backup og meta

พิลาทิส แนวการออกกำลังกายสุดฮิต ที่อาจทำให้หุ่นคุณฟิตแอนด์เฟิร์ม

พิลาทิส แนวการออกกำลังกายสุดฮิต ที่อาจทำให้หุ่นคุณฟิตแอนด์เฟิร์ม

สำหรับบุคลใดที่ไม่ชอบในการออกกำลังกายแบบใช้แรง หรือไม่ต้องการสูญเสียพลังงานของร่างกายมากนัก การบริหารร่างกายแบบ พิลาทิส อาจเป็นหนึ่งในทางเลือกที่ดี ที่อาจถูกใจใครหลาย ๆ คน วันนี้ Hello คุณหมอ ขอพาคุณผู้อ่านมารู้จักกับการออกกำลังกายชนิดนี้ให้มากขึ้น เพื่อนำไปช่วยประกอบการตัดสินใจเบื้องต้น ก่อนเริ่มเข้าร่วมฝึกกับเทรนเนอร์กันค่ะ

การบริการร่างกายแบบพิลาทิส คืออะไร

พิลาทิส (Pilates) คือ รูปแบบ การออกกำลังกาย อย่างหนึ่งที่มักจะเน้นในเรื่องของการเพิ่มความยืดหยุ่นให้แก่อวัยวะของร่างกายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านการเคลื่อนไหวให้คล่องแคล่ว และเป็นการเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อไปในตัวอีกด้วย

พิลาทิสถือกำเนิดในปี ค.ศ. 1920 จากผู้ฝึกสอนทางกายภาพชาวเยอรมัน ที่มีชื่อว่า โจเซฟ พิลาทิส (Joseph Pilates) โดยจุดประสงค์แรกของเขานั้นเป็นการช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพให้แก่นักกีฬาเป็นหลัก จนกระทั่งถูกนำมาเผยแพร่ในมากขึ้นภายหลัง และมีการนำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาท่าทางให้เข้ากับสำหรับบุคคลทั่วไปกันอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน

ประเภทของพิลาทิส

การริเริ่มเล่นพิลาทิส ส่วนใหญ่แล้วมักนิยมเล่นอยู่ 2 ประเภทหลัก ๆ

  1. Mat-based Pilates คือ การใช้ร่างกายของคุณเองในการบริหารร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นการคำนวณน้ำหนักการทิ้งตัวในท่าทางต่าง ๆ การฝึกบาลานซ์ของร่างกาย การจัดระเบียบร่างกายเพื่อรักษาความสมดุล
  2. Equipment-based Pilates หรือการบริหารแบบมีอุปกรณ์ บางท่าทางนั้น จำเป็นต้องมีอุปกรณ์ อย่างลูกบอลยาง ตุ้มเหล็กถ่วงน้ำหนัก หรือดัมเบลขนาดเล็ก เข้ามาช่วยเล็กน้อย เพื่อเป็นการสร้างแรง และฝึกกล้ามเนื้อของคุณให้มีการเคลื่อนไหวที่ดีขึ้น

การออกกำลังกายแบบพิลาทิส มีผลดีต่อสุขภาพร่างกายอย่างไรบ้าง

หากใครที่ชื่นชอบการบริหารร่างกายในรูปแบบที่ไม่ค่อยหนักเกินกว่ากำลัง อย่างการเล่นเวท การวิ่ง การออกกำลังกายแบบพิลาทิส อาจเป็นตัวเลือกหนึ่งที่ถือว่าค่อนข้างตอบโจทย์เลยทีเดียว เพราะการออกกำลังกายประเภทนี้เป็นการออกกำลังกายที่ใช้พลังงานต่ำ แต่สามารถสร้างคุณประโยชน์สูงให้แก่ร่างกาย และกล้ามเนื้อของคุณได้ ดังนี้

  • ปรับปรุงสมดุลของกล้ามเนื้อภายนอกร่างกายและภายในร่างกาย
  • สร้างความยืดหยุ่นให้แก่กล้ามเนื้อและอวัยวะ
  • กระดูกสันหลังมีเสถียรภาพมากขึ้น
  • ช่วยในการฟื้นฟูอาการเจ็บ ปวด เมื่อย ของกล้ามเนื้อ และกระดูก
  • ระบบทางเดินหายใจมีการไหลเวียนได้ดียิ่งขึ้น
  • ส่งเสริมสุขภาพจิตให้รู้สึกสงบ คลายเครียด จนนำไปสู่ความผ่อนคลาย
  • เผาผลาญแคลอรี่ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก
  • ส่งเสริมบุคลิกภาพ หรือท่าทางในอิริยาบถต่าง ๆ ให้ดีขึ้น

ผลลัพธ์ของ การออกกำลังกายแบบพิลาทิส ในเชิงบวกจะเกิดช้า หรือเร็วนั้น อาจขึ้นอยู่กับสภาวะทางด้านสุขภาพ และการดูแลตนเองในชีวิตประจำวันร่วมด้วย เช่น การเลือกรับประทานอาหารที่ถูกสุขอนามัยตามหลักโภชนาการ การพักผ่อนให้เพียงพอ เป็นต้น

การออกกำลังกายแบบพิลาทิส ไม่เหมาะสมกับใคร

ถึงจะเป็นการออกกำลังกายที่ค่อนข้างให้ความปลอดภัยแก่คนส่วนใหญ่ แต่ก็ยังคงมีข้อจำกัดเล็กน้อยสำหรับผู้ที่มีสภาวะทางสุขภาพ ดังต่อไปนี้

  • ผู้ป่วยที่มีบาดแผล หรือกำลังรักษาตัวหลังจากการผ่าตัด
  • สตรีตั้งครรภ์
  • บุคคลที่มาอายุตั้งแต่ 40 ขึ้นไป (ขึ้นอยู่กับสุขภาพ และความพร้อมของร่างกายร่วม)
  • บุคคลที่มีประวัติเกี่ยวกับโรคหัวใจ อาการบาดเจ็บของกระดูก และกล้ามเนื้อ
  • ผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก โรคอ้วน

การออกกำลังกายแบบพิลาทิส ที่ดีคุณควรเริ่มฝึกตามขั้นตอนที่ผู้เชี่ยวชาญ หรือเทรนเนอร์แนะนำเท่านั้น เพราะในแต่ละท่าทางอาจไม่เหมาะสมกับสภาวะทางสุขภาพบางประการ และอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายตามมาในภายหลังได้

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

10 Best Benefits of Pilates Exercise https://www.verywellfit.com/the-many-benefits-of-pilates-exercise-2704865 Accessed July 03, 2020

Pilates for beginners: Explore the core https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/fitness/in-depth/pilates-for-beginners/art-20047673 Accessed July 03, 2020

Pilates and yoga – health benefits https://www.betterhealth.vic.gov.au/health/conditionsandtreatments/pilates-and-yoga-health-benefits Accessed July 03, 2020

‘I tried Pilates for 8 weeks and this is what happened https://www.netdoctor.co.uk/healthy-living/fitness/a28692/pilates-benefits/ Accessed July 03, 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

23/07/2020

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

เปลี่ยนเอวห่วงยาง ให้เป็น เอวเอส ด้วย 4 ท่าออกกำลังกายที่คุณควรลอง!

แอปฝึกโยคะ สำหรับมือใหม่หัดลองเล่นโยคะที่บ้าน รับรองไม่แพ้ซื้อคลาส


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 23/07/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา