม่มือใหม่ทกคน หรือแม้กระทั่งผู้ที่เคยมีลูกมาแล้ว ทั้งนี้ วิธีรับมือภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอดอาจช่วยให้คุณแม่สามารถปรับตัวและกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติได้ หากลองปฏิบัติตัวดังนี้

  1. สร้างความผูกพันกับลูกน้อย

หมายถึงการเล่น และมีปฏิสัมพันธ์กับลูกน้อยให้มากขึ้น แม้ว่าลูกน้อยอาจร้องไห้ เกิดจากอาการหิว รู้สึกไม่สบายตัว  ควรตอบสนองทางด้านร่างกาย และทำให้ลูกน้อยหยุดร้องไห้ เพื่อเป็นการสร้างความสัมพันธ์ สร้างความอบอุ่น รวมถึงสร้างความปลอดภัยให้กับลูกน้อย ทั้งนี้ วิธีการสร้างความผูกพันนั้น ขึ้นอยู่กับแต่ละครอบครัว อาจใช้วิธีการเล่นกับลูกน้อย เนื่องจากการเล่นกับลูกน้อย ทำให้ร่างกาหลั่งสารเอ็นดรอฟินซึ่งเป็นสารสร้างความสุข เมื่อเห็นลูกน้อยยิ้มหัวเราะอาจช่วยเพิ่มความมั่นใจในการเลี้ยงลูกน้อยมากขึ้น

  1. หาที่พึ่งพา (ขอความช่วยเหลือจากบุคคลอื่น)

การหาที่พึ่งพา เป็นอีกหนึ่งวิธีรับมือภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอด เช่น การปรึกษาแพทย์ การแชร์ความรู้สึกกับเพื่อน ญาติ หรือพี่น้อง กับบุคคลที่สนิท เพราะคุณแม่หลังคลอดไม่ควรเก็บอารมณ์ต่าง ๆ ไว้คนเดียว เพราะอาจทำให้รู้สึกเครียด และรู้สึกแย่ลงไปอีก ฉะนั้น การหาที่พึ่งพาอาจเป็นอีกหนึ่งวิธีรับมือภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอด

  1. การดูแลตัวเอง

ปรับทัศนคติตัวเอง กลับไปดูแลตัวเอง เนื่องจากคุณแม่หลายคนรู้สึกว่า การเป็นคุณแม่ทำให้ตัวเองสูญเสียความเป็นตัวเองไป ทั้งนี้ ควรให้เวลาตนเองในการปรับตัว และค่อย ๆ กลับไปดูแลตนเอง อาจเริ่มต้นด้วยการออกกำลังกาย  จัดการบริหารเวลาให้เหมาะสม และค่อย ๆ ปรับเปลี่ยนการรับประทานอาหาร โดยเน้นอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย อาจมีบางมื้อที่เพิ่มอาหารหรือเครื่องดื่มที่ตนเองชื่นชอบ

  1. ให้เวลากับคู่ชีวิต

วิธีนี้ต้องให้ความร่วมมือทั้ง 2 ฝ่าย เนื่องจากภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอดไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะกับคุณแม่เท่านั้น แต่อาจเกิดขึ้นกับคุณพ่อได้เช่นกัน สาเหตุที่คุณพ่อมีอาการซึมเศร้าได้ เนื่องจากต้องการช่วยคุณแม่ แต่ไม่สามารถจัดการได้ว่าควรทำตัวเช่นไร จึงทำให้เกิดอาการเครียด และนำไปสู่ภาวะอารมณ์เศร้าได้ วิธีที่ดีทีสุด คือการหาเวลาว่างช่วงเวลาลูกน้อยหลับ หากิจกรรมที่ชื่นชอบทำร่วมกัน เช่น พูดคุย รับประทานอาหาร ออกไปเดินเล่น ดูหนัง ฟังเพลง เพื่อสร้างความเพลิดเพลินและสร้างบรรยากาศของชีวิตคู่ และได้คิดถึงเรื่องอื่น ๆ บ้างแทนการหมกมุ่นอยู่แต่กับลูกเพียงอย่างเดียว

 ภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอดไม่ใช่เรื่องผิดปกติ หากได้รับการพักผ่อนที่เพียงพอ พูดคุยหันหน้าเข้าหากันถึงความรู้สึกต่าง ๆ ถามสารทุกข์สุขดิบ ปรึกษาและรับฟัง นอกจากนั้น ภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอดมักเกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ  แต่หากถ้าเกิน 2-3 สัปดาห์ไปแล้ว อาการเหล่านี้ยังมีอยู่ ควรไปพบคุณหมอเพื่อขอคำแนะนำ

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Postpartum depression. https://www.womenshealth.gov/mental-health/mental-health-conditions/postpartum-depression. Accessed Aug 17, 2022.

Postpartum depression. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/postpartum-depression/symptoms-causes/syc-20376617. Accessed Aug 17, 2022.

Postpartum depression and the baby blues. https://www.helpguide.org/articles/depression/postpartum-depression-and-the-baby-blues.htm. Accessed Aug 17, 2022.

Postpartum depression: symptoms ,causes ,risks ,types. https://www.webmd.com/depression/guide/postpartum-depression. Accessed Aug 17, 2022.

Baby blues after pregnancy. https://www.marchofdimes.org/pregnancy/baby-blues-after-pregnancy.aspx. Accessed Aug 17, 2022.

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

10/11/2022

เขียนโดย นนทกร บัณฑิตสินทรัพย์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย เนตรนภา ปะวะคัง

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

การคลอดลูก มีกี่วิธี และควรดูแลตัวเองหลังคลอดอย่างไร

ท้องลายหลังคลอด เกิดจากอะไร และควรดูแลอย่างไร


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

เนตรนภา ปะวะคัง


เขียนโดย นนทกร บัณฑิตสินทรัพย์ · แก้ไขล่าสุด 10/11/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา