backup og meta

มีลูก ไม่ยาก หากรู้เคล็ดลับเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 25/10/2022

    มีลูก ไม่ยาก หากรู้เคล็ดลับเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์

    มีลูก ควรต้องวางแผนโดยเฉพาะอย่างยิ่งคู่รักที่ตั้งใจจะเป็นคุณพ่อคุณแม่ ควรปรึกษาคุณหมอ เพื่อเตรียมร่างกายให้แข็งแรงและมีความพร้อมมากที่สุดก่อนการตั้งครรภ์ โดยเฉพาะในรายที่มีบุตรยาก หรือมีปัญหาสุขภาพควรศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับเคล็ดลับหรือเทคนิควิธีต่างๆ เพื่อเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์

    เทคนิคเพื่อเพิ่มโอกาส มีลูก

    ปรึกษาคุณหมอ

    ผู้ที่กำลังวางแผนมีบุตร ควรไปตรวจสุขภาพและปรึกษาคุณหมอ เนื่องจากในกรณีที่มีโรคประจำตัวบางอย่าง หรือเป็นโรคที่ต้องได้รับการรักษา ควรอยู่ในการดูแลของคุณหมอก่อนเตรียมตัวตั้งครรภ์ นอกจากนี้ ผู้หญิงที่วางแผนมีลูก ควรเตรียมสุขภาพร่างกายให้พร้อม โดยเริ่มต้นด้วยการรับประทานกรดโฟลิก (Folic acid) อย่างน้อย 1 เดือนก่อนการตั้งครรภ์ เพราะกรดโฟลิกอาจช่วยลดความเสี่ยงของภาวะพิการแต่กำเนิดของทารก

    คำนวณช่วงเวลาตกไข่

    ช่วงตกไข่ถือเป็นเวลาที่ดีที่สุดที่ควรมีเพศสัมพันธ์เพื่อการตั้งครรภ์ นอกจากนี้ในกรณีที่ไม่ได้มีเพศสัมพันธ์บ่อย ๆ ช่วงเวลาในการตกไข่จะช่วยกำหนดช่วงเวลาที่ควรมีเพศสัมพันธ์เพื่อเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์

    ผู้หญิงที่มีรอบประจำเดือน 28 วัน มีแนวโน้มว่าไข่จะตกในวันที่ 14 โดยนับจากวันที่ 1 คือวันแรกของการมีประจำเดือน แต่อย่างไรก็ตาม ผู้หญิงหลายคนมีรอบประจำเดือนนานกว่า หรือสั้นกว่าแตกต่างกันแต่ละคน จึงอาจใช้ตัวช่วยอย่างแอพพลิเคชั่นเพื่อคาดการณ์วันเวลาของการตกไข่

    ในกรณีที่กินยาคุมกำเนิด หลายคนคิดว่าต้องรอเวลาสักพักก่อนเตรียมตั้งครรภ์ ความจริงแล้วหากต้องการมีบุตรก็อาจเริ่มพยายามมีบุตรได้เลย หลังจากหยุดรับประทานยาคุมกำเนิด

    เลือกเวลาที่ควรมีเพศสัมพันธ์

    อสุจิที่แข็งแรงอาจติดอยู่ในมดลูก และท่อนำไข่เป็นระยะเวลา 2-3 วัน แต่ไข่ของผู้หญิงจะมีอายุประมาณ 12-24 ชั่วโมงหลังจากเกิดการตกไข่ ดังนั้นการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวันตกไข่อาจเพิ่มโอกาสที่จะทำให้อสุจิได้ปฏิสนธิกับไข่ทันทีที่เกิดการตกไข่ และเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ได้มากขึ้น

    นอกจากนี้ผู้หญิงที่มีรอบประจำเดือน 28 วัน ที่จะมีวันตกไข่ในวันที่ 14 โดยนับจากวันแรกของการมีประจำเดือน อาจเริ่มมีเพศสัมพันธ์ 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ หลังจากที่ประจำเดือนสิ้นสุดลง และเนื่องจากผู้หญิงบางคน มีความยาวของรอบการตกไข่แตกต่างกันในแต่ละเดือน การมีเพศสัมพันธ์บ่อยขึ้นก็อาจช่วยเพิ่มโอกาสมีลูกมากขึ้นวันที่เกิดการตกไข่

    ช่วงเวลาก่อนที่จะถึงช่วงวันตกไข่ ผู้ชายควรสำเร็จความใคร่อย่างน้อย 1 ครั้ง เนื่องจากอาจมีอสุจิที่ตายแล้วอยู่ในน้ำอสุจิ นอกจากนี้ ควรระวังการใช้เจลหล่อลื่น รวมถึงเจลหล่อลื่นจากธรรมชาติ เช่น น้ำมันมะกอก เพราะผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เหล่านี้อาจทำให้อสุจิเคลื่อนตัวช้าลง หากจำเป็นต้องใช้เจลหล่อลื่น ควรปรึกษาคุณหมอก่อน

    ท่าทางเวลามีเพศสัมพันธ์

    ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ยืนยันว่า ท่าทางในการมีเพศสัมพันธ์อย่างท่ามิชชันนารี (Missionary) จะ เพิ่มโอกาสการมีลูกได้มากกว่าท่าวูแมนออนท็อป (woman on top) เนื่องจากมีโอกาสน้อยมากที่ปากมดลูกจะอยู่ในตำแหน่งที่แตกต่างจากเดิมแม้ว่าจะเปลี่ยนท่าทางเวลามีเพศสัมพันธ์ อย่างไรก็ตาม ท่าบางท่าที่ต้านแรงโน้มถ่วง อย่างการนั่งหรือยืนระหว่างมีเพศสัมพันธ์อาจส่งผลต่อการเดินทางของอสุจิ

    นอกจากนี้คำแนะนำที่ว่าควรนอนอยู่บนเตียงเป็นเวลาประมาณ 10-15 นาทีหลังจากมีเพศสัมพันธ์ถือเป็นคำแนะนำที่ดี แต่สำหรับการยกขาสูงอาจไม่จำเป็น เนื่องจากกระดูกเชิงกรานไม่ได้เคลื่อนไหวเมื่อยกขาขึ้นสูง และอสุจิยังสามารถเคลื่อนที่ไปยังปากมดลูกได้ถ้ารอประมาณ 10-15 นาที

    การออกกำลังกาย เพิ่มโอกาสมีลูก

    วิธีที่ดีที่สุดในการ เพิ่มโอกาสมีลูก คือการมีสุขภาพที่ดี โดยคู่รักอาจเริ่มต้นด้วยการออกกำลังกายเป็นประจำ เช่น การเดิน วิ่ง ปั่นจักรยาน อย่างน้อยวันละ 30 นาที เป็นเวลา 5 วันต่อสัปดาห์

    อย่างไรก็ตาม การออกกำลังกายมากเกินไปอาจส่งผลกระทบต่อการตกไข่ได้ โดยวิธีตรวจสอบว่าออกกำลังกายมากเกินไปหรือไม่ ให้ดูที่ประจำเดือน หากประจำเดือนยังคงเป็นปกติ ถือว่าการออกกำลังกายยังอยู่ในระดับปกติ

    ดูแลอสุจิให้แข็งแรง เพิ่มโอกาสตั้งครรภ์

    การที่ผู้ชายมีอสุจิแข็งแรง สามารถเพิ่มโอกาสการมีลูกได้ วิธีที่ช่วยให้อสุจิแข็งแรง ได้แก่

  • จำกัดปริมาณแอลกอฮอล์
  • เลิกบุหรี่
  • ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • ได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะซิงก์ โฟลิก และวิตามินซี ซึ่งสารอาหารเหล่านี้จะช่วยผลิตอสุจิที่แข็งแรง
  • หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    พลอย วงษ์วิไล


    เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 25/10/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา